ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 13/2566
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Wednesday, 13 March 2024 00:40
- Hits: 7436
ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 13/2566
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คกง.) ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) ในคราวประชุมครั้งที่ 13/2566 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2566 ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ เสนอดังนี้
1. อนุมัติให้กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ กรณีโครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) สำหรับบริการประชากรในประเทศไทยจำนวน 60,000,000 โดส (AstraZeneca) ปี พ.ศ. 2565 (โครงการจัดหาวัคซีนฯ AZ) โดยเปลี่ยนแปลงรายละเอียดรายการวัคซีน AstraZeneca ที่ยังไม่ได้รับการส่งมอบ จำนวน 19,074,400 โดส เป็นการจัดซื้อภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปหรือแอนติบอดี้ออกฤทธิ์ยาว (Long - acting antibody : LAAB)1 รุ่นใหม่ จำนวน 36,000 โดส ส่งผลให้กรอบวงเงินโครงการฯ ลดลงจาก 18,382.4643 ล้านบาท เป็น 13,634.8712 ล้านบาท หรือลดลงจำนวน 4,747.5931 ล้านบาท ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
2. มอบหมายให้ สธ. กำกับให้กรมควบคุมโรค เร่งประสานกับบริษัท AstraZeneca (ประเทศไทย) จำกัด (บริษัท AstraZeneca) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียน2 เพื่อให้สามารถดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีไว้ภายในเดือนมีนาคม 2567 และให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการ LAAB ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
3. อนุมัติให้จังหวัดกระบี่ เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ปี 2565 (โครงการพัฒนาและส่งเสริมความเข้มแข็งฯ ปี 2565) โดยขยายระยะเวลาดำเนินโครงการปรับภูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยวหาดอ่าวนางและหาดนพรัตน์ธารา ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ วงเงิน 5.4000 ล้านบาท จากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2565 เป็นเดือนธันวาคม 2566 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
4. มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการตามข้อ 1. และ 3. เร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (Electronic Monitoring and Evaluation System of National Strategy and Country Reform : eMENSCR) (ระบบ eMENSCR) ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโดยเร็ว
5. รับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ราย 3 เดือน ครั้งที่ 9 (1 สิงหาคม - 31 ตุลาคม 2566) พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามข้อเสนอแนะของ คกง. ตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
สาระสำคัญของเรื่อง
เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะประธาน คกง. ได้รายงานผลการพิจารณาของ คกง. ภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 13/2566 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2566 โดยมีมติ ดังนี้
1. เห็นชอบการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการกรณีโครงการจัดหาวัคซีนฯ AZ ของกรมควบคุมโรค สธ. โดยเปลี่ยนแปลงรายละเอียดรายการวัคซีนฯ AZ ที่ยังไม่ได้รับการส่งมอบเป็นการจัดซื้อภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปหรือ LAAB รุ่นใหม่3 ซึ่งจะใช้เชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่เป็นสารตั้งต้นในการผลิต เพื่อให้สามารถสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคโควิด 19 ที่แพร่ระบาดในปัจจุบันได้ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
รายการ |
มติคณะรัฐมนตรี (เดิม) |
สธ. ขอเปลี่ยนแปลง (ครั้งนี้) |
ประเภทวัคซีน |
จัดหาวัคซีนฯ AZ |
จัดซื้อภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปหรือ LAAB |
จำนวนวัคซีน |
19.0744 ล้านโดส |
36,000 โดส |
กรอบวงเงิน (ล้านบาท) |
18,382.4643 |
13,634.8712 |
ทั้งนี้ ให้ สธ. กำกับกรมควบคุมโรค เร่งประสานกับบริษัท AstraZeneca และ อย. เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียน เพื่อให้สามารถดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีไว้ภายในเดือนมีนาคม 2567 และให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการ LAAB ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามผลการพิจารณาของ คกง. เห็นควรมอบหมายให้กรมควบคุมโรคเร่งปรับปรุงรายละเอียดของโครงการในระบบ eMENSCR ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว
2. เห็นชอบการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ กรณีโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งฯ ปี 2565 ของกระทรวงมหาดไทย (มท.) จำนวน 1 จังหวัด (จังหวัดกระบี่) รวม 1 โครงการ (โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยวหาดอ่าวนางและหาดนพรัตน์ธารา ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่) กรอบวงเงิน 5.4000 ล้านบาท โดยขอขยายระยะเวลาสิ้นสุดโครงการ จากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2565 เป็นเดือนธันวาคม 25664 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว และให้จังหวัดกระบี่เร่งปรับปรุงรายละเอียดของโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งฯ ปี 2565 ในระบบ eMENSCR และเบิกจ่ายเงินให้แล้วเสร็จตามกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ ปัจจุบันโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งฯ ปี 2565 ดำเนินการเสร็จแล้ว คงเหลือการเบิกจ่ายเงินตามขั้นตอน
