WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การขอใช้งบประมาณคงเหลือจากการจ่ายค่ารื้อย้าย/ค่าชดเชย สำหรับงานก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคในพื้นที่รองรับการอพยพราษฎร 5 หมู่บ้าน (เพิ่มเติม)

Gov 06

การขอใช้งบประมาณคงเหลือจากการจ่ายค่ารื้อย้าย/ค่าชดเชย สำหรับงานก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคในพื้นที่รองรับการอพยพราษฎร 5 หมู่บ้าน (เพิ่มเติม)

           คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอดังนี้

           1. เห็นชอบการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคในพื้นที่รองรับการอพยพราษฎร 5 หมู่บ้าน (เพิ่มเติม) จำนวน 7 รายการ โดยใช้งบประมาณจำนวน 82.58 ล้านบาท จากวงเงินงบประมาณที่ได้รับอนุมัติในหลักการไว้แล้ว ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2556 (เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาราษฎร 5 หมู่บ้าน ในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ร้องเรียนขออพยพ) จำนวน 2,970.50 ล้านบาท ประกอบด้วย (1) ค่ารื้อย้าย/ค่าชดเชย อพยพราษฎร 5 หมู่บ้าน จำนวน 2,138.00 ล้านบาท และ (2) ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคในพื้นที่รองรับการอพยพราษฎร จำนวน 832.50 ล้านบาท โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) คาดว่าจะมีค่ารื้อย้าย/ค่าชดเชย เกิดขึ้นจริง จำนวน 1,719.04 ล้านบาท (ซึ่งครอบคลุมเพียงพอกับการจ่ายค่ารื้อย้าย/ค่าชดเชยที่จะเกิดขึ้นในอนาคตแล้ว) และมีงบประมาณคงเหลือ จำนวน 418.96 ล้านบาท

           2. กรณีในอนาคตหากงบประมาณการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคในพื้นที่รองรับการอพยพราษฎร 5 หมู่บ้าน ไม่เพียงพอ เห็นควรให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานสามารถพิจารณาอนุมัติการใช้งบประมาณคงเหลือจากงบประมาณค่ารื้อย้าย/ค่าชดเชย ดังกล่าว เพื่อใช้สำหรับงานก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคในพื้นที่รองรับการอพยพราษฎร 5 หมู่บ้าน (เพิ่มเติม) เป็นรายกรณีตามความจำเป็น โดยไม่กระทบต่องบประมาณที่ได้รับอนุมัติในหลักการไว้แล้ว ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2556 

           สาระสำคัญของเรื่อง 

           พน. รายงานว่า

           1. พน. ได้รายงานผลการดำเนินงานในพื้นที่รองรับการอพยพราษฎรตามมติคณะรัฐมนตรี (15 ตุลาคม 2556 และ 30 เมษายน 2562) 

 

ลำดับ

รายการ

 

ผลการดำเนินงาน

1

งานสำรวจตรวจสอบที่ดินและทรัพย์สิน

 

ดำเนินการแล้วเสร็จ

 

แปลงที่ 1 (บ้านเมาะหลวง) พื้นที่รองรับการอพยพราษฎรบ้านห้วยคิง

- กฟผ. อยู่ระหว่างรอเข้าพื้นที่เพื่อดำเนินการ ภายหลังจากจ่ายค่าชดเชย เยียวยาให้แก่ราษฎรจำนวน 63 ราย แล้ว

 

 

 

 

 

แปลงที่ 2 และแปลงที่ 3 (บ้านท่าสี) พื้นที่รองรับการอพยพราษฎร 4 หมู่บ้าน ของตำบลบ้านดง ปัจจุบันได้ดำเนินการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคแล้วเสร็จ ร้อยละ 96 ได้แก่

        (1) งานที่ดำเนินการแล้วเสร็จ: งานชดเชยต้นสัก งานก่อสร้างอ่างเก็บน้ำและระบบส่งน้ำ งานปรับพื้นที่ งานก่อสร้างถนนและสะพาน ระบบไฟฟ้า ระบบประปา ระบบโทรศัพท์พื้นฐาน งานก่อสร้างโรงเรียน ตลาด อาคารอเนกประสงค์ วัดบ้านดง วัดหัวฝาย และฌาปนสถาน (2 แห่ง

