WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ข้อเสนอการสร้างเสริมสุขภาวะระยะสุดท้ายของชีวิตรองรับสังคมสูงวัย ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา

Gov 23

ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ข้อเสนอการสร้างเสริมสุขภาวะระยะสุดท้ายของชีวิตรองรับสังคมสูงวัย ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ข้อเสนอการสร้างเสริมสุขภาวะระยะสุดท้ายของชีวิตรองรับสังคมสูงวัย ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป

          เรื่องเดิม 

          1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ข้อเสนอการสร้างเสริมสุขภาวะระยะสุดท้ายของชีวิตรองรับสังคมสูงวัย ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา มาเพื่อดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการฯ ได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการพัฒนาและการจัดระบบการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยระยะสุดท้าย โดยใช้พื้นฐานจากการดูแลแบบประคับประคอง เพื่อเป็นแนวทางในการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของภาครัฐและครัวเรือน รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลและการสร้างสุขภาวะในระยะสุดท้ายของชีวิตให้กับผู้สูงอายุและผู้ป่วยระยะสุดท้ายให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งในมิติของระบบบริการสุขภาพมิติด้านสังคมและมิติด้านบริหารจัดการ จึงได้มีข้อเสนอแนะ ดังนี้ (1) ข้อเสนอทิศทางการพัฒนาและนโยบาย (2) การพัฒนาระบบการดูแลแบบประคับประคองในโรงพยาบาล (Hospitatl – Based Palliative Care) (3) การปลดล็อกข้อจำกัดการเข้าถึงยาจำเป็นสำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้าย (4) การพัฒนารูปแบบการบริหารด้านการเงินรองรับการดูแลแบบประคับประคอง (5) การพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพและบุคลากรอื่น การพัฒนามาตรฐานงานและการพัฒนาวิชาการที่เกี่ยวข้อง (6) การส่งเสริมองค์กรนอกภาคสุขภาพจัดบริการดูแลแบบประคับประคองระยะสุดท้ายของชีวิตในชุมชน (7) การพัฒนาการสื่อสาร การรับรู้ การเรียนรู้และสร้างความร่วมมือทางสังคม (8) การสานพลังขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะระยะสุดท้ายของชีวิตที่เป็นองค์รวมและ (9) การสนับสนุนการพัฒนาอื่นๆ

          2. คณะรัฐมนตรี (15 ตุลาคม 2566) ได้มีมติมอบหมายให้ สธ. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการคลัง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมกระทรวงแรงงาน สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย แพทยสภา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อเสนอแนะดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

          ข้อเท็จจริง

          สธ. ได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามข้อ 2 แล้ว โดยมีความเห็นสอดคล้องกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา และได้มีความเห็นเพิ่มเติมโดยสรุปได้ ดังนี้

 

ข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ

 

ผลการพิจารณา

1. ข้อเสนอทิศทางการพัฒนาและนโยบาย

        ควรกำหนดทิศทางการพัฒนาระบบการดูแลแบบประดับประคองและการแสดงเจตนาไม่รับการรักษาพยาบาลในระยะสุดท้ายของชีวิต เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะระยะสุดท้ายของชีวิตสำหรับประเทศไทยและจัดทำนโยบายแห่งชาติว่าด้วยการสร้างเสริมสุขภาวะระยะสุดท้ายของชีวิต รวมทั้งแผนมาตรการและแนวทางการพัฒนาครอบคลุมทุกมิติให้ชัดเจนและเป็นระบบ เพื่อให้หน่วยงานและองค์กรภาคีทุกภาคส่วนใช้เป็นเครื่องมือพัฒนางานสร้างเสริมสุขภาวะระยะสุดท้ายของชีวิตร่วมกัน

 

