WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รายงานสถานการณ์น้ำภาพรวมประเทศ (ระหว่างวันที่ 7-12 กุมภาพันธ์ 2567)

Gov 33

รายงานสถานการณ์น้ำภาพรวมประเทศ (ระหว่างวันที่ 7-12 กุมภาพันธ์ 2567)

          คณะรัฐมนตรีรับทราบสถานการณ์น้ำปัจจุบันและการคาดการณ์ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เสนอ และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนมาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2566/67 อย่างเต็มศักยภาพเพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนให้เกิดน้อยที่สุด 

          สาระสำคัญและข้อเท็จจริง

          สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ได้บูรณาการข้อมูลที่เกี่ยวข้องและขอสรุปสถานการณ์น้ำระหว่างวันที่ 7-12 กุมภาพันธ์ 2567 มีดังนี้

          1. สภาพอากาศและการคาดการณ์ฝน

          ปัจจุบันพบว่าปรากฏการณ์เอลนีโญกำลังแรง จะอ่อนลงเป็นเอลนีโญกำลังปานกลางในช่วงเดือนมีนาคม หลังจากนั้นมีโอกาสที่จะเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะเป็นกลาง ในช่วงเดือนเมษายน – พฤษภาคม และจะเริ่มเข้าสู่สภาวะลานีญาในช่วงเดือนมิถุนายน - กันยายน

          ความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบนทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออกมีอากาศเย็นในตอนเช้า สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยตอนล่างและภาคใต้มีกำลังค่อนข้างแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้มีฝนฟ้าคะนองในบางแห่ง ในช่วงวันที่ 12-18 กุมภาพันธ์ 2567 ความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้จะมีกำลังอ่อนลง ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเข้า โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง และภาคตะวันออกมีอากาศเย็นในตอนเช้า ในขณะที่มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออก และภาคกลางตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้จะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง

          2. สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำต่างๆ และการคาดการณ์

              (1) สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำภาพรวมประเทศ สถานการณ์แหล่งน้ำทั่วประเทศปัจจุบัน (ข้อมูลวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2567) มีปริมาณน้ำ 56,021 ล้านลูกบาศก์เมตร (ล้าน ลบ.ม.) (68%) น้อยกว่าปี 2566จำนวน 4,112 ล้าน ลบ.ม. มีปริมาณน้ำใช้การ 31,809 ล้าน ลบ.ม. (55%) มีอ่างเก็บน้ำที่ต้องเฝ้าระวังน้ำน้อย (ปริมาณน้ำต่ำกว่าเกณฑ์เก็บกักต่ำสุด (Lower Rule Curve)) 4 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำสิริกิติ์ อ่างเก็บน้ำกระเสียว อ่างเก็บน้ำจุฬาภรณ์ และอ่างเก็บน้ำคลองสียัด

              (2) การคาดการณ์ปริมาณน้ำใช้การอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 35 แห่ง

                   ต้นฤดูฝน ปี 2567 (วันที่ 1 พ.ค. 67) จะมีปริมาณน้ำ 17,538 ล้าน ลบ.ม. (37%) เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2566 ที่มีปริมาณน้ำใช้การ 17,787 ล้าน ลบ.ม. มากกว่า 249 ล้าน ลบ.ม.

                   ต้นฤดูแล้ง ปี 2567/68 (วันที่ 1 พ.ย. 69) จะมีปริมาณน้ำ 30,464 ล้าน ลบ.ม. (64%) เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2566 ที่มีปริมาณน้ำใช้การ 32,849 ล้าน ลบ.ม. มากกว่า 2,385 ล้าน ลบ.ม. 

              (3) การคาดการณ์ปริมาณน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยปี 2567 (ปริมาณน้ำต่ำกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำต่ำสุด Lower Rule Curve) ภาคเหนือ 3 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำภูมิพล อ่างเก็บน้ำสิริกิติ์ และอ่างเก็บน้ำทับเสลา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำห้วยหลวง และอ่างเก็บน้ำสิรินธร ภาคตะวันตก 3 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำศรีนครินทร์ อ่างเก็บน้ำแก่งกระจาน และอ่างเก็บน้ำปราณบุรี ภาคตะวันออก 2 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำขุนด่านปราการชลและอ่างเก็บน้ำคลองสียัด

          3. สถานการณ์แม่น้ำโขง

          สถานการณ์น้ำในแม่น้ำโขง อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยวิกฤต และมีแนวโน้มทรงตัว

