WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ขอความเห็นชอบแผนความต้องการอัตรากำลังโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2572

Gov 15

ขอความเห็นชอบแผนความต้องการอัตรากำลังโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2572

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนความต้องการอัตรากำลังโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2572 (แผนความต้องการอัตรากำลังฯ) จำนวน 662 อัตรา งบประมาณรวมทั้งสิ้น 237,986,400 บาท ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ

          ทั้งนี้ แผนความต้องการอัตรากำลังฯ จะส่งผลต่อการเพิ่มอัตรากำลังด้านบุคลากรและภาระค่าใช้จ่ายในอนาคต จึงเห็นควรให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) พิจารณาดำเนินการเท่าที่จำเป็นตามภารกิจหลักอย่างประหยัดคุ้มค่าและคำนึงถึงความครอบคลุมของทุกแหล่งเงินที่จะนำมาใช้จ่าย โดยเฉพาะเงินรายได้หรือเงินนอกงบประมาณอื่นใดที่มหาวิทยาลัยมีอยู่หรือสามารถนำมาใช้จ่ายได้เป็นลำดับแรก เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณ และเกิดผลสัมฤทธิ์ในการบริหารจัดการภาครัฐอย่างยั่งยืนตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ

          สาระสำคัญของเรื่อง

          อว. รายงานว่า

          1. โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ พัทยา ตั้งอยู่ในพื้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ศูนย์พัทยา อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี มีพื้นที่ 585 ไร่ และได้รับการจัดตั้งเป็นพื้นที่เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ : ศูนย์นวัตกรรมการแพทย์ครบวงจร ธรรมศาสตร์ (พัทยา) (เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษฯ) ตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 25621 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งพัฒนาด้านการแพทย์และสุขภาพแบบครบวงจร ตอบสนองนโยบายภาครัฐในการเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) โดยการบูรณาการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านการแพทย์ การจัดการสุขภาพ และเชื่อมต่อข้อมูลกับข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) เพื่อขยายไปสู่การเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมชั้นสูง รองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษหรือเพื่อให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ความเชี่ยวชาญจากผู้ประกอบกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ สถาบันการศึกษา หรือสถาบันวิจัยที่มีศักยภาพสูง

          2. โครงการก่อสร้างโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ พัทยา เป็นอาคารสูง 9 ชั้น เนื้อที่ใช้สอย 70,000 ตารางเมตร มีกำหนดแล้วเสร็จในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เปิดให้บริการขนาด 100 เตียง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และพัฒนาเป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ2 ขนาด 300 เตียง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2572 โดยการดำเนินการของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ พัทยา มีการเชื่อมโยงกับการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์3 ทั้งในส่วนของความร่วมมือด้านระบบบริการการส่งต่อ การศึกษา และการวิจัยกับกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) รวมทั้งสอดคล้องกับสมรรถนะหลักขององค์กร ได้แก่ (1) คณะในศูนย์สุขศาสตร์ มธ.4 เป็นหน่วยที่มีภารกิจหลักในการจัดการเรียนการสอนเพื่อสร้างบุคลากรทางการแพทย์และให้บริการร่วมกับโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติและโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ พัทยา และ (2) โครงการความร่วมมือสนับสนุนเป็นโรงพยาบาลหลักและโรงพยาบาลสมทบในการผลิตแพทย์ระหว่าง มธ. กับ สธ. นอกจากนี้ ยังมีความร่วมมือกับ สธ. เขตสุขภาพที่ 65 ในการเตรียมความพร้อมด้านการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก รวมถึงการผลิตแพทย์หลักสูตรนานาชาติร่วมกับโรงพยาบาลในเขตสุขภาพ