        (2) งานที่ยังไม่แล้วเสร็จ: งานปรับปรุงภูมิทัศน์และงานปรับพื้นที่แปลงที่อยู่อาศัย

2

งานอนุมัติบัญชีประเมินราคาที่ดินและทรัพย์สิน

 

อยู่ระหว่างดำเนินการ

 

ดำเนินการจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินและทรัพย์สินงานอพยพราษฎร 5 หมู่บ้าน แล้ว จำนวน 849 ราย 1,817 แปลง หรือคิดเป็นร้อยละ 98.84 รวมเป็นเงิน 929.18 ล้านบาท

(ข้อมูล ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2566)

3

การจัดราษฎรเข้าอยู่อาศัยในพื้นที่จัดสรร

 

อยู่ระหว่างดำเนินการ

 

- ดำเนินการส่งมอบสมุดประจำตัวผู้ได้รับการช่วยเหลือให้รับที่จัดสรรการอพยพราษฎรให้แก่ราษฎรใน 4 หมู่บ้าน ของตำบลบ้านดงแล้ว จำนวน 816 ราย/แปลง

- ราษฎรกลุ่มดังกล่าวได้เข้าไปก่อสร้างที่อยู่อาศัยในแปลงจัดสรรแล้วจำนวน 654 แปลง จากจำนวนแปลงทั้งสิ้น 816 แปลง หรือคิดเป็นร้อยละ 80.14

(ข้อมูล ณ วันที่ 5 ตุลาคม 2566)

 

           2. ภายหลังจากการดำเนินการข้างต้น (ตามข้อ 1.) พบว่ายังคงมีความจำเป็นที่จะต้องก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค (เพิ่มเติม) จำนวน 7 รายการ และจะต้องใช้งบประมาณรองรับการดำเนินการทั้งสิ้น 82.58 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้

 

ลำดับ

รายการ

งบประมาณ

(ล้านบาท)

เหตุผลความจำเป็น

1

งานก่อสร้างโรงเรียนวัดหัวฝาย (เพิ่มเติม) เนื่องจากรูปแบบไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กำหนด

27.87

ปัจจุบันการก่อสร้างอาคารเรียนของโรงเรียนวัดหัวฝายได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว โดยใช้งบประมาณในการดำเนินการทั้งสิ้น 31.1 ล้านบาท แต่โดยที่รูปแบบการก่อสร้างโรงเรียนไม่เป็นไปตามมาตรฐานตามที่ สพฐ. กำหนดโดยเฉพาะด้านสาธารณูปโภค เช่น ระบบไฟฟ้าภายใน ระบบประปาภายใน ระบบอินเทอร์เน็ต รางระบายน้ำ อาคารเรียน บ้านพักครู สนามฟุตบอล สนามเด็กเล่น ถังน้ำ รั้วมาตรฐาน ถนนภายใน และโรงจอดรถ จึงจำเป็นต้องของบประมาณก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคดังกล่าวเพิ่มเติม

2

การขยายเขตระบบไฟฟ้าเป็น 2 ข้างทาง [การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)]

7.00

กฟภ. ออกแบบก่อสร้างระบบจำหน่ายตามแนวถนนฝั่งเดียวตามแบบการก่อสร้างถนนกว้างไม่เกิน 12 เมตร แต่การก่อสร้างจริงถนนกว้างเกิน 12 เมตร ซึ่งตามระเบียบของ กฟภ. ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับมิเตอร์ พ.. 2562 กำหนดว่า หากความกว้างของเขตทางมากกว่า 12 เมตร ต้องก่อสร้างระบบจำหน่ายไฟฟ้าทั้งสองฝั่งถนน เนื่องจาก

การติดตั้งมิเตอร์จะสามารถติดตั้งได้โดยไม่มีการพาดสายข้ามถนนสาธารณะ จึงจำเป็นต้องของบประมาณเพิ่มเติม

3

งานก่อสร้างฌาปนสถานหมูที่ 7

10.00

ตามแผนงานงบประมาณการอพยพราษฎร 5 หมู่บ้าน ระบุงบประมาณก่อสร้างสาธารณประโยชน์สำหรับ 4 หมู่บ้าน

ไว้จำนวน 20 ล้านบาท โดยระบุงานก่อสร้างฌาปนสถานไว้เพียง 2 แห่ง (แห่งที่ 1 บ้านดงใช้ประโยชน์ และแห่งที่ 2

