WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การเปิดตลาดสินค้าเกษตรตามกรอบความตกลงองค์การการค้าโลก (WTO) ปี 2567 - 2569

Gov 31

 

 

การเปิดตลาดสินค้าเกษตรตามกรอบความตกลงองค์การการค้าโลก (WTO) ปี 2567 - 2569

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการการเปิดตลาดสินค้าเกษตรตามกรอบความตกลงองค์การการค้าโลก1 [World Trade Organization (WTO)] โดยให้เปิดตลาด 1 ปี (ปี 2567) สินค้าเมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่ หอมหัวใหญ่ หัวพันธุ์มันฝรั่ง และหัวมันฝรั่งสดเพื่อแปรรูป ตามที่คณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ (คณะกรรมการนโยบายและแผนฯ) เสนอ ดังนี้

 

ชนิดสินค้าเกษตร

ปริมาณโควตา (ตันต่อปี)

อัตราภาษี

1. เมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่

3.15

- ในโควตาร้อยละ 0

- นอกโควตาร้อยละ 218

2. หอมหัวใหญ่ (แห้งเป็นผง และไม่เป็นผง)

1,256.50

- ในโควตาร้อยละ 27

- นอกโควตาร้อยละ 142

3. หัวพันธุ์มันฝรั่ง

ไม่จำกัดจำนวน

- ในโควตาร้อยละ 0

- นอกโควตาร้อยละ 125

4. หัวมันฝรั่งสดเพื่อแปรรูป

ปี 2567 จำนวน 75,500

- ในโควตาร้อยละ 27

- นอกโควตาร้อยละ 125

 

          และให้คณะกรรมการฯ รับไปพิจารณาหารือเรื่องความเหมาะสม ราคา ช่วงระยะเวลาการนำเข้าไม่ให้กระทบกับการผลิตสินค้าของไทย

          ทั้งนี้ การบริหารการนำเข้าเมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่ หอมหัวใหญ่ หัวพันธุ์มันฝรั่ง และหัวมันฝรั่งสดเพื่อแปรรูป ให้อยู่ภายใต้เงื่อนไขและการกำกับดูแลของคณะอนุกรรมการจัดการการผลิตและการตลาดกระเทียม หอมแดง หอมหัวใหญ่ และมันฝรั่ง (คณะอนุกรรมการ) 

          สาระสำคัญของเรื่อง

          คณะกรรมการนโยบายและแผนฯ รายงานว่า

          1. คณะกรรมการนโยบายและแผนฯ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน) ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2566 มีมติเห็นชอบการเปิดตลาดสินค้าเกษตรตามกรอบความตกลง WTO ปี 2567 - 2569 จำนวน 4 รายการ ได้แก่ สินค้าเมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่ หอมหัวใหญ่ หัวพันธุ์มันฝรั่งและหัวมันฝรั่งสดเพื่อแปรรูป ซึ่งมีปริมาณโควตาและอัตราภาษีแตกต่างจากที่ผูกพันไว้กับ WTO โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

              1.1 ปริมาณโควตาและอัตราภาษี

 

ชนิดสินค้าเกษตร/รายการ

ที่ผูกพันตามกรอบ WTO2

ที่ขอเปิดตลาดในครั้งนี้

1) เมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่

ปริมาณโควตา (ตันต่อปี)

3.15 

อัตราภาษีในโควตา

ร้อยละ 30

ร้อยละ 01

อัตราภาษีนอกโควตา

ร้อยละ 218

 

2) หอมหัวใหญ่ (แห้งเป็นผงและไม่เป็นผง)

ปริมาณโควตา (ตันต่อปี)

365

1,256.502

อัตราภาษีในโควตา

ร้อยละ 27

อัตราภาษีนอกโควตา

ร้อยละ 142

3) หัวพันธุ์มันฝรั่ง 

ปริมาณโควตา (ตันต่อปี)

302

ไม่จำกัดจำนวน3

อัตราภาษีในโควตา

ร้อยละ 27

ร้อยละ 03

อัตราภาษีในนอกโควตา

ร้อยละ 125

4) หัวมันฝรั่งสดเพื่อแปรรูป

ปริมาณโควตา (ตันต่อปี)

