WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลการประชุมคณะกรรมการร่วมสำหรับความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 8

Gov 48

ผลการประชุมคณะกรรมการร่วมสำหรับความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 8

          คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการร่วมสำหรับความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง1 (ความตกลง GMS CBTA) ระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 8 (The Eighth Meeting of the CBTA Joint Committee : 8th JC GMS CBTA (การประชุมคณะกรรมการร่วมฯ) ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ 

          สาระสำคัญ

          1. เดิมคณะรัฐมนตรีมีมติ (12 ธันวาคม 2566) เห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมคณะกรรมการร่วมสำหรับความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 8 (ร่างแถลงการณ์ร่วมฯ) โดยมีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการดำเนินการตามความตกลง GMS CBTA (บันทึกความเข้าใจฯ) “ระยะแรก”2 ออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2569 เพื่อส่งเสริมการคมนาคมขนส่งในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

          2. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ) ทำหน้าที่หัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการร่วมฯ เมื่อวันที่ 12-13 ธันวาคม 2566 ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยการประชุมคณะกรรมการร่วมฯ มีผลลัพธ์การประชุมสรุปได้ ดังนี้

 

ประเด็น

 

สาระสำคัญ

2.1 การขยายระยะเวลาการมีผลบังคับใช้ของการดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจฯระยะแรก

 

ให้ขยายระยะเวลาการมีผลบังคับใช้ของการดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจฯระยะแรกออกไปอีก 3 ปี โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 25693 เพื่อให้ประเทศสมาชิกอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงสามารถกลับมาเดินรถระหว่างประเทศภายใด้บันทึกความเข้าใจฯระยะแรกอีกครั้ง (เป็นการสนับสนุนการเคลื่อนย้ายคนและสินค้าภายในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงและอำนวยความสะดวกในการขนส่งข้ามแดนระหว่างประเทศสมาชิกที่มีพรมแดนติดต่อกัน อันจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการพัฒนาการค้าชายแดนและการขยายตัวทางเศรษฐกิจตามแนวระเบียงเศรษฐกิจในอนุภูมิภาค) และให้เร่งรัดการออกใบอนุญาตขนส่งทางถนนและเอกสารนำเข้าชั่วคราวสำหรับยานพาหนะเพื่อการพาณิชย์ รวมถึงรวบรวมและแลกเปลี่ยนหมายเลขทะเบียนรถให้ประเทศสมาชิกทราบอย่างน้อยล่วงหน้า 2 สัปดาห์ ก่อนเริ่มกลับมาเดินรถอีกครั้ง

2.2 การกลับมาดำเนินการขนส่งตามบันทึกความ เข้าใจฯระยะแรกอีกครั้ง

 

ให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินการขนส่งระหว่างประเทศได้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 25674 โดยรวมถึงเส้นทางและจุดผ่านแดนที่เพิ่มเติมไว้5 ในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการเปิดเส้นทางการขนส่งระหว่างประเทศและจุดข้ามแดนเพิ่มเติม ภายใต้พิธีสาร 1 ของความตกลง GMS CBTA (บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการเปิดเส้นทางฯ)

ให้มีการดำเนินการ เช่น (1) ให้มีการออกใบอนุญาตฯ เป็นประจำทุกปี (มีอายุ 12 เดือน) และออกเอกสารนำเข้าชั่วคราว ทุก 2 ปี (2) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการขนส่งและศุลกากรของแต่ละประเทศประชาสัมพันธ์การกลับมาเดินรถอีกครั้งภายใต้บันทึกความเข้าใจฯระยะแรก

2.3 กำหนดการประชุมคณะอนุกรรมการด้านการขนส่ง

(Transport Sub-Committee)

 

ให้มีการประชุมคณะอนุกรรมการด้านการขนส่ง ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2567 เพื่อหารือเกี่ยวกับเส้นทางและจุดผ่านแดนเพิ่มเติมภายใต้พิธีสาร 1 ของความตกลง GMS CBTA

2.4 กำหนดการประชุมคณะอนุกรรมการด้านศุลกากร (Customs Sub-Committee)

 

ให้มีการประชุมคณะอนุกรรมการด้านศุลกากรคู่ขนานกับการประชุมคณะอนุกรรมการด้านการขนส่งภายใต้ความตกลง GMS CBTA ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2567 เพื่อหารือเกี่ยวกับพิธีการศุลกากรผ่านแดนสำหรับการดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจฯระยะแรก

2.5 แผนดำเนินงาน GMS CBTA ปี 2567 - 2571

 

เห็นชอบแผนดังกล่าว ซึ่งระบุแนวทางการดำเนินการในประเด็นต่าง ดังนี้

(1) การดำเนินการและการติดตามผลของบันทึกความเข้าใจฯระยะแรก

(2) การรวบรวม วิเคราะห์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลการอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งและการค้า (สำรวจและสอบถามความต้องการของผู้ประกอบการเพื่อประเมินผลประโยชน์ที่ผู้ประก่อบการได้รับจากความ ตกลง GMS CBTA และเพื่อปรับปรุงความตกลง GMS CBTA)