          3. เพื่อรองรับการดำเนินงานและเตรียมความพร้อมในการเปิดบริการโรงพยาบาลในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ข้างต้น โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ พัทยา จึงมีความจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนอัตรากำลังจากรัฐบาล ได้แก่ บุคลากรฝ่ายแพทย์ ฝ่ายพยาบาล ฝ่ายเทคนิค ฝ่ายสหวิชาชีพ และฝ่ายสนับสนุน เพื่อให้สามารถให้บริการทางการแพทย์และให้การดูแลรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพและทันสมัยแก่ประชาชนในจังหวัดชลบุรีและจังหวัดใกล้เคียง อีกทั้งโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ พัทยา จะสามารถเป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติชั้นคลินิกและฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพได้อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนอย่างยั่งยืนต่อไป ทั้งนี้ ได้จัดทำแผนความต้องการอัตรากำลังฯ สรุปได้ ดังนี้

              3.1 วัตถุประสงค์ 

                    (1) จัดหาบุคลากรทางการแพทย์และวิชาชีพด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องเพื่อให้โรงพยาบาลได้รับมาตรฐานในการบริการระดับโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่มีขนาด 300 เตียง ตามมาตรฐาน Healthcare Accreditation (HA)6 Advanced HA (AHA)7 และ Joint Commission International (JCI)8 รองรับการให้บริการสุขภาพของประชาชนในพื้นที่

                    (2) จัดหาบุคลากรทางการแพทย์เพื่อรองรับการเป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติการในชั้นคลินิกรองรับการจัดการเรียนการสอนทั้งก่อนและหลังปริญญา 

                    (3) จัดหาบุคลากรทางการแพทย์เพื่อรองรับภารกิจด้านการวิจัยทางคลินิก การวิจัยด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องตามบทบาทของโรงพยาบาลระดับตติยภูมิชั้นสูง9และการสร้างนวัตกรรมทางการแพทย์และการสาธารณสุขในลักษณะการบูรณาการ/สหวิทยาการ 

                    (4) จัดหาบุคลากรในตำแหน่งอาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุนในการเรียนการสอนเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ

              3.2 แผนการดำเนินงาน

                    (1) อัตรากำลังที่เสนอขอตั้งใหม่ (อัตราใหม่พนักงานมหาวิทยาลัย) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2572 (5 ปี) จำนวน 662 อัตรา งบประมาณ 237,986,400 บาท สรุปได้ ดังนี้

 

ปีงบประมาณ ..

อัตรา (คน)

งบประมาณ (บาท)

2568

58

24,165,600

2569

115

42,769,200

2570

179

62,382,000

2571

150

53,246,400

2572

160

55,423,200

รวม

662

237,986,400

หมายเหตุ : อัตรากำลังที่เสนอขอ ประกอบด้วย สายวิชาการ ได้แก่ แพทย์เฉพาะทาง พยาบาล และเภสัชกร และสายสนับสนุนวิชาการ เช่น นักโภชนาการ นักรังสีการแพทย์ นักกายภาพบำบัด และนักวิชาการสาธารณสุข โดยใช้วิธีการคำนวณจากอัตรากำลังประเภทต่างๆ ที่เหมาะสมต่อจำนวนเตียงที่เปิดให้บริการ (จำนวนอัตรากำลังพึงมี = จำนวนเตียง x อัตรากำลังต่อเตียงรายวิชาชีพ) 

 

                    (2) แผนการขยายบริการและความต้องการอัตรากำลังฯ สรุปได้ ดังนี้ 

 

แผนการขยายบริการ

จำนวน

เตียงสะสม

(เตียง) 

อัตรากำลังที่เสนอขอ (คน)

งบประมาณ

(บาท)

วิชาการ

สนับสนุน

ปีงบประมาณ .. 2568

1) โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ พัทยา เปิดให้บริการ ดังนี้

        ชั้น 1 : คลินิกตรวจสุขภาพ คลินิกเวชศาสตร์ฟื้นฟู คลินิกกระดูกและข้อ คลินิกทันตกรรม Robot Station แผนกเภสัชกรรมห้องจัดยา คลินิกอายุรกรรม คลินิกรังสีวิทยา จุดคัดกรองผู้ป่วยติดเชื้อ ห้องตรวจทั่วไป/สูติ-นรีเวช ห้องตรวจทั่วไป/หู คอ จมูก ศูนย์อุบัติเหตุและฉุกเฉิน

