WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านสถานีวิจัยดวงจันทร์ระหว่างประเทศระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งราชอาณาจักรไทยและสำนักงานบริหารอวกาศแห่งชาติจีน

Gov 32

ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านสถานีวิจัยดวงจันทร์ระหว่างประเทศระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งราชอาณาจักรไทยและสำนักงานบริหารอวกาศแห่งชาติจีน

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านสถานีวิจัยดวงจันทร์ระหว่างประเทศ1 ระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) แห่งราชอาณาจักรไทย และสำนักงานบริหารอวกาศแห่งชาติจีน2 (ร่างบันทึกความเข้าใจฯ) ทั้งนี้ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องปรับปรุงถ้อยคำที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ขอให้ อว. ดำเนินการได้ โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก รวมทั้ง อนุมัติให้ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ

          สาระสำคัญของเรื่อง

          1. อว. ร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีนจัดการประชุมคณะกรรมการร่วมไทย-จีน เพื่อความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี3 ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2566 ณ กรุงเทพมหานคร โดยที่ประชุมเห็นชอบให้บรรจุความร่วมมือด้านเทคโนโลยีอวกาศ (Space Technology) เพิ่มเติมอีก 1 สาขา จากเดิมที่ได้มีการขับเคลื่อนความร่วมมือ 5 สาขา ได้แก่ (1) People to People Exchange & Talented Young Scientists Visiting Program (2) Technology Transfer (3) Rail System (4) Poverty Eradication และ (5) Nuclear Fusion ภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือสถานีวิจัยดวงจันทร์ระหว่างประเทศ (เป็นความร่วมมือระดับหน่วยงาน) ที่สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กับศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการสำรวจอวกาศเชิงลึก (Deep Space Exploration Laboratory: DSEL) (หน่วยงานภายใต้ CNSA) ได้มีการลงนามร่วมกัน เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2566 นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เสนอให้มีการยกระดับความร่วมมือจากระดับหน่วยงานให้เป็นระดับกระทรวงโดย อว. และ CNSA

          2. อว. และ CNSA ได้จัดทำร่างบันทึกความเข้าใจฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวางรากฐานความร่วมมือระหว่าง อว. และ CNSA ในการร่วมสร้างสถานีวิจัยดวงจันทร์ระหว่างประเทศ การสำรวจและใช้ประโยชน์จากอวกาศ รวมถึงดวงจันทร์และวัตถุในท้องฟ้าอื่นๆ ซึ่งไทยจะได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้และขยายความร่วมมือด้านการสำรวจอวกาศพื่อนำไปสู่การพัฒนากำลังคนในสาขาที่เป็นเทนโลขั้นสูงต่อไป 

          3. กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านสถานีวิจัยดวงจันทร์ระหว่างประเทศระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งราชอาณาจักรไทย และสำนักงานบริหารอวกาศแห่งชาติ และอนุมัติให้ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าวร่วมกับสำนักงานบริหารอวกาศแห่งชาติจีน (China National Space Administration: CNSA) ในวันที่ 5 เมษายน 2567 ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งการดำเนินการในเรื่องนี้เป็นการขับเคลื่อนและยกระดับความร่วมมือระหว่างกันจากเดิมที่ได้เคยมีความร่วมมือในระดับหน่วยงานภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือสถานีวิจัยดวงจันทร์ระหว่างประเทศ(International Lunar Research Station: ILRS) ซึ่งได้มีการลงนามเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2566 ให้เป็นความร่วมมือในระดับกระทรวงที่ครอบคลุมขอบเขตความร่วมมือในด้านต่างๆ เช่น การวิจัยทางวิทยาศาสตร์บนพื้นผิวดวงจันทร์ การใช้ประโยชน์จากอวกาศในการสำรวจ ซึ่งเป็นการดำเนินการภายใต้สนธิสัญญาว่าด้วยหลักเกณฑ์การดำเนินกิจการของรัฐในการสำรวจและการใช้อวกาศส่วนนอก รวมทั้งดวงจันทร์และเทหะ (วัตถุ) ในท้องฟ้าอื่นๆ ที่คณะรัฐนตรีได้เคยมีมติ (19 พฤศจิกายน 2511) และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2511 ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศ (กรมเอเชียตะวันออก) พิจารณาแล้วไม่มีข้อขัดข้องในสารัตถะและถ้อยคำของร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านสถานีวิจัยดวงจันทร์ระหว่างประเทศ ระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งราชอาณาจักรไทย และสำนักงานบริหารอวกาศแห่งชาติ และเห็นว่าไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศและหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาแล้วมีความเห็นสอดคล้องกัน และโดยที่เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือที่เกี่ยวกับองค์การระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันรัฐบาลไทย จึงเข้าข่ายลักษณะเรื่องที่ให้เสนอคณะรัฐมนตรีได้ตามมาตรา 4 (7) แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่อง และการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 

___________________________________

1 อว. แจ้งว่า สถานีวิจัยดวงจันทร์ระหว่างประเทศ (International Lunar Research station: ILRS) เป็นสถานีทดลองทางวิทยาศาสตร์แบบรอบด้าน เป็นฐานที่ใช้ทดลองทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ ในระยะยาว เช่น การสำรวจดวงจันทร์ การใช้ประโยชน์จากดวงจันทร์ การสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์จากดวงจันทร์ การทดลองทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานบนดวงจันทร์ และการทดสอบ

เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง มีการดำเนินการทั้งหมด 3 ระยะ ซึ่งริเริ่มก่อตั้งโดยจีนร่วมกับสหพันรัฐรัสเซียและประเทศ ต่างๆ ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการ ระยะที่ 1 คือ การก่อสร้างสถานีเกี่ยวกับการจัดส่งยานอวกาศและอุปกรณ์ต่างๆ ในการสำรวจ และจะสิ้นสุดการดำเนินการ ระยะที่ 3 ปี ค.ศ. 2050 อย่างไรก็ตาม เมื่อไทยได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ ที่เสนอในครั้งนี้ ไทยจะเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่เข้าร่วมในการสร้างสถานีวิจัยดวงจันทร์ ระหว่างประเทศ และในนาคตไทยสามารถขอรับการสนับสนุนในการพัฒนาอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อใช้ประโยชน์ต่องานวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงต่อไป โดยจัดทำข้อเสนอโครงการเสนอไปยังจีน

2สำนักงานบริหารอวกาศแห่งชาติจีน (CNSA) เป็นหน่วยงานของรัฐของจีนที่มีภารกิจงานเกี่ยวกับอวกาศภาคพลเรือนและความร่วมมือกับต่างประเทศทางด้านอวกาศ ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่ในฐานะตัวแทนของประเทศทางด้านอวกาศ

3 อว. แจ้งว่า คณะกรรมการร่วมไทย-จีน เพื่อความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจัดตั้งขึ้นภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ วิชาการ และนวัตกรรม ระหว่าง อว. และกระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งจีน ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2562 

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 2 เมษายน 2567

 

 

4073

Click Donate Support Web 

AXA 720 x100

Banner GPF720x100 PX

MTL 720x100

kbank 720x100 66

วิริยะ 720x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

QIC 720x100

gen 720x100

CKPower 720x100

TOA 720x100

SME 720x100 66

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!