WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการขับเคลื่อนแผนระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) ของประเทศไทย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ของคณะกรรมาธิการการพลังงาน วุฒิสภา

Gov 39

ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการขับเคลื่อนแผนระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) ของประเทศไทย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ของคณะกรรมาธิการการพลังงาน วุฒิสภา

          คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษาเรื่อง แนวทางการขับเคลื่อนแผนระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) ของประเทศไทยเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ของคณะกรรมาธิการการพลังงาน วุฒิสภา ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป

          เรื่องเดิม 

          1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการขับเคลื่อนแผนระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) ของประเทศไทยเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ของคณะกรรมาธิการการพลังงาน มาเพื่อดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการฯ ได้พิจารณาศึกษาและพบว่ายังมีปัญหาอุปสรรคในหลายด้าน เช่น ด้านเศรษฐศาสตร์ภาครัฐไม่มีนโยบายที่ชัดเจนในการให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในการพัฒนาระบบสมาร์ท กริด ด้านความมั่นคงของระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ และการผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำยังประสบปัญหาความผันผวนตามธรรมชาติ ด้านเทคโนโลยี เทคโนโลยีการสื่อสาร อาทิ แพลตฟอร์มสำหรับซื้อขายไฟฟ้ายังไม่มีความเป็นเอกภาพในการพัฒนา ด้านกฎหมาย การแก้กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาระบบสมาร์ทกริดเพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินการ และด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม การขออนุญาตในการดำเนินการต่างๆ ยังไม่มีการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ ซึ่งจากปัญหาอุปสรรคข้างต้นส่งผลให้การพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) ในประเทศยังไม่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมและไม่สามารถพัฒนาระบบไฟฟ้าให้เกิดความมั่นคงได้เท่าที่ควร ซึ่งได้มีข้อเสนอแนะ รวม 2 ประเด็น ได้แก่ (1) ข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่างๆ จำนวน 5 หน่วยงาน และ (2) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

          2. รองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์) ในขณะนั้นพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ พน. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานพร้อมข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงมหาดไทย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

          ข้อเท็จจริง

          พน. ได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามข้อ 2 แล้ว โดยเห็นชอบกับข้อเสนอแนะของกรรมาธิการฯ และสรุปผลการพิจารณาในเรื่องดังกล่าวได้ ดังนี้

 

ข้อเสนอแนะ

 

ผลการพิจารณา

1. ข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่างๆ จำนวน 5 หน่วยงาน

     1.1 สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เช่น ควรพิจารณาผลักดันหรือดำเนินการในการพัฒนาแพลตฟอร์มกลางการบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และพัฒนาเทคโนโลยีทางด้าน AI (Artificial intelligence technologies) ควรกำหนดรายละเอียดของแผนการขับเคลื่อนด้านสมาร์ทกริดให้บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัดเข้าร่วมในการพัฒนาระบบฯ

 

สนพ. ได้ดำเนินการต่างๆ ตามแผนการขับเคลื่อนดำเนินงานด้านสมาร์ทกริดของประเทศไทย ระยะปานกลาง .. 2565-2574 ซึ่งส่วนใหญ่สอดคล้องกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการการพลังงาน โดยได้มีแนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยีในด้านต่างๆ ทั้งด้านการตอบสนองด้านโหลด (Demaznd Response : DR ) และระบบบริหารจัดการพลังงาน (Energy Management System : EMS) นอกจากนี้จะมีการพิจารณานำระบบดิจิทัลมาช่วยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อบริหารจัดการในกิจการไฟฟ้า

สนพ. ได้ดำเนินการติดตามความคืบหน้าการดำเนินการตามแผนการขับเคลื่อนดำเนินงานด้านสมาร์ทกริดของประเทศไทยของหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายอย่างต่อเนื่อง และ สนพ. จะมีการพัฒนากระบวนการติดตามการดำเนินงานด้านสมาร์ทกริดให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น รวมทั้งจะมีการบูรณาการการดำเนินงานด้านสมาร์ทกริดของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนร่วมกันให้เกิดเป็นเครือข่ายความร่วมมือด้านสมาร์ทกริดเพิ่มมากขึ้น

     1.2 สำนักงานคณะกรรมการกำกับ

กิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) เช่นควรปรับปรุงกฎหมาย กฎ หรือระเบียบที่เกี่ยวข้องรวมทั้งการกำกับดูแล เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนแผนแม่บทการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ท กริดของประเทศไทย พ.. 2558-2579 ให้เกิดความรวดเร็วและเป็นธรรม

 

