WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การจัดทำข้อสงวนเพื่อเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ (International Convention for the Protection of all Persons from Enforced Disappearance: ICPPED)

Gov สมศักดิ์03

การจัดทำข้อสงวนเพื่อเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ (International Convention for the Protection of all Persons from Enforced Disappearance: ICPPED)

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ ดังนี้

          1. เห็นชอบต่อการจัดทำข้อสงวนในข้อบทที่ 42 (การนำข้อพิพาทระหว่างรัฐเข้าสู่การพิจารณาโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ) เพื่อเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ (อนุสัญญาฯ) 

          2. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จัดทำข้อสงวนในข้อบทที่ 42 เพื่อประกอบการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ต่อไป

          เรื่องเดิม

          1. คณะรัฐมนตรีมีมติ (4 ตุลาคม 2554) เห็นชอบให้ไทยลงนามในอนุสัญญาฯ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดให้การทำให้บุคคลหายสาบสูญโดยถูกบังคับ เช่น การจับกุม คุมขัง ลักพาตัว เป็นฐานความผิดตามกฎหมายอาญา (เป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐหรือบุคคล หรือกลุ่มบุคคลซึ่งกระทำการโดยได้รับการอนุญาต การสนับสนุนหรือการยอมรับโดยปริยายของรัฐ) รวมทั้งกำหนดโทษของความผิดดังกล่าว โดยรัฐจะต้องกำหนดให้ตนมีเขตอำนาจศาลเหนือความผิดฐานกระทำให้บุคคลหายสาบสูญโดยถูกบังคับถึงแม้ว่าบุคคลที่หายสาบสูญหรือบุคคลที่ประกอบอาชญากรรมดังกล่าวจะไม่ใช่คนชาติของตนและการทำให้หายสาบสูญก็มิได้เกิดขึ้นในดินแดนของรัฐตน รวมทั้งกำหนดให้รัฐมีหน้าที่ปฏิบัติอย่างเป็นธรรมและจัดให้เหยื่อและสมาชิกในครอบครัวได้รับการเยียวยาและชดเชยอย่างเหมาะสมและมอบหมายให้ กต. ดำเนินการลงนามในอนุสัญญาดังกล่าวต่อองค์การสหประชาชาติซึ่งได้ไทยลงนามแล้วเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2555

          2. คณะรัฐมนตรีมีมติ (24 พฤษภาคม 2559) เห็นชอบการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ และให้เสนออนุสัญญาฯ ให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ซึ่งต่อมาในคราวประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ 16/2560 (10 มีนาคม 2560) ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้ไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ เมื่อมีกฎหมายภายในรองรับครบถ้วนแล้ว ทั้งนี้ ปัจจุบันไทยมีพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 25651 (พระราชบัญญัติป้องกันฯ) ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2565 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 โดยเป็นกฎหมายที่รองรับการดำเนินการตามอนุสัญญาฯ และอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี ดังนั้น ไทยจึงสามารถเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ตามมติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้

          สาระสำคัญของเรื่อง

          ยธ. รายงานว่า

          1. ภายหลังจากที่ไทยได้มีกฎหมายรองรับการดำเนินงานตามอนุสัญญาฯ ได้มีการประชุมเพื่อพิจารณาจัดทำข้อสงวน2 และคำแถลงตีความต่ออนุสัญญาฯ สำหรับการเตรียมการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ได้แก่ (1) การประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ครั้งที่ 1/2559 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2559 (ปลัดกระทรวงยุติธรรมเป็นประธาน และ (2) การประชุมร่วมกันระหว่าง ยธ. (กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กต. กระทรวงกลาโหม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด เมื่อวันอังคารที่ 18 กรกฎาคม 2566 (รองอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพเป็นประธาน) ซึ่งที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้ไทยดำเนินการ ดังนี้

              1.1 จัดทำข้อสงวนตามข้อบทที่ 42 (การนำข้อพิพาทระหว่างรัฐเข้าสู่การพิจารณาโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ)

