WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การขอความเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาคณะกรรมาธิการประชากรและการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 57

Gov 27

การขอความเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาคณะกรรมาธิการประชากรและการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 57

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอดังนี้

          1. เห็นชอบต่อร่างปฏิญญาคณะกรรมาธิการประชากรและการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 57 โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ขอให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดำเนินการได้ โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก และหลังจากนั้นให้รายงานผลเพื่อให้คณะรัฐมนตรีทราบต่อไป

          2. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมคณะกรรมาธิการประชากรและการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 57 ให้การรับรองร่างปฏิญญาคณะกรรมาธิการประชากรและการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 57

          ทั้งนี้ สหประชาชาติกำหนดให้มีการรับรองร่างปฏิญญาคณะกรรมาธิการประชากรและการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 57 โดยไม่มีการลงนาม ในช่วงการประชุมคณะกรรมาธิการประชากรและการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 57 (The fifty-seventh session of the Commission on Population and Development - CPD57) ระหว่างวันที่ 29 เมษายน 2567 - 3 พฤษภาคม 2567 ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา

          สาระข้อเท็จจริงของเรื่อง

          การประชุมคณะกรรมาธิการประชากรและการพัฒนา (Commission on Population and Development - CPD) เป็นการประชุมประจำปีในกรอบสหประชาชาติเพื่อติดตาม ทบทวน ประเมินผล และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการของการประชุมระหว่างประเทศเรื่องประชากรและการพัฒนา รวมทั้งแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการรับมือประเด็นท้าทายใหม่ด้านประชากร ซึ่งที่ผ่านมาจะมีการรับรองเอกสารผลลัพธ์ เป็นข้อมติคณะกรรมาธิการฯ ซึ่งไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย จึงไม่มีความจำเป็นต้องขอรับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี อย่างไรก็ตาม เนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปีของการประชุม ICPD ประธานการประชุม CPD57 จึงเสนอให้มีเอกสารผลลัพธ์ในรูปแบบร่างปฏิญญาคณะกรรมาธิการประชากรและการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 57 ซึ่งมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการยืนยันความมุ่งมั่นในการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยประชากรและการพัฒนา และเสริมสร้างความร่วมมือระดับโลก ระดับภูมิภาค ระดับประเทศ ความร่วมมือเหนือ-ใต้ ใต้-ใต้ และความร่วมมือไตรภาคี เพื่อบรรลุการขจัดความยากจน การเพิ่มอายุคาดเฉลี่ย (Life Expectancy) การลดการเสียชีวิตของเด็กและมารดา การปรับปรุงการเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐาน และบริการด้านสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ รวมถึงการวางแผนครอบครัว โดยสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมในลักษณะบูรณาการ และตระหนักถึงความท้าทายที่สำคัญ อาทิ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอายุประชากร ความยากจน ผลกระทบด้านลบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ที่โลกกำลังเผชิญ ซึ่งทำให้ความเปราะบางและความเหลื่อมล้ำรุนแรงขึ้น และมีผลกระทบเชิงลบต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน นอกจากนั้น ยังส่งเสริมการตระหนักถึงบทบาทสำคัญของผู้หญิงและเด็กผู้หญิงทุกคน ในฐานะตัวขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง (agents of change) เพื่อการพัฒนา และมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินการตาม PoA of ICPD และวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน

          ประโยชน์และผลกระทบ

          1. ผลผูกพัน

          ร่างปฏิญญาคณะกรรมาธิการประชากรและการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 57 ไม่มีถ้อยคำหรือบริบทใดที่มุ่งก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้ข้อบังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ กอปรกับไม่มีการลงนามในร่างถ้อยแถลงร่วมดังกล่าว ดังนั้น ร่างถ้อยแถลงร่วมฯ จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญฯ

          2. ประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับ

          การให้ความเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาคณะกรรมาธิการประชากรและการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 57 มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับนโยบายและผลประโยชน์ของประเทศไทยโดยถือเป็นการย้ำความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการดำเนินการตาม PoA of ICPD และเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศทุกระดับในการบูรณาการความเชื่อมโยงระหว่างประชากรกับการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อบรรลุการขจัดความยากจน การเพิ่มอายุคาดเฉลี่ย การลดการเสียชีวิตของเด็กและมารดา การปรับปรุงการเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐาน และบริการด้านสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ รวมถึงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว และความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการรับมือกับวิกฤตด้านประชากร และการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนภายใน ค.ศ. 2030

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 23 เมษายน 2567

 

 

4695

Click Donate Support Web 

SME 720x100 66

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kbank 720x100 66

QIC 720x100

วิริยะ 720x100AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

iconmotor

gen 720x100

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!