ขอความเห็นชอบการกู้เงินในประเทศเพื่อเป็นเงินลงทุนสำหรับการลงทุนในแผนงานระยะยาวใหม่ของการไฟฟ้านครหลวง จำนวน 6 แผนงาน
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Saturday, 06 April 2024 19:19
- Hits: 6301
ขอความเห็นชอบการกู้เงินในประเทศเพื่อเป็นเงินลงทุนสำหรับการลงทุนในแผนงานระยะยาวใหม่ของการไฟฟ้านครหลวง จำนวน 6 แผนงาน
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) กู้เงินในประเทศเพื่อเป็นเงินลงทุนสำหรับการลงทุนในแผนงานระยะยาวใหม่ของ กฟน. จำนวน 6 แผนงาน ภายในกรอบวงเงินรวม 38,900 ล้านบาท โดยให้ทยอยดำเนินการกู้เงินตามความจำเป็นรายปีจนกว่าการดำเนินงานจะแล้วเสร็จตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
มท. รายงานว่า
1. กฟน. ขอกู้เงินในประเทศเพื่อเป็นเงินลงทุนสำหรับการลงทุนในแผนงานระยะยาวใหม่ของ กฟน. จำนวน 6 แผนงาน ภายใต้กรอบวงเงินรวม 38,900 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
แผนงานระยะยาวใหม่ |
วงเงินเต็มแผนงาน |
แหล่งเงินทุน |
|
เงินกู้ในประเทศ |
เงินรายได้ |
||
1.1 แผนงานขยายเขตและปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้า ปี 2565 - 2566 : เป็นการขยายเขตและปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้า เช่น สายป้อนระดับแรงดัน หม้อแปลงจำหน่าย เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า และคาปาซิเตอร์ พร้อมอุปกรณ์ประกอบ เพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าของประชาชนที่มีแน้วโน้มเพิ่มสูงขึ้นในเขตให้บริการของ กฟน. และเพื่อเพิ่มความปลอดภัยของระบบไฟฟ้า |
|||
การดำเนินการ: - การสำรวจและออกแบบรายละเอียดงาน - การขออนุญาตใช้พื้นที่จากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง - การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า - การทดสอบการใช้งาน ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวจะดำเนินการโดย กฟน. และการว่าจ้างบุคคลภายนอก |
8,866.37 |
6,500.00 |
2,366.37 |
ประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ: - สามารถรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าของประชาชนที่มีแน้วโน้มเพิ่มสูงขึ้นได้ - ระบบไฟฟ้าของ กฟน. จะมีคุณภาพและปลอดภัยมากขึ้น - สามารถแก้ไขปัญหาไฟฟ้าดับเป็นวงกว้างได้ |
|||
1.2 แผนปฏิบัติการดิจิทัล ปี 2566 - 2570: ประกอบด้วย 3 แผนงาน ดังนี้ (1) แผนพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริการผู้ใช้ไฟฟ้าและการบริหารองค์กร เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ไฟฟ้าให้ได้รับบริการที่สะดวกรวดเร็ว (2) แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อรองรับระบบงานต่างๆ ให้สามารถทำงานตอบสนองระบบงานที่เป็นดิจิทัลเต็มรูปแบบ มีความทันสมัย และมีเสถียรภาพ (3) แผนพัฒนาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศและระบบสื่อสาร เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและเพื่อความมั่นคงปลอดภัยในระบบสารสนเทศและระบบสื่อสารขององค์กร |
|||
การดำเนินการ: - เพิ่มและปรับปรุงการบริการในรูปแบบออนไลน์ - เตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ - พัฒนาระบบเฝ้าระวังภัยคุกคามไซเบอร์ - ติดตามและประเมินผล |
6,652.52 |
5,300.00 |
1,352.52 |
ประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ: - ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถเข้าถึงบริการต่างๆ ได้ง่ายและสะดวกขึ้น ผ่านช่องทางดิจิทัลที่ทันสมัย เช่นการใช้บริการผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์ การใช้บริการผ่านแอพพลิเคชั่น MEA Smart Life ของ กฟน. โดยสามารถใช้บริการ เช่น การขอใช้ไฟฟ้า การชำระเงินค่าไฟฟ้า การแจ้งไฟฟ้าขัดข้อง เป็นต้น - ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถติดต่อ Contact Center ของ กฟน. ได้สะดวกขึ้น และมีการบริการที่ดีขึ้น - ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถติดต่อขอรับบริการต่างๆ โดยใช้บัตรประชาชนเพียงใบเดียว |