สำนักงาน กกพ. อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำข้อกำหนดการเปิดใช้ระบบโครงข่ายไฟฟ้าให้แก่บุคคลที่สาม (Third Party Access Code TPA Code) โดยมีการดำเนินการ ดังนี้ ระยะที่ 1 สำนักงาน กกพ. เห็นว่ารายละเอียดเนื้อหาของร่าง TPA Code ของแต่ละการไฟฟ้ายังมีความแตกต่างกัน เนื่องจากการไฟฟ้าแต่ละแห่งมีแนวคิดที่ต่างกันทั้งในเรื่องของค่าใช้จ่ายและอัตราค่าบริการ สำนักงาน กกพ. จะต้องมีการศึกษาร่วมกับ กฟผ. กฟน และ กฟภ. เพื่อจะได้สร้างความเข้าใจร่วมกันและจะได้จัดทำร่าง TPA Code ให้มีความสอดคล้องกันโดยไม่เกิดความขัดแย้งซึ่งกันและกัน ระยะที่ 2 สำนักงาน กกพ. จะนำรูปแบบตลาดซื้อขายไฟฟ้าตามข้อเสนอของ สนพ. มาใช้เป็นกรอบการจัดทำ TPA Code ระยะที่ 2 และจะได้มีการกำหนดอัตราค่าบริการ TPA Code ต่อไป ระยะที่ 3 เป็นระยะของการดำเนินการภายหลังจากดำเนินการนำร่าง TPA Code ตามข้อเสนอของ สนพ. แล้ว โดยสำนักงาน กกพ. จะศึกษารูปแบบของ TPA Framework และ TPA Code เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินการในระยะถัดไป

     1.3 กฟผ. เช่น ควรพยากรณ์การผลิต

ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนให้ครอบคลุม

ถึงผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็ก

(VSPP) ควรพัฒนาพลังงานทดแทนอื่นๆ

 

กฟผ. ได้ดำเนินการพยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนของผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) เสร็จแล้ว และมีการพัฒนาระบบการพยากรณ์ให้มีความแม่นยำเพิ่มมากขึ้น รวมทั้ง กฟผ. มีแนวคิดที่จะขยายการดำเนินการพยากรณ์ไปยังกลุ่ม VSPP ตั้งแต่ปี 2565

กฟผ. อยู่ระหว่างการศึกษาโรงไฟฟ้าเสมือน (Virtual Power Plan :VPP) โดยการนำแบตเตอรี่ในระดับโครงข่ายไฟฟ้า (Grid scale) มาทำหน้าที่เป็นโรงไฟฟ้าประเภทกำลังการผลิตสำรองพร้อมจ่าย (Spinning Reserve) ซึ่งหากสามารถดำเนินการได้ตามแผนจะช่วยลดการปล่อย CO2 ได้ประมาณ 700,000- 800,000 ตันต่อปี

กฟผ. ได้ดำเนินการพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทนอื่นๆ เช่น ได้ศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยี Small Modular Reactor (SMR) (โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็ก) ไว้แล้ว รวมทั้งได้มีการประสานข้อมูลกับ สนพ. เพื่อร่วมกันพิจารณาถึงแนวทางในการดำเนินการต่อไป ได้ดำเนินการร่วมกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ศึกษาการนำไฮโดรเจนมาใช้ในการผลิตไฟฟ้า

     1.4 กฟน. เช่น ควรเปิดกว้างให้สามารถเลือกใช้มิเตอร์อัจฉริยะได้อย่างหลากหลาย

 

กฟน. ในปัจจุบันได้อยู่ระหว่างการดำเนินการจ้างที่ปรึกษา เพื่อจัดทำข้อกำหนดกลาง โดยเป็นการเปิดกว้างให้ผู้ผลิตมิเตอร์สามารถเสนอผลิตภัณฑ์ได้หลายราย ไม่เกิดการผูกขาดและมีการแข่งขันด้านราคา

กฟน. ได้อยู่ระหว่างดำเนินการพัฒนาการเชื่อมต่อข้อมูลจากโครงการ Smart Metro Grid กับ Application เพื่อใช้ในการบริการข้อมูลต่างๆ เช่นให้บริการข้อมูลการใช้ไฟฟ้า 15 นาที ผ่าน Application Smart Life ทั้งปัจจุบันและย้อนหลัง เพื่อให้ผู้ใช้ไฟฟ้าใช้ในการบริหารจัดการค่าไฟฟ้าให้ลดลง แจ้งเตือนไฟฟ้าขัดข้องพร้อมระยะเวลาแก้ไขผ่าน Application Smart Life