- เห็นด้วยกับการกำหนดทิศทางการพัฒนาระบบการดูแลแบบประคับประคองและการแสดงเจตนาไม่รับการรักษาพยาบาลในระยะสุดท้ายของชีวิต โดยใช้การพัฒนาระบบการดูแลแบบประคับประคองในโรงพยาบาล (Hospital - Based) เป็นฐานการส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดระบบการดูแลแบบประคับประคองในชุมชน (Community Based) และการจัดทำนโยบายระดับชาติที่ส่งเสริมให้หน่วยงาน องค์กรภาคประชาสังคม องค์กรทางศาสนา และอื่นๆ รวมทั้งชุมชนและท้องถิ่นพัฒนาระบบการดูแลแบบประคับประคองได้เองโดยสร้างความเชื่อมโยง การส่งต่อ การส่งเสริมการพัฒนามาตรฐาน การพัฒนาบุคลากรและอื่นๆ ในรูปของเครือข่ายสหสาขา เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ทั้งมิติด้านการแพทย์ ด้านจิตใจ จิตวิญญาณ และสังคมอย่างเป็นองค์รวม สธ. ตระหนักถึงความสำคัญและมีการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่องแต่ยังไม่ครอบคลุมทั่วถึงและเป็นมาตรฐานเดียวกันการมีนโยบายและการกำหนดทิศทางที่ชัดเจนจะทำให้หน่วยงาน องค์กรภาคประชาสังคม องค์กรทางศาสนา และอื่นๆ รวมทั้งชุมชนและท้องถิ่นมีแนวทางการปฏิบัติที่สอดรับและสอดคล้องกับเป้าหมายได้ครอบคลุมทุกมิติ

2. การพัฒนาระบบการดูแลแบบประดับประคองในโรงพยาบาล (Hospital - Based Palliative Care)

        ควรสนับสนุนการนำนโยบายและแผนไปสู่การปฏิบัติในการจัดให้มีระบบการดูแลแบบประคับประคองในโรงพยาบาลทุกสังกัด ให้มีการจัดตั้งหน่วยบริการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care Unit) มีทีมดูแลแบบสหวิชาชีพ และควรส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาบริการสุขภาพปฐมภูมิเพื่อให้บริการการแพทย์และสาธารณสุขในชุมชนอย่างเป็นองค์รวม

 

- เห็นด้วยกับการพัฒนาระบบการดูแลแบบประคับประคองในโรงพยาบาล (Hospital-Based Palliative Care) ซึ่ง สธ. มีนโยบายสถานชีวาภิบาลรองรับผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิงติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแบบประคับประคอง เป็นการดูแลต่อเนื่องตั้งแต่ระยะแรกจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต รวมถึงการดูแลผู้ป่วยแบบ Hospital at Home/Home Ward ด้วยการดูแลอย่างเป็นระบบ ดูแลผู้สูงอายุให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด ครอบคลุม 4 มิติ (กาย จิตใจอารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณ) คุ้มครองผู้ใช้บริการให้มีความปลอดภัย เข้าถึงยาและเวชภัณฑ์ที่มีความจำเป็นในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชีวิตอย่างเพียงพอ อีกทั้งมี caregiver care manager ทีมสหวิชาชีพ จิตอาสาในการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย

3. ปลดล็อกข้อจำกัดการเข้าถึงยาจำเป็นสำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้าย

        ควรพัฒนากฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาแก้ปวดกลุ่ม Opioids เพื่อให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายเข้าถึงยาจำเป็น ยืดหยุ่นให้มีการยืมยาเหล่านี้ระหว่างโรงพยาบาลและสถานพยาบาลระดับต่างๆ โดยนำระบบและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมมาใช้ในการจัดการยาเหล่านี้อย่างเป็นระบบ รวมทั้ง สร้างทัศนคติที่ถูกต้องต่อการใช้ยากลุ่ม Opioids ของทั้งบุคลากรด้านสุขภาพและประชาชน

 

- เห็นด้วยกับการปลดล็อกข้อจำกัดการเข้าถึงยาจำเป็นสำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้าย โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา อยู่ในระหว่างดำเนินการจัดทำกฎกระทรวง เพื่อให้สอดคล้องกับประมวลกฎหมายยาเสพติด .. 2564 โดยได้มีกระบวนการรับฟังความเห็นผู้ปฏิบัติงานด้านการดูแลแบบประคับประคองเพื่อแก้ไขประเด็นปัญหาจากกฎกระทรวงเดิม ซึ่งจะช่วยให้ระบบบริหารจัดการยามีความคล่องตัวมากขึ้นรวมทั้งสร้างระบบการบริหารจัดการยาโดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการควบคุมยากลุ่ม Opioids