|||
1.3 แผนงานพัฒนาระบบไฟฟ้าตามแผนการพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า ระยะที่ 1 : เป็นการนำสายไฟฟ้าลงดินเพื่อพัฒนาระบบไฟฟ้าและปรับปรุงภูมิทัศน์ รวมทั้งเพื่อให้สามารถรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามแนวรถไฟฟ้าในอนาคตได้ ประกอบด้วย 2 โครงการ ดังนี้ (1) เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู ถนนแจ้งวัฒนะ ถนนรามอินทรา ถนนสีหบุรานุกิจ และถนนร่มเกล้า ระยะทาง 18.8 กิโลเมตร (2) เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ถนนศรีนครินทร์ (ถนนรามคำแหง - ถนนเทพารักษ์) ระยะทาง 15.8 กิโลเมตร |
|||
การดำเนินการ: - กฟน. ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อสำรวจและออกแบบรายละเอียดรวมทั้งจัดทำเอกสารประกวดราคา - ก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานสำหรับจ่ายไฟฟ้าให้ผู้ใช้บริการ (ท่อร้อยสายหลักและท่อร้อยสายรอง) - ติดตั้งอุปกรณ์จ่ายไฟฟ้า ทั้งนี้ หลังดำเนินการพัฒนาแล้วเสร็จจะดำเนินการรื้อถอนระบบสายอากาศเดิมออก เพื่อปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ให้สวยงาม |
8,353.70 |
6,300.00 |
2,053.70 |
ประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ: - สามารถรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าสำหรับประชาชนที่อยู่อาศัยตามแนวรถไฟฟ้าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นได้ - ลดปัญหาไฟฟ้าดับในพื้นที่ตามแนวรถไฟฟ้า - บริเวณโครงการรถไฟฟ้ามีสภาพภูมิทัศน์ที่สวยงาม |
|||
1.4 แผนงานประสานสาธารณูปโภคทั่วไป ปี 2566 - 2570 : เป็นการนำสายไฟฟ้าลงดินเพื่อพัฒนาระบบไฟฟ้าและปรับปรุงภูมิทัศน์ รวมทั้งเพื่อให้สามารถรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น โดยดำเนินการไปพร้อมกับโครงการสาธารณูปโภคของหน่วยงานภายนอก จำนวน 5 โครงการ ดังนี้ (1) โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณแยกเกียกกาย ช่วงที่ 1 ก่อสร้างทางยกระดับและถนนฝั่งธนบุรีของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ระยะทาง 1.3 กิโลเมตร (2) โครงการก่อสร้างปรับปรุงถนนประชาชื่นจากการประปานครหลวงถึงถนนแจ้งวัฒนะ (ถนนหมายเลข 11) ของ กทม. ระยะทาง 1.2 กิโลเมตร (3) โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่ - กาญจนบุรี ของกรมทางหลวง (ทล.) ระยะทาง 2 กิโลเมตร (4) โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 3 สาย บ้านบางปูใหม่ - บ้านบางปู ของ ทล. ระยะทาง 10 กิโลเมตร (5) โครงการก่อสร้างถนนสาย สป.1006 แยกทางหลวง 3 - เคหะบางพลี ของกรมทางหลวงชนบท ระยะทาง 10 กิโลเมตร |
|||
การดำเนินการ: - สำรวจและออกแบบ - ก่อสร้างบ่อพัก และท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดิน ทั้งนี้ กฟน. จะว่าจ้างบุคคลภายนอกดำเนินงาน โดยว่าจ้างผู้รับจ้างรายเดียวกับผู้รับจ้างก่อสร้างโครงการสาธารณูปโภคดังกล่าว |
2,797.87 |
2,000.00 |
797.87 |
ประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ: - สามารถรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าสำหรับประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่โครงการสาธารณูปโภคทั้ง 5 โครงการ - ลดปัญหาไฟฟ้าดับในพื้นที่โครงการสาธารณูปโภคทั้ง 5 โครงการ - ลดผลกระทบต่อประชาชนที่อยู่อาศัยและสัญจรไปมาในพื้นที่โครงการทั้ง 5 โครงการ (เนื่องจากดำเนินการพร้อมกับการก่อสร้างโครงการสาธารณูปโภคดังกล่าว) - บริเวณโครงการสาธารณูปโภคทั้ง 5 โครงการ มีสภาพภูมิทัศน์ที่สวยงาม |
|||