บ้านหัวฝายและบ้านหัวฝายหล่ายทุ่งใช้ประโยชน์ร่วมกัน) แต่ยังขาดฌาปนสถานบ้านสวนป่าแม่เมาะอีก 1 แห่ง จึงจำเป็นต้องของบประมาณก่อสร้างเพิ่มเติม ทั้งนี้ ในส่วนของบ้านห้วยคิงมีฌาปนสถานรองรับอยู่แล้ว

4

งานปรับปรุงลานคอนกรีตโรงจอดรถ และสาธารณูปโภค ห้องน้ำ ปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณตลาดกลาง และอื่นๆ

8.91

ตามแผนงานงบประมาณการอพยพราษฎร 5 หมู่บ้าน ระบุงบประมาณไว้เฉพาะก่อสร้างอาคารตลาดเท่านั้นไม่รวมถนนคอนกรีตลานจอดรถและสาธารณูปโภคอื่นๆ จึงจำเป็นต้องของบประมาณเพิ่มเติม

5

งานก่อสร้างโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) แห่งใหม่ (ทดแทนของเดิม) งานปรับปรุงภูมิทัศน์ งานจัดสร้างบ่อน้ำพุและระบบไฟฟ้า

15.81

รพ.สต. เดิมตั้งอยู่บริเวณบ้านท่าสี ซึ่งสภาพพื้นที่มีความลาดเอียงและคับแคบ ไม่สะดวกแก่ผู้ใช้บริการ (ปัจจุบันใช้เป็นที่เก็บของ) จึงจำเป็นต้องย้ายมาอยู่ในพื้นที่แห่งใหม่ และต้องขอรับจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติม

6

โรงจอดรถดับเพลิง 4 คัน พร้อมอาคารสำนักงาน (ทดแทนของเดิม)

2.50

โรงจอดรถเดิม (เป็นที่จอดรถกระเช้าและจอดรถขยะ) ตั้งอยู่บริเวณองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดง ดังนั้น เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ราษฎรจึงมีความจำเป็นต้องย้ายมาอยู่ในพื้นที่ใกล้ชุมชนใหญ่ ซึ่งอยู่ใกล้แหล่งน้ำและต้องขอรับจัดสรรงบประมาณก่อสร้างเพิ่มเติม

7

งานจัดหาปริมาณน้ำใช้เพิ่มเติม สำหรับพื้นที่รองรับการอพยพบ้านห้วยคิง (สามารถดำเนินการได้หลังแก้ไขปัญหาราษฎร 63 ราย แล้วเสร็จ)

10.50

ปริมาณน้ำใช้เพื่อการอุปโภคและบริโภคในบางปีมีจำนวนไม่เพียงพอ และหากมีการอพยพราษฎรบ้านห้วยคิงเข้ามาอยู่อาศัยเพิ่มเติมก็จะต้องหาน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคให้แก่ราษฎรเพิ่มมากขึ้นและต้องของบประมาณก่อสร้างเพิ่มเติม

 

รวมงบประมาณทั้งสิ้น

82.58

 

 

           ทั้งนี้ คณะกรรมการอำนวยการอพยพราษฎร 5 หมู่บ้าน [หัวหน้าผู้ตรวจราชการ พน. (นายเพทาย หมุดธรรม) เป็นประธาน] ในคราวประชุม ครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ได้มีมติเห็นชอบรายละเอียดการก่อสร้างพร้อมประมาณการราคาตามตารางข้างต้นแล้ว 

           3. โดยที่ กฟผ. จะต้องมีการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคเพิ่มเติม (ตามข้อ 2.) ดังนั้น กฟผ. จึงได้มีการจัดทำประมาณการค่าใช้จ่ายที่ กฟผ. จะต้องใช้ในการแก้ไขปัญหาอพยพราษฎรทั้ง 5 หมู่บ้าน เพื่อนำเงินคงเหลือมาใช้สำหรับการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคเพิ่มเติม สรุปได้ดังนี้

หน่วย : ล้านบาท

รายการค่าใช้จ่าย

งบประมาณตามมติคณะรัฐมนตรี

(15 ตุลาคม 2556)