กฟน. ได้มีการส่งเสริมพนักงานเพื่อรองรับการปฏิบัติงานเกี่ยวกับสมาร์ทกริด ซึ่งมีการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น ให้ทุนศึกษาระดับปริญญาโท - เอก สำหรับผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน และพัฒนาระบบสมาร์ทกริดในภาพรวมของ กฟน. เชิญบริษัทมาแนะนำเทคโนโลยี รวมถึงส่งพนักงานไปศึกษาดูงาน และเข้าร่วมสัมมนาอย่าต่อเนื่อง

     1.5 กฟภ. เช่น ควรมีการจัดลำดับความสำคัญของพื้นที่ในประเทศและจัดทำเป็นแผนนำร่องการพัฒนาโครงการสมาร์ทกริด โดยคำนึงถึงแหล่งพลังงานในท้องที่นั้นๆ เมื่อมีการนำมิเตอร์อัจฉริยะมาใช้ ผู้จำหน่ายไฟฟ้าควรบริหารจัดการค่าไฟฟ้าให้ลดลง

 

กฟภ. ในปัจจุบันการดำเนินโครงการนำร่องของ กฟภ. ได้มีการจัดลำดับความสำคัญรวมทั้งได้มีการพิจารณาแหล่งพลังงานในพื้นที่นั้นๆ ว่าจะมีแหล่งพลังงานใดบ้างที่ กฟภ. จะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ประเด็นหลักที่ กฟภ. พิจารณาจะเป็นเรื่องของการจ่ายไฟฟ้าและความมั่นคงระบบไฟฟ้า โดยในอนาคต กฟภ. อยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสมของโครงการสมาร์ทกริดและไมโครกริดในพื้นที่ต่างๆ ซึ่ง กฟภ. จะพิจารณาเลือกดำเนินการในพื้นที่ที่มีศักยภาพและเมื่อมีการติดตั้งระบบสมาร์ทมิเตอร์และมีระบบไมโครกริดแล้วจะต้องสามารถนำไปต่อยอดในอุตสาหกรรมพลังงานใหม่ในอนาคตได้

กฟภ. มีความเห็นสอดคล้องกับข้อเสนอของคณะกรรมาธิการการพลังงาน ในประเด็นของการนำข้อมูลสมาร์ทมิเตอร์มาใช้ในการบริหารจัดการค่าไฟฟ้า และเป็นทิศทางที่ กฟภ. อยู่ระหว่างดำเนินการเนื่องจากการดำเนินการของ กฟภ. จะเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเป็นหลัก แต่ประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้ไฟฟ้าจะเป็นการที่ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถบริหารจัดการใช้ไฟฟ้าของตนเองได้ทั้งการลดการไฟฟ้าสูงสุดและลดค่าใช้จ่ายค่าไฟฟ้า ทำให้เกิดการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ที่ลงทุนไปแล้วได้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น

2. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

     2.1 ด้านเศรษฐศาสตร์ เช่น ควรมีการศึกษาเรื่องต้นทุนค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการ

ดำเนินการพัฒนาระบบสมาร์ทกริด ศึกษารูปแบบธุรกิจแนวใหม่ที่อาจเกิดขึ้นจากการพัฒนาระบบสมาร์ทกริด

 

สนพ. ภายใต้แผนการขับเคลื่อนฯ ระยะปานกลาง สนพ. ได้มีการประมาณกรอบงบประมาณที่จะใช้ดำเนินการพัฒนาระบบสมาร์ทกริดไว้แล้วซึ่งเป็นไปตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการการพลังงานแต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาที่แต่ละหน่วยงานจะดำเนินการพัฒนาระบบสมาร์ทกริดจริงๆ ก็สามารถปรับปรุงกรอบงบประมาณให้มีความเหมาะสมในการดำเนินการในแต่ละช่วงเวลาได้

สนพ. อยู่ระหว่างการศึกษารูปแบบการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการไฟฟ้า ซึ่ง จะได้มีการพิจารณารูปแบบของตลาดซื้อขายไฟฟ้าที่เหมาะสมภายใต้โครงสร้างกิจการไฟฟ้าของประเทศไทยที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต่อไป

กกพ. จะดำเนินการศึกษารูปแบบของธุรกิจใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นเพื่อใช้ประกอบการกำหนดกติกา หรือหลักเกณฑ์ต่างๆ ให้สอดคล้องกับรูปแบบธุรกิจใหม่ เช่น TPA, ผู้รวบรวมโหลด (Load Aggregator), ธุรกิจใหม่ๆ จากการเปิดตลาดซื้อขายไฟฟ้าเสรี