1.5 แผนงานพัฒนาระบบไฟฟ้าตามแผนการพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า ระยะที่ 2: เป็นการนำสายไฟฟ้าลงดินเพื่อพัฒนาระบบไฟฟ้าและปรับปรุงภูมิทัศน์ รวมทั้งเพื่อให้สามารถรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามแนวรถไฟฟ้าในอนาคตได้ ประกอบด้วย 7 โครงการ ดังนี้ (1) เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีทอง ถนนสมเด็จเจ้าพระยา และถนนเจริญนคร ระยะทาง 2.8 กิโลเมตร (2) เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ถนนเพชรเกษม (ถนนรัชดาภิเษก - ถนนกาญจนาภิเษก) ระยะทาง 8.2 กิโลเมตร (3) เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ถนนพระราม 4 (ถนนพญาไท - คลองผดุงกรุงเกษม) ระยะทาง 1.5 กิโลเมตร (4) เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ถนนพหลโยธิน (ถนนงามวงศ์วาน - ซอยพหลโยธิน54/2) ระยะทาง 11.3 กิโลเมตร (5) เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม ถนนรามคำแหง และถนนสุวินทวงศ์ ระยะทาง 12.6 กิโลเมตร (6) เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม ถนนพระราม 9 (พระราม 9 ซอย 13 - ถนนรามคำแหง) ระยะทาง 2.1 กิโลเมตร (7) เส้นทางเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีเขียว (ถนนเทพารักษ์ - ถนนสุขุมวิท) ระยะทาง 4.3 กิโลเมตร |
|||
การดำเนินการ: - กฟน. ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อสำรวจและออกแบบรายละเอียดรวมทั้งจัดทำเอกสารประกวดราคา - ก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานสำหรับจ่ายไฟฟ้าให้ผู้ใช้บริการ (ท่อร้อยสายหลักและท่อร้อยสายรอง) - ติดตั้งอุปกรณ์จ่ายไฟฟ้า ทั้งนี้ หลังดำเนินการพัฒนาแล้วเสร็จจะดำเนินการรื้อถอนระบบสายอากาศเดิมออก เพื่อปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ให้สวยงาม |
9,972.90 |
7,500.00 |
2,472.90 |
ประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ: - สามารถรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าสำหรับประชาชนที่อยู่อาศัยตามแนวรถไฟฟ้าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นได้ - ลดปัญหาไฟฟ้าดับในพื้นที่ตามแนวรถไฟฟ้า - บริเวณโครงการรถไฟฟ้ามีสภาพภูมิทัศน์ที่สวยงาม |
|||
1.6 แผนขยายเขตและปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้า ปี 2566 - 2570 : เป็นการขยายเขตและปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้า เช่น สายป้อนระดับแรงดัน หม้อแปลงจำหน่าย เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า และคาปาซิเตอร์ พร้อมอุปกรณ์ประกอบ เพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าของประชาชนที่มีแน้วโน้มเพิ่มสูงขึ้นในเขตให้บริการของ กฟน. และเพื่อเพิ่มความปลอดภัยของระบบไฟฟ้า |
|||
การดำเนินการ: - การสำรวจและออกแบบรายละเอียดงาน - การขออนุญาตใช้พื้นที่จากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง - การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า - การทดสอบการใช้งาน ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวจะดำเนินการโดย กฟน. และการว่าจ้างบุคคลภายนอก |
18,012.40 |
13,600.00 |
4,412.40 |
ประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ: - สามารถรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าของประชาชนที่มีแน้วโน้มเพิ่มสูงขึ้นได้ - ระบบไฟฟ้าของ กฟน. จะมึคุณภาพและปลอดภัยมากขึ้น - สามารถแก้ไขปัญหาไฟฟ้าดับเป็นวงกว้างได้ |
|||
วงเงินรวม 6 แผนงาน |
54,655.76 |
41,200.00 |
13,455.76 |
ทั้งนี้ เนื่องจากคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกู้เงินในประเทศ ปีงบประมาณ 2565 สำหรับแผนงานขยายเขตและปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้า ปี 2565 - 2566 วงเงิน 2,300 ล้านบาท (มติคณะรัฐมนตรี 13 กันยายน 2565) แล้ว ดังนั้น จึงเหลือวงเงินกู้ในประเทศตามแผนดังกล่าวอีก 4,200 ล้านบาท ส่งผลให้ กฟน. คงเหลือวงเงินกู้ในประเทศตามแผนงานระยะยาวใหม่ รวม 38,900 ล้านบาท (ข้อเสนอในครั้งนี้)
2. คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง (นายชยาวุธ จันทร เป็นประธานกรรมการคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง) มีมติเห็นชอบและรับทราบแผนการลงุทนระยะยาวใหม่ของ กฟน. จำนวน 6 แผนงานแล้ว
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 2 เมษายน 2567
4084