              1.2 ไม่ประกาศยอมรับอำนาจของคณะกรรมการว่าด้วยการบังคับให้หายสาบสูญ ตามข้อบทที่ 31 และข้อบทที่ 32 (การรับและพิจารณาคำร้องเรียนจากปัจเจกบุคคลที่อยู่ภายใต้อำนาจของรัฐภาคีและจากรัฐภาคีหนึ่งที่กล่าวอ้างอีกรัฐภาคีหนึ่งว่าไม่ได้ปฏิบัติตามอนุสัญญาฯ) เพื่อให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันกับการตั้งข้อสงวนต่อสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศฉบับอื่นๆ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

 

ข้อบทและสาระสำคัญ

 

เหตุผลในการจัดทำข้อสงวน

1. ข้อบทที่ 42 (การนำข้อพิพาทระหว่างรัฐเข้าสู่การพิจารณาโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ)

          หากเกิดข้อพิพาทระหว่างรัฐภาคี 2 รัฐขึ้นไปเกี่ยวกับการตีความและการนำอนุสัญญาฯ ไปปฏิบัติ ซึ่งไม่สามารถยุติได้ด้วยการเจรจารัฐฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจยื่นข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ แต่หากภายใน 6 เดือน ไม่สามารถตกลงกันได้ รัฐฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจจะยื่นเรื่องข้อพิพาทดังกล่าวต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้ ทั้งนี้ ในขณะที่ลงนามหรือให้สัตยาบัน รัฐภาคีสามารถประกาศว่าจะไม่ผูกพันตามข้อบทที่ 42 ได้ และจะเพิกถอนคำประกาศนั้นเมื่อใดก็ได้ โดยแจ้งต่อเลขาธิการสหประชาชาติ

 

          เพื่อไม่ให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ มีเขตอำนาจเหนืออำนาจอธิปไตยของไทย ส่งผลให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศไม่สามารถก้าวล่วงมาตัดสินชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างไทยกับรัฐภาคีอื่นได้ ซึ่งข้อพิพาทนั้นๆ อาจเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของประเทศ ดังนั้น ไทยจึงควรจัดทำข้อสงวนต่อข้อบทดังกล่าวไว้ ดังเช่นที่ได้จัดทำไว้ในอนุสัญญาสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศฉบับอื่นๆ 3 (ในทางปฏิบัติ รัฐภาคีหลายประเทศได้จัดทำข้อสงวนต่อข้อบทดังกล่าวไว้เช่นกัน)

 

              สำหรับข้อบทที่ 31 และข้อบทที่ 32 (การรับและพิจารณาคำร้องเรียนจากปัจเจกบุคคลที่อยู่ภายใต้อำนาจของรัฐภาคีและจากรัฐภาคีหนึ่งที่กล่าวอ้างอีกรัฐภาคีหนึ่งว่าไม่ได้ปฏิบัติตามอนุสัญญาฯ) ที่ประชุมได้มีความเห็นว่า ไทยไม่จำเป็นต้องจัดทำข้อสงวน เนื่องจากถ้อยความในข้อบทดังกล่าวระบุไว้อย่างชัดเจนว่า รัฐภาคีจะต้องประกาศยอมรับอำนาจของคณะกรรมการว่าด้วยการบังคับให้หายสาบสูญก่อน คณะกรรมการว่าด้วยการบังคับให้หายสาบสูญจึงจะมีอำนาจในการพิจารณาคำร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับรัฐภาคีนั้นๆ ซึ่งภายหลังการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ หากไทยยังไม่ประกาศยอมรับอำนาจของคณะกรรมการว่าด้วยการบังคับให้หายสาบสูญ ข้อบทดังกล่าวก็จะไม่ผูกพันไทย (ในทางปฏิบัติรัฐภาคีหลายประเทศไม่ได้ประกาศยอมรับอำนาจของคณะกรรมการดังกล่าวเช่นกัน)

          2. การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ จะเป็นประโยชน์แก่ไทย ดังนี้