กฟผ. ได้ดำเนินการคำนวณค่าใช้จ่ายๆ รวมทั้งได้มีการศึกษาการลดต้นทุนในการดำเนินการด้านสมาร์ทกริดมาโดยตลอดและในการจัดทำแผนการขับเคลื่อนการดำเนินการด้านสมาร์ทกริด กฟผ. ได้สนับสนุนข้อมูลต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายต่างๆ ให้กับ สนพ

กฟผ. และ กฟภ. จะมีการดำเนินโครงการนำร่องระบบสมาร์ทกริดร่วมกันที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นโครงการแรกที่จะทำงานร่วมกันโดยปัจจุบันอยู่ระหว่างหารือร่วมกันในการออกแบบระบบต่างๆ

ทั้งนี้ ในอนาคตอาจจะมีโครงการสมาร์ทกริดอื่นๆ ที่จะเป็นความร่วมมือกันระหว่าง กฟผ. กฟภ. หรือ กฟน. เพื่อจะพัฒนาระบบสมาร์ทกริดให้สามารถช่วยรักษาความมั่นคงระบบไฟฟ้าของประเทศไทย

     2.2 ด้านความมั่นคงของระบบ เช่น ควรมีการประกาศเขตระบบโครงข่ายไฟฟ้า เพื่อช่วยให้ กฟภ. สามารถทำงานได้ง่ายขึ้น ควรมีการศึกษาแหล่งพลังงานทางเลือกที่เหมาะสม อาทิ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม

 

สนพ. ได้พัฒนาสมาร์ทกริดภายใต้แผนการขับเคลื่อนฯ ระยะปานกลางโดยจะมุ่งเน้นในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้ระบบไฟฟ้ามีความชาญฉลาดและมีความยืดหยุ่นให้สามารถรองรับการเข้ามา ของพลังงานหมุนเวียนแบบกระจายศูนย์ ต่างๆ ทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานชีวภาพ พลังงานชีวมวล พลังงานขยะได้เพิ่มมากขึ้น

กฟผ. ได้มีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานและมีการประสานงานระหว่างทั้ง 3 การไฟฟ้าอยู่แล้ว นอกจากนี้ ยังมีคณะกรรมการบูรณาการฯ มาช่วยพิจารณาการลงทุน ซึ่งปัจจุบันยังอยู่ระหว่างดำเนินการพิจารณาการลงทุน

กฟภ. ได้มีแนวทางการประกาศเขตโครงข่ายไฟฟ้าในพื้นที่เขตอุทยานมีความเป็นไปได้ค่อนข้างยาก แต่ กฟภ. ขอรับข้อเสนอของคณะกรรมาธิการการพลังงานไปพิจารณาต่อไป ทั้งนี้ การประกาศเขตโครงข่ายไฟฟ้าของ กฟภ. จะเป็นการประกาศในพื้นที่ที่มีการวางสายเคเบิ้ลใต้น้ำเป็นหลัก เพื่อต้องการการคุ้มครองจากพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.. 2550

     2.3 ด้านเทคโนโลยี เช่น ควรมีนโยบายดึงดูดผู้เชี่ยวชาญ วิศวกร ที่ปรึกษา ด้านสมาร์ทเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัยส่งเสริมการติดตั้งระบบกักเก็บพลังงานสนับสนุนให้มีอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับสมาร์ทกริดในประเทศ

 

สนพ. ภายใต้แผนการขับเคลื่อนฯ ระยะปานกลาง ได้กำหนดเป้าหมายดำเนินการต่างๆ เช่น มีการดำเนินโครงการนำร่องในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ในการซื้อขายพลังงาน เช่น P2P (Peer to Peer) Trading และในระยะยาวได้มีการกำหนดเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการซื้อขายพลังงานไฟฟ้า ได้อย่างอิสระผ่านแพลตฟอร์มที่ควบคุมโดยภาครัฐ ผ่านเทคโนโลยี Blockchain และ P2P เป็นต้น

ทั้ง สนพ. จะได้มีการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินการต่อไป

กฟผ. ในพื้นที่ EEC เป็นพื้นที่ที่มีโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่มีความมั่นคงสูงอยู่ในพื้นที่จำนวนมาก จึงเป็นพื้นที่ที่มีระบบไฟฟ้ามั่นคงและมีการให้บริการไฟฟ้าดีที่สุด ซึ่งการลงทุนระบบกักเก็บพลังงาน (ESS) ในพื้นที่ดังกล่าว อาจจะต้องมีการพิจารณาถึงเหตุผลความจำเป็นอีกครั้ง ทั้งนี้ ตามข้อมูลของ กฟผ. จะมีพื้นที่อื่นๆ ที่มีความต้องการ ESS ในการรองรับความผันผวนจากพลังงานหมุนเวียนมากกว่า EEC เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ

