WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ

Gov 43

การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงกลาโหม (กห.) เสนอ ดังนี้

          1. เห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Defence Ministers' Meeting Retreat: ADMM Retreat) (การประชุม ADMM Retreat) จํานวน 1 ฉบับ คือ ร่างแถลงการณ์ร่วมของรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนว่าด้วยผลสำเร็จของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนภายใต้การดำเนินงานตามแผนงานประชาคมการเมืองและความมั่นคง ค.ศ. 2025 (ร่างแถลงการณ์ร่วมฯ) โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ขอให้ กห. ดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก

          2. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์ดังกล่าว

[จะมีการรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ในการประชุม ADMM Retreat ระหว่างวันที่ 4-6 มีนาคม 2567 ณ เมืองหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว)]

          สาระสำคัญของเรื่อง

          กห. รายงานว่า

          1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงป้องกันประเทศ สปป.ลาว ได้มีหนังสือเชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ณ สปป.ลาว ซึ่งในห้วงการประชุมดังกล่าวจะมีรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมฯ เพื่อเป็นการแสดงเจตนารมณ์เชิงนโยบายร่วมกันของประเทศสมาชิกอาเซียน โดยมีประเด็นที่สำคัญ ดังนี้

              1.1 วิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน 2025 แน่วแน่ในการจัดตั้งอาเซียนที่ยึดมั่นในกฎกติกาทำเพื่อประโยชน์ของประชาชน และมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และมี “หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งอัตลักษณ์ หนึ่งประชาคม” เพื่อพัฒนาศักยภาพในการตอบสนองต่อความท้าทายอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างให้เป็นประชาคมที่มองออกไปนอกภูมิภาคในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลก โดยยังรักษาความเป็นแกนกลางของอาเซียนไว้ (ซึ่งวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนด้านการเมืองและความมั่นคง ณ ปัจจุบัน ใกล้จะสิ้นสุดลงในปี 2568 และอยู่ระหว่างการจัดทำวิสัยทัศน์อาเซียน 2045 ซึ่งคาดว่าจะมีการรับรองในปี 2568)

              1.2 ความร่วมมือ ประเทศสมาชิกอาเซียนจะเสริมสร้างความร่วมมือภายใต้การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ส่งเสริมความเป็นแกนกลางของอาเซียนผ่านกลไกการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา ส่งเสริมความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและการมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับมิตรประเทศของอาเซียนและคู่เจรจา

              1.3 การขับเคลื่อน เรียกร้องของประเทศสมาชิกอาเซียนให้เอาชนะความท้าทายร่วมกันและความเป็นหนึ่งของอาเซียน สะท้อนให้เห็นถึงความปรารถนาและเจตนารมณ์ร่วม ที่จะอาศัยอยู่ในภูมิภาคที่มีสันติภาพ ความมั่นคง และเสถียรภาพที่ยืนยง มีการส่งเสริมและดำรงความเป็นสามัคคีและความร่วมมือด้านความมั่นคงร่วมกัน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของแผนงานประชาคมการเมืองและความมั่นคง 2025*

              1.4 มุ่งมั่นที่จะดำเนินการ ดังนี้

                    (1) รักษาบทบาทของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน (ADMM) และ การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา (ADMM-Plus) ในฐานะที่เป็นกลไกความร่วมมือด้านความมั่นคงระดับสูงสุดของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศคู่เจรจา และรับทราบถึงความสนใจของมิตรประเทศอาเซียนและคู่เจรจาในการมีส่วนร่วมในความมั่นคงและเสถียรภาพของภูมิภาค 

                    (2) เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการป้องกันประเทศและการทหาร ผ่านทางกลไกที่มีอยู่เพื่อพัฒนาศักยภาพ สร้างความเข้มแข็ง ยกระดับการทำงานร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก และปฏิบัติตามแผนงานประชาคมการเมืองและความมั่นคง 2025 อย่างเต็มที่

                    (3) มีส่วนร่วมในการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์สำหรับประชาคมการเมืองและความมั่นคงภายใต้วิสัยทัศน์อาเซียน 2045 เพื่อให้สาขาด้านความมั่นคงสามารถรับมือกับประเด็นด้านความมั่นคงที่อุบัติใหม่และในอนาคตได้อย่างทันท่วงที รวมทั้งมีประสิทธิภาพ และเสริมสร้างความเป็นแกนกลางอาเซียน

