WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ขอรับการจัดสรรงบประมาณสำหรับจ้างเหมาบริการนักการภารโรง

Gov 33

ขอรับการจัดสรรงบประมาณสำหรับจ้างเหมาบริการนักการภารโรง

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการจ้างนักการภารโรงให้ครบทุกโรง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 กรอบวงเงินงบประมาณ 2,739.96 ล้านบาท ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ

          ทั้งนี้ ขอให้กระทรวงศึกษาธิการโดยสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามภารกิจ ความจำเป็นและเหมาะสม รวมถึงกำหนดมาตรการและแนวทางการบริหารจัดการงบประมาณที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ 

          สาระสำคัญของเรื่อง

          ศธ. รายงานว่า

          1. เดิมโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีนักการภารโรงครบทุกโรงเรียน แต่หลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (23 กันยายน 2546) ส่งผลให้ทุกส่วนราชการยุบเลิกอัตราลูกจ้างประจำทุกตำแหน่ง ซึ่งลูกจ้างประจำของ ศธ. ส่วนใหญ่เป็นตำแหน่งนักการภารโรงที่คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ (คพร.) ไม่ได้กำหนดเป็นฐานรองรับกรอบพนักงานราชการ จึงไม่ได้จัดสรรอัตราและงบประมาณจ้างทดแทนให้แก่ สพฐ. ส่งผลให้จำนวนอัตรานักการภารโรงลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา ประกอบกับที่ผ่านมา สพฐ. ไม่ได้รับจัดสรรงบประมาณในการจ้างเหมาบริการ1 นักการภารโรงทดแทนให้เพียงพอตามตำแหน่งที่ถูกยุบเลิกไป โรงเรียนจำนวนมากจึงไม่มีนักการภารโรงหรือมีไม่เพียงพอ ขาดการดูแลด้านความปลอดภัย สุขภาวะของนักเรียน และสภาพแวดล้อมของโรงเรียน ครูจึงต้องเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนซึ่งส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น โรงเรียนทุกแห่งจึงควรมีนักการภารโรงเพื่อให้โรงเรียนเป็นสถานที่ที่สะอาด ปลอดภัยและเอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน

          2. ข้อมูลเกี่ยวกับนักการภารโรงและงบประมาณ

              2.1 ข้อมูลนักการภารโรงในปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567) ดังนี้

 

รายการ

จำนวนโรงเรียน/นักการภารโรง (โรง/คน)*

(1) โรงเรียนในสังกัด สพฐ.2 [ข้อมูลจากระบบจัดเก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคล (Data Management Center: DMC) วันที่ 10 พฤศจิกายน 2566]

28,936

(2) โรงเรียนที่มีนักการภารโรง/ผู้ปฏิบัติหน้าที่นักการภารโรง โดยสามารถจำแนกผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่นักการภารโรงได้ ดังนี้

     (2.1) ลูกจ้างประจำที่ปฏิบัติหน้าที่แทนนักการภารโรง จำนวน 4,384 อัตรา

     (2.2) พนักงานราชการ3 ปฏิบัติหน้าที่นักการภารโรง จำนวน 112 อัตรา

     (2.3) นักการภารโรง (จ้างเหมาบริการอัตราละ 9,000 บาทต่อเดือน) จำนวน 10,230 อัตรา

14,726

(3) โรงเรียนที่ขาดแคลนผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งนักการภารโรง

14,210

หมายเหตุ : *จำนวนโรงเรียนเท่ากับจำนวนนักการภารโรง (1 โรงเรียนมีนักการภารโรง 1 คน) 

 

              2.2 งบประมาณที่ได้รับจัดสรรประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2566 รายการค่าจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ตำแหน่งนักการภารโรง ดังนี้

 

ปีงบประมาณ ..

จำนวนนักการภารโรง (คน)

งบประมาณ (ล้านบาท)*

2564

11,173

1,291.64

2565

10,339

1,174.32

2566

10,295

1,150.62

หมายเหตุ : *อัตรา 9,000 บาทต่อเดือน x จำนวนนักการภารโรงแต่ละปี (เฉพาะโรงเรียนที่มีนักการภารโรง) x 12 เดือน 

 

              2.3 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ศธ. (สพฐ ) ได้เสนอขอรับจัดสรรงบประมาณ (ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567) ดังนี้

                    2.3.1 ขอรับจัดสรรงบประมาณ จำนวน 1,085.13 ล้านบาท สำหรับจ้างนักการภารโรง จำนวน 10,230 คน ซึ่งเป็นนักการภารโรงจ้างเหมาบริการตามอัตราจริงที่มีอยู่ในปัจจุบัน ตามร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

                    2.3.2 ขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบประมาณเพิ่มเติม จำนวน 639.45 ล้านบาท เพื่อจ้างนักการภารโรงจ้างเหมาบริการ เฉพาะส่วนที่ขาดแคลนอีก 14,210 คน ให้ครบทุกโรงเรียน (จำนวน 5 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-กันยายน4 พ.ศ. 2567)

 

ปีงบประมาณ 

..