3. เห็นชอบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ราย 3 เดือน ครั้งที่ 9 (1 สิงหาคม - 31 ตุลาคม 2566) โดยมีรายละเอียด ดังนี้
รายการ |
จำนวนโครงการ |
วงเงิน (ล้านบาท) |
ร้อยละ |
|
ใช้จริง/อนุมัติ |
เบิกจ่าย |
|||
1. โครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จ |
2,303 |
461,678.76 |
444,179.75 |
96.21 |
2. โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ |
39 |
37,775.52 |
29,641.74 |
78.46 |
2.1 โครงการของส่วนราชการ* |
5 |
37,604.45 |
29,537.44 |
78.55 |
2.2 โครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ปี 2565 ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ |
34 |
171.07 |
104.30 |
60.97 |
หมายเหตุ * 1. โครงการที่มีความก้าวหน้าการเบิกจ่ายมากกว่าร้อยละ 90 จำนวน 1 โครงการ: โครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) สำหรับบริการประชากรในประเทศไทย จำนวน 30,002,310 โดส (Pfizer) ปี พ.ศ. 2565 ของกรมควบคุมโรค 2. โครงการที่มีความก้าวหน้าการเบิกจ่ายต่ำกว่าร้อยละ 90 จำนวน 4 โครงการ: (1) โครงการวิจัยและพัฒนาวัคซีนโควิด 19 ChulaCov 19 เพื่อทำการทดสอบทางคลินิกระยะที่ 3 และการผลิตเพื่อขึ้นทะเบียนวัคซีนเพื่อใช้ในภาวะฉุกเฉิน ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2) โครงการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติ การวิจัยและทดสอบวัคซีนและเภสัชภัณฑ์ในลิงมาร์โมเส็ท ของสถาบันวัคซีนแห่งชาติ (2-A019) (3) โครงการศึกษาความปลอดภัย (Safety) ความสามารถในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (Immunogenicity) และประสิทธิภาพ (Vaccine Efficiency) ของแคนดิเดตซับยูนิต วัคซีนสำหรับป้องกันโรคโควิด 19 ที่ใช้พืชเป็นแหล่งผลิตในมนุษย์ระยะ 2A โดยบริษัท ใบยาไฟโตฟาร์มจำกัดของสถาบันวัคซีนแห่งชาติ และ (4) โครงการจัดหาวัคซีนฯ AZ |
ทั้งนี้ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามข้อเสนอแนะของ คกง. ตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด ดังนี้
3.1 กรณีโครงการแล้วเสร็จ ให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการเร่งดำเนินการคืนวงเงินเหลือจ่าย พร้อมทั้งตรวจสอบความถูกต้องของการเบิกจ่ายให้ครบถ้วนก่อนจัดส่งรายงานผลสำเร็จของโครงการให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) โดยเร็วตามขั้นตอนข้อ 21 และ 22 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมินตรีว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไว้รัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564)
3.2 กรณีโครงการของส่วนราชการและโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งฯ ปี 2565 ที่มีสถานะอยู่ระหว่างดำเนินการ ให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการ เร่งดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามแผนการดำเนินโครงการให้ทันกรอบระยะเวลาสิ้นสุดโครงการตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี อย่างไรก็ตามในกรณีที่หน่วยงานรับผิดชอบพิจารณาแล้วเห็นว่าการดำเนินโครงการมีแนวโน้มที่จะไม่สามารถดำเนินกิจกรรมหรือเบิกจ่ายโครงการได้ตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้เร่งเสนอขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอนของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 โดยเร็ว
________________________
1 LAAB (Long Acting Antibody) คือ แอนติบอดีออกฤทธิ์ยาว สำหรับใช้เพื่อการป้องกันและรักษาโควิด 19 โดยใช้ในกลุ่มผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป และมีน้ำหนักตัวมากกว่า 40 กิโลกรัม ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องและมีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนป้องกันโควิด 19 ได้ไม่เพียงพอจากโรคต่างๆ เช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยล้างไต รวมถึงผู้ที่ไม่สามารถรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ได้ ซึ่ง LAAB มีความแตกต่างจากวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 คือ LAAB เมื่อฉีดเข้าสู่ร่างกายแล้วจะสามารถสร้างภูมิต้านทานได้ทันที ส่วนวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 เมื่อฉีดเข้าสู่ร่างกายแล้วจะไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทาน (ใช้เวลาประมาณ 1 - 2 สัปดาห์) หลังฉีดเข้าร่างกาย
2 การนำเข้า LAAB ที่เสนอในครั้งนี้ เป็นการนำเข้า LAAB รุ่นใหม่ ทำให้จำเป็นต้องมีการขึ้นทะเบียนกับองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (US.FDA) และ อย.
3 การเปลี่ยนแปลงวัคซีนฯ AZ ที่ไม่ได้รับการส่งมอบเป็นการจัดซื้อ LAAB รุ่นใหม่ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ในปัจจุบันมีแน้วโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องและโรคโควิด 19 มีแนวโน้มไม่รุนแรง
4 ปัจจุบันโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งฯ ปี 2565 ดำเนินการเสร็จแล้ว แต่ต้องขอขยายระยะเวลาสิ้นสุดโครงการเพื่อให้สามารถเบิกจ่ายเงินตามขั้นตอนต่อไปได้
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายสมศักดิ์ เทพสุทิน (รองนายกรัฐมนตรี) 12 มีนาคม 2567
3482