        ชั้น 2 : คลินิกหู-ตา-คอ-จมูก คลินิกทั่วไป คลินิกโรคผิวหนัง คลินิกพัฒนาการเด็ก คลินิกสูติ-นารีเวช คลินิกเจริญพันธุ์คลินิกศัลยกรรม คลินิกศัลยกรรมและเสริมความงาม คลินิกแพทย์ทางเลือก คลินิกจิตเวช แผนกเภสัชกรรม คลินิกกุมารเวช คลินิกโรคหัวใจ

        ชั้น 3 : แผนก I.C.U.10 แผนก C.C.U.11 แผนกไตเทียม ศูนย์ผ่าตัด ศูนย์ส่องกล้องเพื่อการวินิจฉัย ห้องสูติ-นารีเวช

        ชั้น 4 : คลังโลหิต ห้องงานระบบ LABORATOR สำนักงาน ห้องพนักงาน ห้องตรวจตัวอย่าง ห้องคลังน้ำยา ห้องล้างอุปกรณ์ CSSD Cooling tower ห้อง AHU & OAU สำหรับ LAB & CSSD ห้องภาวนา ห้องอเนกประสงค์

        ชั้น 5-6 : เปิดห้องรวม (ผู้ป่วยใน) 100 เตียง จัดการเรียนการสอนสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพและวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพิ่มเติม (ระดับปริญญาตรี 5 หลักสูตร นักศึกษาประมาณ 510 คน และระดับ

100

29

29

24,165,600

ปีงบประมาณ .. 2569

1) โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ พัทยาดำเนินการเช่นเดียวกับปีงบประมาณ .. 2568 โดยขยายการให้บริการ ดังนี้

        ชั้น 5-6 : เปิดห้องรวม (ผู้ป่วยใน) เพิ่มขึ้น 50 เตียง

2) จัดการเรียนการสอนสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพและวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพิ่มเติม (ระดับปริญญาตรี 5 หลักสูตร นักศึกษาประมาณ 680 คน และระดับบัณฑิตศึกษา 4 หลักสูตร นักศึกษาประมาณ 100 คน)

150

38

(สะสม 67)

77

(สะสม 106)

42,769,200

ปีงบประมาณ .. 2570

1) โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ พัทยา ดำเนินการเช่นเดียวกับปีงบประมาณ .. 2569 โดยขยายการให้บริการ ดังนี้

        ชั้น 5-7 : เปิดห้องรวม (ผู้ป่วยใน) เพิ่มขึ้น 50 เตียง

2) จัดการเรียนการสอนสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพและวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพิ่มเติม (ระดับปริญญาตรี 5 หลักสูตร นักศึกษาประมาณ 710 คน และระดับปริญญาโท 4 หลักสูตร นักศึกษาประมาณ 100 คน)

3) จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมการแพทย์และจีโนมิกส์

200

45

(สะสม 112)

134

(สะสม 240)

62,382,000

ปีงบประมาณ .. 2571

1) โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ พัทยา ดำเนินการเช่นเดียวกับปีงบประมาณ .. 2570 โดยขยายการให้บริการ ดังนี้

        ชั้น 5-7 : เปิดห้องรวม (ผู้ป่วยใน) เพิ่มขึ้น 50 เตียง

2) จัดการเรียนการสอนสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพและวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพิ่มเติม (ระดับปริญญาตรี 5 หลักสูตร นักศึกษาประมาณ 710 คน และระดับปริญญาโท 4 หลักสูตร นักศึกษาประมาณ 100 คน)

3) พัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมการแพทย์และจีโนมิกส์

250

41

(สะสม 153)

109 (สะสม 349)

53,246,400

ปีงบประมาณ .. 2572

1) โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ พัทยา ดำเนินการเช่นเดียวกับปีงบประมาณ .. 2571 โดยขยายการให้บริการ ดังนี้

        ชั้น 5-8 : เปิดห้องรวม (ผู้ป่วยใน) เพิ่มขึ้น 50 เตียง

2) จัดการเรียนการสอนสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพและวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพิ่มเติม (ระดับปริญญาตรี 5 หลักสูตร นักศึกษาประมาณ 710 คน และระดับปริญญาโท 4 หลักสูตร นักศึกษาประมาณ 100 คน)

3) พัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมการแพทย์และจีโนมิกส์

300

38

(สะสม 191)

122

(สะสม 471)

55,423,200

รวม

300

662

 

237,986,400

 

              3.3 แผนความต้องการอัตรากำลังฯ จำแนกตามสายงาน สรุปได้ ดังนี้

 

ตำแหน่ง

ปี 2568

ปี 2569

ปี 2570

ปี 2571

ปี 2572

รวม 2568-2572

อัตรา (คน)

เงินเดือน+เงินเพิ่มพิเศษ

(บาท)

อัตรา (คน)

เงินเดือน+เงินเพิ่มพิเศษ

(บาท)

อัตรา (คน)

เงินเดือน+เงินเพิ่มพิเศษ

(บาท)

อัตรา (คน)

เงินเดือน+เงินเพิ่มพิเศษ

(บาท)

อัตรา (คน)

เงินเดือน+เงินเพิ่มพิเศษ

(บาท)

อัตรา (คน)

งบประมาณ (บาท)

สายวิชาการ

29

15,903,600

38

20,839,200

45

24,678,000

41

22,484,400

38

20,839,200

191

104,744,400

(1) แพทย์เฉพาะทาง

24

13,161,600

33

18,097,200

38

20,839,200

33

18,097,200

30

16,452,000

158

86,647,200

(2) พยาบาล

5

2,742,000

5

2,742,000

5

2,742,000

6

3,290,400

6

3,290,400

27

14,806,800

(3) เภสัชกร

-

-

-

-

2

1,096,800

2

1,096,800

2

1,096,800

6

3,290,400

สายสนับสนุนวิชาการ

29

8,262,000

77

21,930,000

134

37,704,000

109

30,762,000

122

34,584,000

471

133,242,000

(1) พยาบาล

22

6,336,000

60

17,280,000

60

17,280,000

60

17,280,000

80

23,040,000

282

81,216,000

(2) นักโภชนาการ

-

-

-

-

1

270,000

1

270,000

1

270,000

3

810,000

(3) นักรังสีการแพทย์

-

-

-

-

10

2,700,000

6

1,620,000

6

1,620,000

22

5,940,000

(4) นักเทคนิคการแพทย์

-

-

-

-

14

3,948,000

2

564,000

1

282,000

17

4,794,000

(5) เภสัชกร

2

576,000

2

576,000

10

2,880,000

6

1,728,000

6

1,728,000

26

7,488,000

(6) วิศกรชีวการแพทย์

-

-

2

564,000

2

564,000

5

1,410,000

4

1,128,000

13

3,666,000

(7) นักกายภาพบำบัด

-

-

-

-

6

1,692,000

5

1,410,000

3

846,000

14

3,948,000

(8) นักวิชาการสาธารณสุข

-

-

-

-

2

540,000

5

1,350,000

5

1,350,000

12

3,240,000

(9) นักวิชาการเวชสถิติ

-

-

-

-

1

270,000

1

270,000

1

270,000

3

810,000

(10) นักวิทยาศาสตร์การแพทย์

-

-

2

540,000

1

270,000

1

270,000

1

270,000

5

1,350,000

(11) บุคลากรกลุ่มภารกิจอำนวยการ

5

1,350,000

11

2,970,000

27

7,290,000

17

4,590,000

14

3,780,000

74

19,980,000

รวมเงินทั้งสิ้น

58

24,165,600

115

42,769,200

179

62,382,000

150

53,246,400

160

55,423,200

662

237,986,400

 

          4. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

              4.1 แก้ปัญหาการขาดแคลนพื้นที่บริการสุขภาพในระดับภูมิภาค โดยสามารถรองรับความต้องการใช้บริการทางการแพทย์ระดับสูงในพื้นที่จังหวัดชลบุรีและจังหวัดใกล้เคียง รวมถึงประชาชนจากประเทศเพื่อนบ้านหรือนักท่องเที่ยวในพื้นที่ ทั้งนี้ คาดว่าจะสามารถรองรับผู้รับบริการด้านสุขภาพในแต่ละปีได้ ดังนี้