302

ปี 2567 จำนวน 75,500

อัตราภาษีในโควตา

ร้อยละ 27

อัตราภาษีนอกโควตา

ร้อยละ 125 

หมายเหตุ : 1เป็นการขอลดอัตราภาษีในโควตาจากที่ผูกพันไว้ภายใต้กรอบความตกลง WTO เนื่องจากต้องการส่งเสริมให้เกษตรกรมีเมล็ดพันธุ์คุณภาพสูงและราคาถูกเพื่อใช้ในการเพาะปลูกหอมหัวใหญ่สำหรับการบริโภคภายในประเทศและการส่งออกไปยังต่างประเทศ

                2เป็นการขอเพิ่มปริมาณโควตาการนำเข้าจากที่ผูกพันไว้ภายใต้กรอบความตกลง WTO เนื่องจากประเทศไทยไม่สามารถผลิตหอมหัวใหญ่ชนิดหั่นผงและหั่นแห้งได้ และมีความจำเป็นต้องนำเข้าเพราะเป็นส่วนผสมของสินค้าแปรรูป เช่น ผงชูรสในอุตสาหกรรมอาหารซึ่งมีความต้องการบริโภคภายในประเทศและต่างประเทศสูงขึ้น ดังนั้น จึงต้องเพิ่มปริมาณโควตาให้สอดรับกับความต้องการดังกล่าว

                3ปริมาณโควตาและอัตราภาษีในโควตาไม่เป็นไปตามกรอบความตกลงที่ผูกพันไว้กับ WTO เนื่องจากประเทศไทยไม่สามารถผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งได้เพียงพอกับความต้องการของตลาดจึงต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อให้มีหัวพันธุ์มันฝรั่งทันกับฤดูกาลเพาะปลูกของเกษตรกรและมีผลผลิตเพียงพอกับการบริโภคภายในประเทศ รวมทั้งประเทศไทยต้องนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งเพื่อเพาะปลูกทุกปี การไม่เก็บภาษีจึงช่วยลดภาระต้นทุนของเกษตรกรลงได้

 

 

              1.2 การบริหารการนำเข้า

 

ชนิดสินค้าเกษตร

 

การบริหารการนำเข้า

1) เมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่

 

ให้ชุมนุมสหกรณ์ฯ เป็นผู้นำเข้าแต่เพียงผู้เดียว และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะอนุกรรมการฯ

2) หอมหัวใหญ่ (แห้งเป็นผงและไม่เป็นผง)

 

ให้ชุมนุมสหกรณ์ฯ เป็นผู้บริหารการนำเข้า เพื่อจัดสรรให้นิติบุคคลเป็นผู้นำเข้า และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะอนุกรรมการฯ

3) หัวพันธุ์มันฝรั่ง

 

อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ที่คณะอนุกรรมการฯ กำหนด ได้แก่

1) ให้มีการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งปีละ 3 ครั้ง โดยผู้ที่ต้องการจะนำเข้าต้องจัดทำหนังสือและแจ้งความประสงค์มายังสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรภายในระยะเวลาที่กำหนด

2) ให้นิติบุคคลเป็นผู้นำเข้า

3) ให้ผู้นำเข้าทำหนังสือรับรองพื้นที่เพาะปลูกซึ่งมีทะเบียนเกษตรกรและข้อมูลปริมาณหัวพันธุ์มันฝรั่ง โดยมีเกษตรจังหวัดหรือสหกรณ์จังหวัดรับรอง และในกรณีที่บริษัทนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่ง

4) ผู้นำเข้าต้องจำหน่ายหัวพันธุ์มันฝรั่งให้แก่เกษตรกรไม่เกินกิโลกรัมละ 35 บาท และรับซื้อหัวมันฝรั่งสดเพื่อแปรรูปจากเกษตรกร ดังนี้

       - ในช่วงฤดูฝน (กรกฎาคม - ธันวาคม) ราคาไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 14.00 บาท

       - ในช่วงฤดูแล้ง (มกราคม - มิถุนายน) ราคาไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 11.00 บาท

4) หัวมันฝรั่งสดเพื่อแปรรูป

 

อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ที่คณะอนุกรรมการฯ กำหนด ได้แก่

1) ผู้นำเข้าต้องเป็นนิติบุคคล

2) ผู้นำเข้าหรือผู้แทนนำเข้าต้องรับซื้อหัวมันฝรั่งสดเพื่อแปรรูปจากเกษตรกร ดังนี้

       - ในช่วงฤดูฝน (กรกฎาคม - ธันวาคม) ราคาไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 14.00 บาท

       - ในช่วงฤดูแล้ง (มกราคม - มิถุนายน) ราคาไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 11.00 บาท

