WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนมีนาคม 2567

Gov 29

รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนมีนาคม 2567

          คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนมีนาคม 2567 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ 

          สาระสำคัญและข้อเท็จจริง 

          ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนมีนาคม 2567 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัวร้อยละ 5.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ปัจจัยหลักมาจากปัญหาหนี้ครัวเรือนและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ในระดับสูง ส่งผลให้การบริโภคภายในประเทศโดยเฉพาะสินค้ากึ่งคงทนและสินค้าคงทนปรับตัวลดลง เช่น รถยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ประกอบกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลัก เช่น อาเซียน (5) CLMV ส่งผลให้การส่งออกชะลอตัวในกลุ่มรถยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น 

          อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนมีนาคม 2567 หดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คือ 

          1. ยานยนต์ หดตัวร้อยละ 22.63 จากบรรทุกปิคอัพ รถยนต์นั่งขนาดเล็ก รถยนต์นั่งขนาดใหญ่ และเครื่องยนต์ดีเซลเป็นหลัก ตามการหดตัวของตลาดในประเทศ (-33.15%) เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคอ่อนแอ หนี้สินครัวเรือนอยู่ในระดับสูง ปัญหาการผ่อนชำระหนี้ สถาบันการเงินเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ 

          2. น้ำตาล หดตัวร้อยละ 25.26 จากน้ำตาลทรายดิบ กากน้ำตาล และน้ำตาลทรายขาว เป็นหลัก เนื่องจากผลผลิตอ้อยสดมีน้อยกว่าปีก่อนจากปัญหาภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วงทำให้พื้นที่เพาะปลูกได้รับผลกระทบบางพื้นที่ 

          3. ชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ หดตัวร้อยละ 15.33 จาก Integrated circuits (IC) เป็นหลัก ตามการชะลอตัวเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลต่อการบริโภคและลงทุน 

          อุตสาหกรรมสำคัญที่ยังขยายตัวในเดือนมีนาคม 2567 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน 

          1. ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ขยายตัวร้อยละ 5.32 จากน้ำมันเครื่องบิน ก๊าซหุงต้ม และแก๊สโซฮอล์ 91 เป็นหลัก ตามความต้องการใช้ในการเดินทางที่ขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว 

          2. แป้งมันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 47.65 จากแป้งมันสำปะหลัง เป็นหลักตามปริมาณหัวมันสดเข้าสู่โรงงานมากกว่าปีก่อนหลังปัญหาโรคใบด่างเริ่มลดลง หัวมันสดได้ราคาดี เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูก 

          3. อาหารสัตว์สำเร็จรูป ขยายตัวร้อยละ 8.45 จากอาหารสัตว์เลี้ยง และอาหารสุกรสำเร็จรูป เป็นหลัก โดยอาหารสัตว์เลี้ยงขยายตัวจากตลาดส่งออก (+33.62%) ตามความนิยมในการเลี้ยงสุนัขและแมว สำหรับอาหารสุกรเพิ่มขึ้นตามปริมาณการเลี้ยงหมูของเกษตรกรที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น 

 

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 11 มิถุนายน 2567

 

 

6347

Click Donate Support Web 

SME720x100 2024

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!