จำนวนนักการภารโรง

ครบทุกโรงเรียน

(คน)

จำนวนอัตรา (คน)

งบประมาณที่ต้องใช้เพิ่มเติม (ล้านบาท) (5) = อัตราจ้างเหมาบริการต่อเดือน* x (4) x 5 เดือน

นักการภารโรงที่มีปัจจุบัน

(2)

นักการภารโรง

ที่จะจ้างเพิ่ม

(จ้างเหมาบริการ)

(4) = (1)-(2)

ลูกจ้างประจำ

พนักงานราชการ

จ้างเหมาบริการ

2567

28,936

14,726**

14,210

9,000x14,210x5

= 639.45 

4,384

112

10,230

หมายเหตุ : *คณะรัฐมนตรีมีมติ (8 ตุลาคม 2556) อนุมัติให้นักการภารโรงมีรายได้วันละไม่น้อยกว่า 300 บาท (เดือนละ 9,000 บาท) 

                 **ลูกจ้างประจำและพนักงานราชการเป็นการใช้งบประมาณจากงบบุคลากร และลูกจ้างจ้างเหมาบริการเป็นการใช้งบประมาณจากงบรายจ่ายอื่น

 

          3. สำหรับการจ้างเหมาบริการนักการภารโรง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ศธ. (สพฐ.) ได้ประมาณการค่าใช้จ่ายจากความต้องการนักการภารโรงทั้งหมดเพื่อให้มีนักการภารโรงครบทุกโรงเรียน (เสนอในครั้งนี้) สรุปได้ ดังนี้

 

ปีงบประมาณ

..

จำนวนนักการภารโรงครบ

ทุกโรงเรียน (คน)

(1)

จำนวนอัตรา (คน)

งบประมาณที่ใช้ (ล้านบาท)

(5)

= อัตราจ้างเหมาบริการต่อเดือน* x (4) x 12 เดือน

นักการภารโรงในแต่ละปี

นักการภารโรง

ที่จะจ้างเพิ่ม

(จ้างเหมาบริการ)

(4) = (1)-(2)-(3)

ลูกจ้างประจำ

(2)

พนักงานราชการ

(3)

2568

28,756

3,274

112

25,370

9,000x25,370x12

= 2,739.96

หมายเหตุ : *คณะรัฐมนตรีมีมติ (8 ตุลาคม 2556) อนุมัติให้นักการภารโรงมีรายได้วันละไม่น้อยกว่า 300 บาท (เดือนละ 9,000 บาท) 

 

          4. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 

              4.1 ครูสามารถทำหน้าที่หลักในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพและส่งผลให้เกิดการยกระดับคุณภาพการศึกษา

              4.2 มีนักการภารโรงดูแลสภาพแวดล้อม ระบบสาธารณูปโภคและทรัพย์สินของทางราชการ รวมถึงสร้างความปลอดภัยแก่ครูและนักเรียน

              4.3 เกิดการจ้างงาน สร้างรายได้ และเกิดเงินหมุนเวียนในระบบบเศรษฐกิจ 

______________________

1 การจ้างนักการภารโรงในรูปแบบการจ้างเหมาบริการ เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ที่บัญญัติให้งานบริการหมายความว่า งานจ้างเหมาบริการ และมาตรา 56 (2) (ข) บัญญัติให้การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุ ให้หน่วยงานของรัฐเลือกใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปก่อน เว้นแต่การจัดซื้อจัดจ้างที่ให้บริการทั่วไปและมีวงเงินจัดซื้อจัดจ้างครั้งหนึ่งไม่เกินวงเงินตามที่กำหนดในกฎกระทรวง เช่น กฎกระทรวงกำหนดวงเงินการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีเฉพาะเจาะจง วงเงินการจัดซื้อจัดจ้างที่ไม่ทำข้อตกลง เป็นหนังสือ และวงเงินการจัดซื้อจัดจ้างในการแต่งตั้งผู้ตรวจรับพัสดุ พ.ศ. 2560 

2 สพฐ. แจ้งว่า โรงเรียนที่อยู่ระหว่างรอควบรวม/รอยุบเลิก/ถ่ายโอน จะไม่นำมาคำนวณในครั้งนี้ (ประมาณ 315 โรงเรียน)

3 พนักงานราชการที่ปฏิบัติหน้าที่นักการภารโรง เป็นตำแหน่งที่ได้รับการจัดสรรตามมติคณะรัฐมนตรี (5 ตุลาคม 2547) เรื่อง การช่วยเหลือลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราวในระบบราชการ ซึ่งให้ลูกจ้างชั่วคราวประเภทที่ 1 (ใช้งบประมาณหมวดค่าตอบแทนบุคลากร) ที่ปฏิบัติงานต่อเนื่องและทำงานในลักษณะประจำเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี ให้ผู้บังคับบัญชาเจ้าสังกัดบรรจุแต่งตั้งเป็นพนักงานราชการ 

4 ข้อมูลจากการประสาน สพฐ. ซึ่งคาดว่าเป็นช่วงภายหลังจากที่พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ประกาศใช้ 

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 26 มีนาคม 2567

 

 

3936

Click Donate Support Web 

SME 720x100 66

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kbank 720x100 66

QIC 720x100

วิริยะ 720x100AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

iconmotor

gen 720x100

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!