และมอบหมายคณะอนุกรรมการจัดการฯ พิจารณาราคาประกันขั้นต่ำเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การผลิตและการตลาดในแต่ละปีต่อไป ซึ่งหากตรวจสอบพบว่าผู้นำเข้าหรือผู้แทนผู้นำเข้ามีการรับซื้อในราคาต่ำกว่าที่ระบุไว้ในสัญญาจะมีผลต่อการพิจารณาจัดสรรปริมาณนำเข้าให้แก่ผู้นำเข้าในปีต่อไป

3) ให้มีการนำเข้าในเดือนมกราคม และเดือนกรกฎาคม - ธันวาคมของทุกปี1 โดยการนำเข้าในเดือนมกราคมให้นำเข้าไม่เกินร้อยละ 20 ของปริมาณรวมทั้งหมดที่ได้รับการจัดสรรในโควตาของผู้ประกอบการแต่ละราย

หมายเหตุ : 1ฤดูการเพาะปลูกของมันฝรั่งจะเริ่มในเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม โดยจะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม ดังนั้น การกำหนดให้นำเข้าหัวมันฝรั่งสดเพื่อแปรรูปในเดือนมกราคมและเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม จะเป็นการลดความขาดแคลนของหัวมันฝรั่งสดเพื่อแปรรูปและทำให้อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารมีผลผลิตเพียงพอกับความต้องการของตลาด

 

 

          2. คณะกรรมการนโยบายและแผนฯ ได้มีการวิเคราะห์การเปิดตลาดเมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่ หอมหัวใหญ่ หัวพันธุ์มันฝรั่ง และหัวมันฝรั่งสดเพื่อแปรรูป ตามกรอบความตกลง WTO ปี 2567 - 2569 ภายใต้การกำกับดูแลของคณะอนุกรรมการฯ ว่าเมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่และหอมหัวใหญ่ (ชนิดแห้งเป็นผงและไม่เป็นผง) ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศไทย รวมถึงหัวพันธุ์มันฝรั่งและหัวมันฝรั่งสดเพื่อแปรรูปในประเทศไทยมีปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด ดังนั้น การเปิดตลาดสินค้าเกษตรทั้ง 4 ชนิด ดังกล่าวจึงไม่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ผลิตภายในประเทศ และเป็นการช่วยสนับสนุนให้เกษตรกรได้ใช้เมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่และหัวพันธุ์มันฝรั่งนำเข้าในราคาที่เหมาะสม รวมถึงให้สหกรณ์ซึ่งมีเกษตรกรเป็นสมาชิกมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการด้วย ทั้งนี้ การเปิดตลาดสินค้าเกษตรตามกรอบความตกลง WTO 2567 - 2569 เป็นการดำเนินการตามแนวทางที่เคยปฏิบัติ (มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2547) โดยตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นไป โดยหากสินค้ารายการใดจำเป็นต้องเปิดตลาด และมีปริมาณในโควตา อัตราภาษีในและนอกโควตาแตกต่างจากที่กำหนด [มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2539] ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบทุกรายการเป็นแต่ละครั้งไป

_________________

1 WTO เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่กำกับดูแลการค้าระหว่างประเทศและเป็นเวทีสำคัญในการเจรจาลดอุปสรรคและข้อกีดกันทางการค้า รวมทั้งจัดทำกฎระเบียบเพื่อสนับสนุนให้การค้าระหว่างประเทศมีความเสรีมากขึ้นบนพื้นฐานของการแข่งขันที่เท่าเทียม โดยประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของ WTO ตั้งแต่ปี 2538 และได้ผูกพันสินค้าเกษตรทั้งหมด 23 รายการ (รวมถึงเมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่ หอมหัวใหญ่ และมันฝรั่ง) ไว้ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการเกษตรของ WTO ทั้งนี้ WTO ได้กำหนดมาตรการโควตาอัตราภาษีเพื่อกำกับดูแลการนำเข้า ซึ่งการนำเข้าจะต้องมีหนังสือรับรองจากกระทรวงพาณิชย์เพื่อแสดงการได้รับสิทธิชำระภาษีทั้งในและนอกโควตาตามพันธกรณีความตกลงระหว่างประเทศ

2 ปริมาณโควตาและอัตราภาษีที่ผูกพันภายใต้ WTO ตั้งแต่ปี 2539 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2539 

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 27 กุมภาพันธ์ 2567

 

 

2952

Click Donate Support Web 

SME 720x100 66

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C J

MTL 720x100

QIC 720x100

AXA 720 x100aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

SME 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

gen 720x100

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!