4. การพัฒนารูปแบบการบริหารด้านการเงิน รองรับการดูแลแบบประคับประคอง

        ควรศึกษาวิเคราะห์และพัฒนารูปแบบการบริหารด้านการเงินและขุดสิทธิประโยชน์ให้ผู้ที่อยู่ในระบบหลักประกันต่างๆ ได้เข้าถึงการดูแลแบบประคับประคองในโรงพยาบาล รวมทั้งการเข้ารับบริการในชุมชนเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการบริการดูแลแบบประคับประคองที่ใกล้บ้านใกล้ใจในราคาที่ประหยัดกว่าการรับบริการในโรงพยาบาล

 

- เห็นด้วยกับการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการด้านการเงิน การพัฒนาระบบหลักประกันต่างๆ เพื่อการเข้าถึงการดูแลแบบประคับประคองซึ่งในปัจจุบันระบบสวัสดิการ 3 กองทุน (สิทธิราชการ (สิทธิประกันสังคม สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า) ยังมีความเหลื่อมล้ำทางสิทธิการรักษาพยาบาลเนื่องจากสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลของทางราชการและสิทธิประกันสังคมไม่มีสิทธิประโยชน์การดูแลแบบประคับประคองนอกโรงพยาบาล จึงมีความจำเป็นจะต้องพัฒนาและจัดระบบการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยระยะสุดท้ายขึ้น โดยใช้พื้นฐานการดูแลแบบประคับประคอง เพื่อเป็นแนวทางในการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของภาครัฐและของครัวเรือน

5.การพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพและบุคลากรอื่น การพัฒนามาตรฐานงานและการพัฒนาวิชาการที่เกี่ยวข้อง

        ควรพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านสุขภาพทุกสาขาที่เกี่ยวข้องกับการดูแลแบบประคับประคองในเรื่องการวางแผนการดูแลล่วงหน้าและการแสดงเจตนาในวาระสุดท้ายของชีวิต ผลักดันให้สถานศึกษาด้านสุขภาพทุกระดับจัดให้มีการเรียนการสอนในเรื่องการสร้างเสริมสุขภาวะระยะสุดท้ายของชีวิตทั้งก่อนและหลังการศึกษาในระดับอุดมศึกษาและส่งสริมการวิจัยเกี่ยวกับการดูแลแบบประคับประคอง การดำเนินการตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ .. 2550 รวมถึงการวิจัยและพัฒนาระบบบริการ ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

- เห็นด้วยกับการพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพทุกสาขาที่เกี่ยวข้องกับการดูแลแบบประคับประคองให้มีความรู้ความเข้าใจให้ถูกต้องในเรื่องการจัดระบบบริการการดูแลแบบประคับประคอง (Paliative Care) และการทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข (Living Will) ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ .. 2550 รวมถึงการพัฒนาเส้นทางความก้าวหน้าในการทำงานและการสร้างเสริมขวัญกำลังใจที่เหมาะสม ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรที่ไม่ใช่บุคลากรด้านสุขภาพ ที่ทำงานเกี่ยวกับการดูแลแบบประคับประคอง ในสถานรับดูแลต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ผู้อภิบาลผู้สูงอายุ ผู้ให้คำแนะนำปรึกษา อาสาสมัคร เพื่อให้ระบบการดูแลแบบประคับประคอง มีบุคลากรที่มีศักยภาพ มีความรู้ความสามารถ และขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน

6. การส่งเสริมองค์กรนอกภาคสุขภาพจัดบริการดูแลแบบประคับประคองระยะสุดท้ายของชีวิตในชุมชน

        ภาครัฐควรมีนโยบายที่ชัดเจนในการส่งเสริมสนับสนุนให้องค์กรภาคประชาสังคม องค์กรทางศาสนา และองค์กรอื่นๆ เข้ามาร่วมจัดบริการดูแลแบบประคับประคองในรูปแบบต่างๆ ที่เหมาะสม

 

- เห็นด้วยกับการส่งเสริมองค์กรนอกภาคสุขภาพจัดบริการดูแลแบบประคับประคองระยะสุดท้ายของชีวิตในชุมชนโดยหนึ่งในนโยบายด้านการสร้างคุณภาพชีวิต ซึ่งคณะรัฐมนตรี โดยนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีได้แถลงต่อรัฐสภา คือ การสร้างและพัฒนาระบบสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินและโรคอุบัติใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยได้กำหนดให้มีสถานชีวาภิบาลประจำท้องถิ่นเพื่อดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ซึ่งไม่ว่าจะเป็นกระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ องค์กรพระพุทธศาสนา ภาคประชาสังคม องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไรสามารถเข้ามาร่วมบริการดูแลแบบประคับประคองในรูปแบบ ต่างๆ ที่เหมาะสม โดยมาตรฐานด้านสถานที่ ความปลอดภัย การบริการ และบุคลากร เป็นไปตามหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการกำกับ ดูแล