ประมาณการ

ค่าใช้จ่าย

คงเหลือ

(1) ค่ารื้อย้าย/ค่าชดเชย อพยพราษฎร 5 หมู่บ้าน จำนวน 2,138.00 ล้านบาท จำแนกเป็น

        1) ค่าชดเชยที่ดินและทรัพย์สินราษฎร 5 หมู่บ้าน จำนวน 1,323 ราย [เนื่องจากภายหลังที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (15 ตุลาคม 2556) มีราษฎรยกเลิกอพยพ/ไม่ยื่น สร.1 (คำขอให้สำรวจที่ดิน และทรัพย์สิน) /ยื่นซ้ำ จำนวน 135 ราย]

2,138.00

 

 

 

 

1,547.82

-

        2) งบประมาณจ่ายค่าทดแทนราษฎรผู้ที่ผ่านอุทธรณ์ตามประกาศเรื่องการตรวจสอบร่องรอยการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิของกรมป่าไม้ 3 กลุ่ม จำนวน 13 ราย

(กลุ่มที่ 1: เข้าทำประโยชน์ร้อยละ 100 ไม่มีผู้อุทธรณ์

กลุ่มที่ 2: ทำประโยชน์บางส่วน จำนวน 8 ราย

กลุ่มที่ 3: ไม่ทำประโยชน์ร้อยละ 100 จำนวน 5 ราย

[เป็นการเรียกร้องเพิ่มเติมจากที่ได้รับตามข้อ 1) ข้างต้น]

21.22

-

3) งบประมาณสำหรับราษฎรที่ไม่ยื่นแบบฟอร์ม สร. 1 จำนวน 51 ราย

74.20

-

4) ค่าธรรมเนียมการโอนที่ดิน

3.00

-

5) ค่าชดเชยเยียวยาฯ ราษฎร จำนวน 63 ราย

(ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562)

72.80

-

รวม

2,138.00

1,719.04

418.96

(2) ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างที่จัดสรรสำหรับระบบสาธารณูปโภคในพื้นที่รองรับการอพยพราษฎรและพื้นที่ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ จำนวน 832.50 ล้านบาท จำแนกเป็น

        1) ค่าก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค

526.50

526.50

0.00

        2) ค่าชดเชยต้นสัก

306.00

305.70

0.30

รวม

832.50

832.20

0.30

รวมทั้งสิ้น

2,970.50

2,551.24

419.26

 

           จากตารางข้างต้นพบว่า งบประมาณค่าก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคและค่าชดเชยต้นสัก คงเหลือเพียง 0.30 ล้านบาท ซึ่งไม่เพียงพอสำหรับการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค (เพิ่มเติม) จำนวน 7 รายการ (ตามข้อ 2.) ที่ต้องใช้งบประมาณทั้งสิ้น จำนวน 82.58 ล้านบาท ดังนั้น พน. (กฟผ.) จึงมีความจำเป็นที่จะต้องขอใช้งบประมาณคงเหลือจากการจ่ายค่ารื้อย้าย/ค่าชดเชย จำนวน 418.96 ล้านบาท เพื่อนำมาใช้สำหรับงานก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค (เพิ่มเติม) จำนวน 7 รายการ 

           4. พน. แจ้งว่า การก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคในพื้นที่รองรับการอพยพราษฎร 5 หมู่บ้าน (เพิ่มเติม) จำนวน 7 รายการ จะส่งผลให้ราษฎรในพื้นที่เกิดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการอุปโภคและบริโภคและมีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ การดำเนินการดังกล่าวจะส่งผลให้การดำเนินงานของโรงไฟฟ้า กฟผ. แม่เมาะ ซึ่งมีกำลังผลิตไฟฟ้าปริมาณ 19,000 ล้านหน่วยต่อปี (ประมาณร้อยละ 10 ของการผลิตไฟฟ้าทั้งประเทศ) และเป็นโรงไฟฟ้าหลักเพื่อความมั่นคงทางด้านพลังงานของรัฐ ซึ่งใช้ถ่านหินลิกไนต์ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงราคาต่ำในการผลิตไฟฟ้าสามารถดำเนินการผลิตไฟฟ้าได้อย่างเป็นปกติ โดยไม่เกิดปัญหาการชุมนุมประท้วงของกลุ่มราษฎรผู้อพยพ

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 4 มิถุนายน 2567

 

 

6120

Click Donate Support Web 

SME720x100 2024

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!