(3) การจัดทำคู่มือเส้นทางเดินรถ (Corridor Handbook) ตามบันทึกความเข้าใจฯระยะแรก” (เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผู้ประกอบการขนส่งระหว่างประเทศที่ครอบครองใบอนุญาตการขนส่งทางถนน)

(4) การเข้าร่วมการดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจฯระยะแรกในอนาคตของเมียนมา

(5) การหารือเกี่ยวกับความตกลง GMS CBTA ฉบับปรับปรุง (CBTA 2.0) เพื่อให้มีความทันสมัยมากขึ้น

2.6 การติดตามและประเมินผล

 

มอบหมายให้เจ้าหน้าที่อาวุโสของคณะกรรมการอำนวยความสะดวกการขนส่งแห่งชาติ (NTFC) จัดเก็บข้อมูลการค้าและการขนส่งของจุดข้ามแดนระหว่างประเทศที่ระบุไว้ในพิธีสาร 1 ของความตกลง GMS CBTA

 

          3. ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมฯ ได้ให้การรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ซึ่งยังคงไว้ซึ่งสาระสำคัญตามร่างแถลงการณ์ร่วมฯ การประชุมที่ได้รับความเห็นชอบและอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2566 โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติม เช่น

              3.1 เพิ่มถ้อยคำในหัวข้อการกลับมาดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจฯ “ระยะแรก” เกี่ยวกับการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งด้านการขนส่งและศุลกากรของแต่ละประเทศดำเนินการประชาสัมพันธ์การกลับมาเดินรถอีกครั้งภายใต้บันทึกความเข้าใจฯ “ระยะแรก”

              3.2 แก้ไขถ้อยคำในหัวข้อแผนดำเนินงาน GMS CBTA ปี 2567 – 2571 จากเดิม “(6) การเห็นชอบและรับรองความตกลง GMS CBTA ฉบับปรับปรุง (CBTA 2.0)” เป็น “(6) การหารือเกี่ยวกับความตกลง GMS CBTA ฉบับปรับปรุง (CBTA 2.0)”

_______________

1เป็นความตกลงเกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าและบุคคลข้ามพรมแดนระหว่างประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ได้แก่ ประเทศไทย สาธรารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (เมียนมา) ราชอาณาจักรกัมพูชา จีน และสาธารณสังคมนิยมเวียดนาม โดยประเทศภาคีความตกลงฯ จะต้องจัดทำภาคผนวก (Annex) และพิธีสาร (Protocol) เพื่อกำหนดรายละเอียดในการปฏิบัติการขนส่ง รวม 20 ฉบับ เช่น เส้นทางที่ใช้ในการขนส่งผ่านแดน โควตาการบริการขนส่งและการออกใบอนุญาตขนส่งข้ามพรมแดน ค่าธรรมเนียมผ่านแดน เป็นต้น

2บันทึกความเข้าใจฯ “ระยะแรก” เป็นการกำหนดแนวทางในการดำเนินการความตกลง GMS CBTA ในระยะแรก โดยให้มีการจำกัดจำนวนใบอนุญาตขนส่งทางถนนภายใต้ความตกลงฯ สำหรับผู้ประกอบการขนส่งของแต่ละประเทศ ไม่เกินประเทศละ 500 ใบ รวมถึงการให้งดเว้นการจ่ายอากรขาเข้าและวางค้ำประกันภาระภาษีศุลกากร สำหรับการนำรถยนต์เข้าในเขตแดนประเทศภาคีสมาชิกและการนำเข้าตู้คอนเทนเนอร์เป็นการชั่วคราว 

3เดิมการมีผลบังคับใช้ของการดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจฯ “ระยะแรก” สิ้นสุดวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 ส่งผลให้ภายหลังจากสิ้นสุดระยะเวลาการมีผลบังคับใช้ดังกล่าว ประเทศสมาชิกอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงไม่สามารถเดินรถระหว่างประเทศภายใต้บันทึกความเข้าใจฯ “ระยะแรก” ได้ (เช่น การเดินรถเพื่อการพาณิชย์) ดังนั้น ที่ประชุมจึงเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการมีผลบังคับใช้ของการดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจฯ “ระยะแรก” ในครั้งนี้

4เพื่อให้แต่ละประเทศมีเวลาสำหรับดำเนินการคัดเลือกผู้ประกอบการขนส่งภายใต้บันทึกความเข้าใจฉบับนี้ รวมถึงออกใบอนุญาตและเอกสารนำเข้าชั่วคราวให้แก่ผู้ประกอบการดังกล่าว

5เพิ่มเส้นทางและจุดผ่านแดนจากเดิม 13 เส้นทาง เป็น 24 เส้นทาง (เพิ่มขึ้น 11 เส้นทาง โดยมีเส้นทางและจุดผ่านแดนเพิ่มเติม เช่น เส้นทางระหว่างไทย - กัมพูชา [แหลมฉบัง - พนมสารคาม - กบินทร์บุรี - สระแก้ว - อรัญประเทศ (ไทย) - ปอยเปต (กัมพูชา] เป็นต้น

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 9 เมษายน 2567

 

 

4355

Click Donate Support Web 

SME 720x100 66

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kbank 720x100 66

QIC 720x100

วิริยะ 720x100AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

iconmotor

gen 720x100

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!