WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างปฏิญญาว่าด้วยนโยบายการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่ออนาคตที่ยั่งยืนและทั่วถึง

Gov 29

ร่างปฏิญญาว่าด้วยนโยบายการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่ออนาคตที่ยั่งยืนและทั่วถึง

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ ดังนี้

          1. เห็นชอบร่างปฏิญญาว่าด้วยนโยบายการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนและทั่วถึง (ร่างปฏิญญาฯ) ทั้งนี้หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างปฏิญญาฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทยขอให้ อว. หารือร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เพื่อพิจารณาดำเนินการในเรื่องนั้นๆ โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก

          2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นผู้เข้าร่วมรับรองปฏิญญาดังกล่าว

          สาระสำคัญ

          ร่างปฏิญญาฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

 

หัวข้อ

รายละเอียด

(1) วัตถุประสงค์

เพื่อแสดงเจตจำนงร่วมกันในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศกระตุ้นให้เกิดการวิจัย การพัฒนา และนวัตกรรมที่มีความรับผิดชอบ และความเท่าเทียมกัน เพื่อการตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพต่อความท้าทายของวิกฤตระดับโลก รวมทั้งเพื่อเร่งความก้าวหน้าไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) และเพื่อเพิ่มความเป็นอยู่ที่ดีทั้งในเชิงเศรษฐกิจและสังคมของประชาชน

(2) สาขาความร่วมมือ

ไม่จำกัดสาขาความร่วมมือ

(3) กิจกรรมความร่วมมือ

ครอบคลุม 4 กิจกรรม ดังนี้

1) การออกแบบและการขับเคลื่อนนโยบายการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น

     1.1) พัฒนาและขับเคลื่อนตามวาระการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทั่วถึง คล่องตัว คาดการณ์ได้ และสะท้อนทิศทางที่ต้องการของสังคมเพื่อช่วยให้บรรลุ SDGs รวมถึงสามารถรับมือกับวิกฤติการณ์โลก เช่น การเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ

     1.2) ลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาของภาครัฐ โดยเป็นการวิจัยพื้นฐานและการวิจัยที่ขับเคลื่อนด้วยความตระหนักรู้ การวิจัยเชิงพันธกิจ โครงสร้างพื้นฐาน การวิจัยที่ยั่งยืนและทรัพยากรมนุษย์ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และการรับมือกับความท้าทายระดับโลก

     1.3) กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาทุนมนุษย์และแรงงานที่มีทักษะและคล่องตัว โดยการส่งเสริมการเข้าถึงที่หลากหลาย เสมอภาค และทั่วถึงในการฝึกอบรมทักษะและโปรแกรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม

2) การเสริมสร้างค่านิยมร่วมในความร่วมมือระหว่างประเทศและการกำกับดูแลเทคโนโลยี เช่น

     2.1) ค่านิยมร่วมและหลักจริยธรรมด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยเฉพาะเสรีภาพทางวิชาการ ความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์ การเปิดกว้าง ความโปร่งใส ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์และความปลอดภัยของการวิจัย รวมถึงความหลากหลาย ความเท่าเทียม ความทั่วถึง และการเข้าถึงเพื่อสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม

     2.2) หลักการและแนวปฏิบัติของวิทยาศาสตร์แบบเปิด ซึ่งรวมถึงความสามารถในการค้นหา การเข้าถึง การทำงานร่วมกัน และการนำกลับมาใช้ใหม่ได้ของการจัดการและดูแลข้อมูล เพื่ออำนวยความสะดวกในการผลิตองค์ความรู้อย่างทั่วถึงและสามารถเข้าถึงงานเขียนทางวิทยาศาสตร์และข้อมูลการวิจัยอย่างเท่าเทียมกัน

3) การทำให้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมมีความทั่วถึงมากขึ้น เช่น

     3.1) ส่งเสริมมาตรการเพื่ออำนวยความสะดวกในการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด

     3.2) พัฒนาความหลากหลาย ความเท่าเทียม ความทั่วถึง และการเข้าถึง รวมทั้งการสร้างความครอบคลุมในกลุ่มผู้หญิงและกลุ่มผู้ที่มีบทบาทน้อยอื่นๆ เพื่อให้สังคมส่วนใหญ่มีส่วนร่วมอย่างเต็มที่และประสบความสำเร็จในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

     3.3) ส่งเสริมมาตรการเพื่อเพิ่มความน่าสนใจและความพร้อมของอาชีพที่มีคุณกาพสำหรับวิชาชีพด้านการวิจัยและการสอน เช่น การปรับปรุงสภาพการทำงาน การกระตุ้นการเคลื่อนย้ายผู้ที่มีความสามารถ และการหมุนเวียนของนักวิจัยข้ามภาคส่วนและพรมแดนระหว่างประเทศ

4) การเสริมสร้างหลักฐานเชิงประจักษ์สำหรับยุทธศาสตร์และการกำหนดนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น

     4.1) สนับสนุนและให้คำแนะนำด้านกระบวนการที่จำเป็นในการรวบรวมเชื่อมโยง และใช้ประโยชน์จากข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม อย่างมีความรับผิดชอบและมีจริยธรรม

     4.2) ส่งเสริมกลไกการประเมินผลและระบบการคาดการณ์เชิงกลยุทธ์และการเรียนรู้ เพื่อปรับปรุงประสิทธิผล ประสิทธิภาพ ความโปร่งใส และผลกระทบของระบบวิจัยและนวัตกรรม

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 18 เมษายน 2567

 

 

4542

Click Donate Support Web 

AXA 720 x100

Banner GPF720x100 PX

MTL 720x100

kbank 720x100 66

วิริยะ 720x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

QIC 720x100

gen 720x100

CKPower 720x100

TOA 720x100

SME 720x100 66

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!