              2.1 ส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของไทย โดยแสดงให้เห็นว่า ไทยมีเจตนารมณ์และความตั้งใจจริงที่จะเคารพสิทธิมนุษยชนเทียบเท่ากับระดับสากลอันจะช่วยทำให้ประเทศไทยได้รับการยอมรับและความเชื่อถือจากประชาคมระหว่างประเทศ

              2.2 ยกระดับกระบวนการยุติธรรม สร้างหลักประกันว่าจะไม่มีการงดเว้นโทษต่อผู้กระทำความผิด การดำเนินคดีเป็นไปด้วยความโปร่งใส.สอดคล้องกับหลักนิติธรรม

              2.3 ทำให้ประชาชนได้รับความคุ้มครอง สร้างความมั่นใจให้กับประชาชนว่าการลิดรอนเสรีภาพทั้งปวงจากรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐจะกระทำมิได้ ส่งผลให้สังคมมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

              2.4 เป็นหนึ่งในผลสำเร็จของรัฐบาลไทยที่สามารถนำเสนอในการประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (ระดับสูง) [Human Rights Council (High Level Panel)] ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม 2567 ตลอดจนช่วยสนับสนุนให้ไทยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติในปี 2567 ได้ด้วย

_________________________

1 พระราชบัญญัติป้องกันฯ ได้กำหนดฐานความผิดสำหรับการกระทำทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายไว้เป็นการเฉพาะ รวมทั้งได้กำหนดหน่วยงานรับผิดชอบหลัก ตลอดจนมาตรการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอนุสัญญาทั้งสองฉบับ เช่น มาตรการป้องกันและปราบปราม มาตรการเยียวยาผู้เสียหาย เป็นต้น

2 ก่อนการเข้าเป็นภาคีของอนุสัญญาฉบับใดก็ตาม รัฐที่จะเข้าเป็นภาคีสามารถตั้งข้อสงวน (Reservation) เพื่อยกเว้นความผูกพันบางข้อบทของอนุสัญญานั้นได้ ทั้งนี้ ประเด็นที่ตั้งข้อสงวนจะต้องไม่ขัดหรือแย้งกับวัตถุประสงค์และความมุ่งหมายหลักของอนุสัญญา

3 ไทยได้จัดทำข้อสงวนในประเด็นการไม่รับอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศไว้ในอนุสัญญาระหว่างประเทศฉบับอื่นๆ อีกจำนวน 3 ฉบับ ได้แก่

     (1) อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Women : CEDAW) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (14 พฤษภาคม 2528) อนุมัติให้ไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ และให้ตั้งข้อสงวนในข้อบทที่ 29 (การนำข้อพิพาทระหว่างรัฐเข้าสู่การพิจารณาโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ) ก่อนการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ (ไทยได้เข้าเป็นภาคีด้วยการภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2528)

     (2) อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (International Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination : ICERD) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (26 พฤศจิกายน 2545) เห็นชอบให้ไทยตั้งข้อสงวนในข้อบทที่ 22 (การให้นำข้อพิพาทเกี่ยวกับการตีความหรือการนำอนุสัญญาฯ ไปใช้ ขึ้นสู่การวินิจฉัยขี้ขาดของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้หากคู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอ) ก่อนการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ (ไทยได้เข้าเป็นภาคีด้วยการภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2546)

     (3) อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment : CAT) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (7 สิงหาคม 2550) เห็นชอบให้ไทยจัดทำข้อสงวนในข้อบทที่ 30 (การยื่นข้อพิพาทเกี่ยวกับการตีความ/การบังคับใช้อนุสัญญาไปยังศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ) ก่อนการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ (ไทยได้เข้าเป็นภาคีด้วยการภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2550)

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายสมศักดิ์ เทพสุทิน (รองนายกรัฐมนตรี) 12 มีนาคม 2567

 

 

3479

Click Donate Support Web 

SME 720x100 66

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C J

MTL 720x100

QIC 720x100

AXA 720 x100aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

SME 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

gen 720x100

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!