 

รายการ

ปีที่ 1

(.. 2568)

ปีที่ 2

(.. 2569)

ปีที่ 3

(.. 2570)

ปีที่ 4

(.. 2571)

ปีที่ 5

(.. 2572)

ผู้รับบริการด้านสุขภาพ (คน/ปี)

130,313

195,469

260,625

325,782

390,939

ผู้ป่วยนอก

121,833

182,749

243,665

304,582

365,498

ผู้ป่วยใน

8,480

12,720

16,960

21,200

25,441

 

              4.2 โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ พัทยา และหลักสูตรต่างๆ ที่จัดการเรียนการสอน ณ มธ. ศูนย์พัทยา สามารถขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายการพัฒนาไปสู่วิสัยทัศน์ ทิศทางการพัฒนา มธ. ศูนย์พัทยา : เมืองนวัตกรรมแห่งสุขภาพและเวลเนส (Thammasat Pattaya: The Health and Wellness Innopolis) ซึ่งเป็นการ บูรณาการระหว่างการแพทย์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี

              4.3 โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ พัทยา มีแผนอัตรากำลังปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2572 เพื่อใช้ในการจัดเตรียมและพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ให้มีความพร้อมในการให้บริการโดยสามารถดำเนินงานให้เกิดประสิทธิภาพได้ตามมาตรฐานสากลและยกระดับการรักษาพยาบาลสู่การเป็นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยระดับ ตติยภูมิมุ่งสู่ศูนย์ความเป็นเลิศ (Excellence Center)

              4.4 การผลิตแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่มีคุณภาพและการส่งเสริมให้มีการสร้างงานวิจัยเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์และการให้บริการทางการแพทย์และทางวิชาการเพื่อสรรค์สร้างสุขภาพที่ดีแก่คนในสังคม รวมทั้งเพื่อรองรับจำนวนนักศึกษาที่จะเพิ่มขึ้นและภาระงานสายวิชาการที่มีจำนวนมากกว่าอัตรากำลังบุคลากรในปัจจุบัน โดยมีจำนวนนักศึกษาที่สามารถรองรับได้ ดังนี้

 

รายการ

ปีที่ 1

(.. 2568)

ปีที่ 2

(.. 2569)

ปีที่ 3

(.. 2570)

ปีที่ 4

(.. 2571)

ปีที่ 5

(.. 2572)

จำนวนนักศึกษารวม (คน/ปี)

610

780

810

810

810

ปริญญาตรี

510

680

710

710

710

ปริญญาโท

40

40

40

40

40

ปริญญาเอก

60

60

60

60

60

 

          5. ค่าใช้จ่ายและแหล่งที่มา

          แผนความต้องการอัตรากำลังฯ จำนวน 662 อัตรา งบประมาณรวมทั้งสิ้น 237,986,400 บาท โดยขอรับการจัดสรรงบประมาณเป็นรายปี 

______________________

1 มธ. แจ้งว่า เดิมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) มีมติเห็นชอบการประกาศกำหนดพื้นที่ประมาณ 566 ไร่ บริเวณ มธ. ศูนย์พัทยา เป็นเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษฯ (ตามประกาศ กพอ. เรื่อง กำหนดเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษฯ ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2562) ต่อมาบริษัท สยามกลการ จำกัด ได้บริจาคที่ดินให้ มธ. จำนวนประมาณ 18 ไร่ จึงทำให้มีพื้นที่เพิ่มขึ้นเป็น 585 ไร่ จากเดิม 566 ไร่ [ตามประกาศ กพอ. เรื่อง การเปลี่ยนแปลงเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษฯ (ฉบับที่ 1) ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2564]