กฟน. ในการพัฒนาระบบ ESS กฟน. จะเป็นการดำเนินการในลักษณะของโครงการนำร่อง เพื่อดำเนินการศึกษาในการนำระบบ ESS มาช่วยในเรื่องของความน่าเชื่อถือได้ของระบบ (Reliability) และความมั่นคงของระบบจากการที่มี Solar เข้ามาในระบบเป็นจำนวนมาก โดยการดำเนินการจะยังคงเป็นลักษณะนำร่องไปก่อน เพื่อเตรียมระบบต่างๆ รองรับไว้ เนื่องจากปัจจุบันระบบ ESS มีความคุ้มค่าเมื่อใดจะสามารถนำมาใช้งานได้มากขึ้น

ดศ. ในการพัฒนาต่อยอดด้าน Big Data และ AI จะมีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงคือ สถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ (สวข.) ซึ่งจะมีหน้าที่หลักในการพัฒนา Big Data และ AI โดย สวข. สามารถช่วยให้คำปรึกษา การฝึกอบรม และการทำ Prototype เกี่ยวกับ Big Data และ AI ที่จะนำมาใช้ในระบบสมาร์ทกริดได้สำหรับในส่วนของการพัฒนาแพลตฟอร์มสามารถประหารือร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) ในขณะที่ NT ก็มีความพร้อมในการพัฒนาด้านแพลตฟอร์มเช่นกัน

อว. ในข้อเสนอด้านเทคโนโลย์ในหลายๆ ด้าน ทั้ง P2P และส่วนอื่นๆ ภาคเอกชนอาจจะมีการดำเนินการไปบางส่วนแล้ว จึงควรเชิญภาคเอกชนมาให้ข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อแผนการพัฒนาด้านสมาร์ทกริดของประเทศในภาพรวมมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะมีการพัฒนาทั้งส่วนของภาครัฐและภาคเอกชนในขณะเดียวกันภาคเอกชนจะได้มาช่วยสนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาด้านสมาร์ทกริดของประเทศด้วย

     2.4 ด้านกฎหมาย เช่น กำหนดแนวทางการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอนุมัติอนุญาตต่างๆ ให้เกิดความรวดเร็วต่อการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

 

กกพ. อยู่ระหว่างการพิจารณาในการจัดทำใบอนุญาต 1 ใบที่สามารถเปิดให้ธุรกิจพลังงานรูปแบบใหม่ๆ เข้ามาดำเนินการภายใต้ใบอนุญาตดังกล่าวได้ ซึ่งจะไม่ทำให้เกิดปัญหาอุปสรรคในเรื่องของใบอนุญาตสำหรับการดำเนินธุรกิจพลังงานรูปแบบใหม่ๆ ในอนาคต

สนพ. ได้กำหนดนโยบายในการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าจาก Solar ในรูปแบบ Net Metering และหาข้อสรุปด้านภาษีร่วมกับกรมสรรพากร เพื่อส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดและการผลิตไฟฟ้าแบบกระจายศูนย์ และกำหนดแนวทางให้การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายรับไปดำเนินการ

     2.5 ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยพื้นที่ภาคใต้เป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าจึงควรผลักดันโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) เข้าไปใช้ในพื้นที่เพื่อสร้างความมั่นคง ลดการสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่และเพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้

 

สนพ. พื้นที่ภาคใต้ไม่ได้ขาดแคลนพลังงานไฟฟ้า ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการพัฒนาระบบไฟฟ้าในพื้นที่ให้มีความมั่นคงอยู่แล้วโดยการดำเนินการในระยะต่อไปอาจจะต้องมุ่งไปที่การพัฒนาระบบต่างๆ ที่มีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น และอาจมีการนำระบบสมาร์ทกริดมาช่วยเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้ามากกว่าการรองรับพลังงานหมุนเวียนเนื่องจากศักยภาพพลังงานหมุนเวียนในพื้นที่ภาคใต้มีน้อย

สนพ. ได้พัฒนาระบบสมาร์ทกริดภายใต้แผนการขับเคลื่อนฯ ระยะปานกลาง โดยจะมีการดำเนินการในทุกภูมิภาคของประเทศไทยและพื้นที่ภาคใต้ก็เป็นหนึ่งในพื้นที่เป้าหมายที่ กฟผ. และ กพภ. จะดำเนินการพัฒนาระบบสมาร์ทกริด

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 28 พฤษภาคม 2567

 

 

51009

Click Donate Support Web 

SME720x100 2024

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!