                    (4) หวังที่จะให้การจัดทำวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน 2045 จะสามารถยกระดับบทบาทของสาขาด้านความมั่นคงในการเสริมสร้างสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงให้เกิดขึ้นในภูมิภาค

          2. ประโยชน์และผลกระทบ

          ร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุม ADMM Retreat เป็นการแสดงเจตนารมณ์เชิงนโยบายร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน โดยผลสำเร็จของการดำเนินงานด้านการป้องกันประเทศภายใต้กรอบ ADMM และ ADMM-Plus เป็นการขับเคลื่อนความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมภายใต้ประชาคมการเมืองและความมั่นคง บนพื้นฐานความเป็นแกนกลางอาเซียนในด้านความมั่นคงในภูมิภาคที่จะช่วยรักษาดุลยภาพทางภูมิรัฐศาสตร์ เสริมสร้างการมีปฏิสัมพันธ์และความไว้เนื้อเชื่อใจกันกับประเทศนอกภูมิภาคอย่างสร้างสรรค์ เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงของภูมิภาคให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน

          3. กห. แจ้งว่า ร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ไม่มีรูปแบบ ถ้อยคำ หรือบริบท ที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ รวมทั้งไม่มีการลงนามในเอกสารดังกล่าว ดังนั้น จึงไม่มีประเด็นต้องพิจารณาเกี่ยวกับมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

          4. กระทรวงการต่างประเทศ (กรมอาเซียน) พิจารณาแล้วเห็นว่า

              4.1 ไม่มีข้อขัดข้องต่อสารัตถะและถ้อยคำโดยรวมของร่างแถลงการณ์ร่วมฯ หาก กห. เห็นว่ามีความเหมาะสม สอดคล้องกับนโยบาย และผลประโยชน์ของไทย สามารถปฏิบัติได้ภายใต้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่มีอยู่ในปัจจุบัน ตลอดจนเป็นไปตามพันธกรณีของไทยภายใต้ความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งได้จัดสรรงบประมาณเพื่อการนี้ไว้แล้ว 

              4.2 ในกรณีที่ร่างเอกสารดังกล่าว ไม่ใช่ร่างสุดท้าย (final agreed text) หากมีการปรับแก้ ขอให้ กห. พิจารณาให้ร่างสุดท้ายของร่างเอกสารฯ เป็นไปตามแนวทางข้างต้นด้วย 

              4.3 ร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ไม่เป็นหนังสือสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศและไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือที่เกี่ยวกับองค์การระหว่างประเทศ ที่มีผลผูกพันรัฐบาลไทย กห. ในฐานะส่วนราชการเจ้าของเรื่อง จึงควรพิจารณาเสนอร่างเอกสารดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบตามมาตรา 4 (7) ของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2558 

__________________

*แผนงานประชาคมการเมืองและความมั่นคง 2025 มีองค์ประกอบ 4 ประการ ได้แก่ (1) การเป็น ประชาคมที่อยู่บนพื้นฐานของกฎเกณฑ์ (rules-based) มุ่งเน้นให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง (people-centred) (2) การเป็นประชาคมที่สามารถตอบสนองต่อปัญหาความมั่นคงทั้งในรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ โดยยึดหลักการของความมั่นคงที่ครอบคลุมในทุกมิติ (comprehensive security) (3) การรักษาความเป็นแกนกลางของอาเซียน ในสถาปัตยกรรมของภูมิภาค และ (4) การมีสถาบันและกลไกอาเซียนรวมถึงสำนักเลขาธิการอาเซียนที่เข้มแข็งและ มีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 27 กุมภาพันธ์ 2567

 

 

2946

Click Donate Support Web 

SME 720x100 66

CKPower 720x100

TOA 720x100

Banner GPF720x100 PX

EXIM One 720x90 C J

QIC 720x100

kbank 720x100 66

วิริยะ 720x100

MTL 720x100

AXA 720 x100

gen 720x100

hino2021

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!