2 โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ (Tertiary Care) เป็นหน่วยบริการทางการแพทย์ที่มีขีดความสามารถในการให้บริการและมีความพร้อมในการรักษาที่ยุ่งยากซับซ้อนระดับเชี่ยวชาญหรือเชี่ยวชาญเฉพาะประกอบด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาหลักทุกสาขา สาขารองและสาขาย่อยตามความจำเป็น

3 มธ. แจ้งว่า จะมีการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ในพื้นที่ มธ. ศูนย์พัทยา ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ปัจจุบันมีการลงนามบันทึกความเข้าใจกับองค์กรด้านการแพทย์และวิศวกรรมชั้นนำในการพัฒนาความร่วมมือด้านการลงทุนและมีการดำเนินการพัฒนาพื้นที่ร่วมกับภาคเอกชน เช่น การพัฒนา Health Resort ร่วมกับบริษัท เนอวานา ไดอิ จำกัด (มหาชน) และการจัดตั้งศูนย์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อบำบัดผู้ติดยาเสพติดร่วมกับบริษัท ภูฟ้า เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด

4 ศูนย์สุขศาสตร์ มธ. เป็นคณะในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ ประกอบด้วยคณะวิทยาลัยต่างๆ รวม 7 คณะ ได้แก่ (1) คณะแพทยศาสตร์ (2) วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ (3) คณะพยาบาลศาสตร์ (4) คณะเภสัชศาสตร์ (5) คณะทันตแพทยศาสตร์ (6) คณะสาธารณสุขศาสตร์ และ (7) คณะสหเวชศาสตร์

5 เขตสุขภาพที่ 6 ประกอบด้วย 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว สมุทรปราการ จันทบุรี ชลบุรี ตราด และระยอง

6 Healthcare Accreditation (HA) หรือมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ เป็นการรับรองคุณภาพสถานพยาบาลขั้นมาตรฐาน ซึ่งดำเนินการโดยสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)

7 Advanced HA (AHA) เป็นการรับรองคุณภาพสถานพยาบาลขั้นก้าวหน้าสำหรับสถานพยาบาลที่มีการพัฒนาต่อยอดมาจากการรับรองคุณภาพขั้นมาตรฐาน

8 Joint Commission International (JCI) เป็นการรับรองมาตรฐานสำหรับสถานพยาบาลโดยการประเมินเพื่อพิจารณาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามมาตรฐานซึ่งกำหนดขึ้นเพื่อยกระดับคุณภาพและความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วย ซึ่งดำเนินการโดย JCI สหรัฐอเมริกา

9 หน่วยบริการระดับตติยภูมิชั้นสูง (Super Tertiary) เป็นศูนย์บริการทางการแพทย์ที่มีขีดความสามารถในการให้บริการและมีความพร้อมในการรักษาสูงสุดเนื่องจากเป็นโรงพยาบาลที่ใช้สำหรับการเรียนการสอนเพื่อผลิตบุคลากรทางการแพทย์และเป็นโรงพยาบาลสำหรับการค้นคว้าวิจัยต่างๆ

10 หออภิบาลผู้ป่วยหนัก (Intensive Care Unit I.C.U.) มีภารกิจหลักในการดูแลผู้ป่วยที่มีอาการหนักและอยู่ในภาวะวิกฤตซึ่งต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด มีการติดตาม/เฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยอยู่ตลอดเวลาเพื่อวิเคราะห์และวินิจฉัยอาการและปัญหา รวมทั้งแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย

11 หออภิบาลผู้ป่วยหนักโรคหัวใจ (Coronary Care Unit: C.C.U.) มีภารกิจหลักในการดูแลผู้ป่วยที่มีอาการวิกฤตทางโรคหัวใจและหลอดเลือดรวมถึงผู้ป่วยที่มีความซับซ้อนในการทำหัตถการจากห้องสวนหลอดเลือดหัวใจ

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 26 มีนาคม 2567

 

 

3943

Click Donate Support Web 

SME 720x100 66

CKPower 720x100

TOA 720x100

Banner GPF720x100 PX

EXIM One 720x90 C J

QIC 720x100

kbank 720x100 66

วิริยะ 720x100

MTL 720x100

AXA 720 x100

gen 720x100

hino2021

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!