7. การพัฒนาการสื่อสาร การรับรู้ การเรียนรู้ และสร้างความร่วมมือทางสังคม

        ควรส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาการสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้ และการเรียนรู้ร่วมกันในสังคมและส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาเครื่องมือและยุทธศาสตร์การสื่อสารสมัยใหม่ นำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยสร้างการสื่อสารทางสังคมอย่างหลากหลายและให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

- เห็นด้วยกับส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาการสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้และการเรียนรู้ร่วมกันในสังคมเนื่องจากประชาชนยังขาดความรู้ ความเข้าใจเรื่อง สิทธิการตายตามธรรมชาติ สิทธิการตายดี และการทำหนังสือแสดงเจตนาฯ เพื่อเข้าถึงสิทธิการตายดี สิทธิการตายดีตามเจตนารมณ์มาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ .. 2550 รวมทั้งขาดความมั่นใจในการได้รับการปฏิบัติ ตามที่ได้แสดงเจตนาฯ ไว้ ประกอบกับวัฒนธรรมและความเชื่อ รวมทั้งสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่งผลกระทบต่อทัศนคติและแนวทางปฏิบัติของประชาชน การพัฒนาเครื่องมือและยุทธศาสตร์เพื่อการสื่อสารสมัยใหม่จะเข้ามาช่วยสร้างการสื่อสาร ทางสังคมได้หลากหลาย และมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มเข้าถึงการรับรู้ เรียนรู้ เกิดความร่วมมือ ทางสังคม ได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

8. สานพลังขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะระยะสุดท้ายของชีวิตที่เป็นองค์รวม

        ควรประสานงานเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยและพัฒนารูปแบบการจัดบริการดูแลแบบประคับประคองการดำเนินการตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ .. 2550 การสร้างเสริมสุขภาวะระยะสุดท้ายของชีวิตด้วย (Model Development)

 

- เห็นด้วยกับการสานพลังขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะระยะสุดท้ายของชีวิตที่เป็นองค์รวม โดยส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยและพัฒนารูปแบบการจัดบริการดูแลแบบประกับประคอง พัฒนาสิทธิด้านสุขภาพ ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติ สุขภาพแห่งชาติ .. 2550 ควบคู่ไปกับการพัฒนาการดูแล แบบประคับประคองในรูปแบบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง สนับสนุนกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานของทุกภาคส่วนในสังคม พัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนตามหลัก สิทธิมนุษยชน หลักความเสมอภาค หลักความยั่งยืน และหลักภูมิคุ้มกันต่อวิกฤต ด้วยการพัฒนาที่ไม่ทิ้ง ใครไว้ข้างหลัง (Leaving no one behind)

9. การสนับสนุนการพัฒนาอื่นๆ

        ควรให้ความสำคัญต่อการพัฒนาระบบการดูแลเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะระยะสุดท้ายของชีวิตไว้ในงานด้านกิจการผู้สูงอายุและการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์แผนงานและโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

- ส่งเสริมให้ทุกหน่วยงานตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องสนับสนุนการพัฒนาระบบการดูแลเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะระยะสุดท้ายของชีวิตทั้งการกำหนดนโยบายของหน่วยงานการเพิ่มสิทธิและจัดสวัสดิการที่สนับสนุนการดูแลบุคคลในครอบครัวที่อยู่ในภาวะระยะสุดท้ายของชีวิต รวมทั้งสนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายในการดูแลแบบประคับประคองทั้งจากสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สิทธิประกันสังคม และสิทธิข้าราชการ รวมทั้งสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เพื่อเป็นทางเลือกและเสริมสิทธิการเข้าถึงการดูแลแบบประคับประคอง

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 26 มีนาคม 2567

 

 

3933

Click Donate Support Web 

SME 720x100 66

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C J

MTL 720x100

QIC 720x100

AXA 720 x100aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

SME 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

gen 720x100

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!