          4. คุณภาพน้ำ

          คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลักอยู่ในเกณฑ์ปกติ และแจ้งเตือนเฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูงและน้ำเค็มรุกล้ำแม่น้ำในช่วงวันที่ 9-15 กุมภาพันธ์ 2567 ในพื้นที่ดังนี้

              (1) พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมบริเวณชุมชนนอกแนวคันกั้นน้ำ และแนวเขื่อนชั่วคราว บริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร (แนวฟันหลอ) ในพื้นที่ใกล้เคียงจังหวัดสมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม นนทบุรี กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ

              (2) เฝ้าระวังน้ำเค็มรุกล้ำส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำใช้อุปโภค บริโภค และการเกษตรแม่น้ำเจ้าพระยา ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และปทุมธานี แม่น้ำแม่กลอง ในพื้นที่ จังหวัดสมุทรสงคราม แม่น้ำท่าจีน ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร และนครปฐม แม่น้ำบางปะกงในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา และปราจีนบุรี

          5. การติดตามผลการดำเนินการตามมาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2566/67

          สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2566/67 และรายงานผลการดำเนินงานให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเป็นประจำทุกเดือน สรุปได้ ดังนี้

              (1) เฝ้าระวังและเตรียมพร้อม เครื่องจักร เครื่องมือ ในพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำโดยกรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คาดการณ์พื้นที่เสี่ยงรายเดือน และเตรียมความพร้อมเครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องสูบน้ำ 718 เครื่อง และปริมาณน้ำสูบช่วยเหลือแล้ว 4.54 ล้านลูกบาศก์เมตร

              (2) ปฏิบัติการเติมน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ กรมฝนหลวงและการบินเกษตรตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง 4 หน่วย (เชียงใหม่ นครสวรรค์ ระยอง ประจวบคีรีขันธ์) ขึ้นปฏิบัติการ 6 เที่ยวบิน มีพื้นที่การเกษตรที่ได้รับประโยชน์ 6.50 ล้านไร่ และกรมทรัพยากรน้ำบาดาล มีแผนเติมน้ำใต้ดินระดับตื้น ดำเนินการเดือนพฤศจิกายน 2566 ถึง เมษายน 2567 จำนวน 507 แห่ง แบ่งเป็น ระบบสระ 2 แห่ง ระบบบ่อวงคอนกรีต 505 แห่ง

              (3) กำหนดแผนจัดสรรน้ำและพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้ง แผนทั้งฤดูแล้ง จำนวน 16,009 ล้านลูกบาศก์เมตร ผลจัดสรรน้ำ (ณ 9 กุมภาพันธ์ 2567) จำนวน 9,189 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 57 ของแผนทั้งฤดู และแผนเพาะปลูกพืชทั้งฤดูแล้ง จำนวน 10.66 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว (ณ 7 กุมภาพันธ์ 2567) จำนวน 11.55 ล้านไร่ คิดเป็น ร้อยละ 108 ของแผนทั้งฤดู โดยแบ่งเป็นนารอบที่ 2 จำนวน 10.21 ล้านไร่ (แผน 8.13 ล้านไร่) และพืชไร่พืชผัก จำนวน 1.34 ล้านไร่ (แผน 2.53 ล้านไร่)

              (4) บริหารจัดการน้ำให้เป็นไปตามลำดับความสำคัญการใช้น้ำที่คณะกรรมการลุ่มน้ำกำหนด กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กำหนดแผนการจัดสรรน้ำตามลำดับความสำคัญการใช้น้ำ ผ่านกลไกคณะกรรมการลุ่มน้ำ

              (5) เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ ประหยัดน้ำ และลดการสูญเสียน้ำในทุกภาคส่วน โดยหน่วยงานประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ การประหยัดน้ำในภาครัฐ และการใช้ระบบ 3R ในภาคอุตสาหกรรมพร้อมวางแผนลดการสูญเสียในระบบท่อ

              (6) เฝ้าระวังและแก้ไขคุณภาพน้ำ ตรวจวัดคุณภาพน้ำแม่น้ำสายหลัก สายรอง 50 แห่ง และแหล่งน้ำธรรมชาติ 9 แห่ง ปัจจุบันอยู่ในเกณฑ์ปกติ พร้อมเฝ้าระวัง ตรวจวัด และควบคุมคุณภาพน้ำให้เป็นไปตามมาตรฐานน้ำทิ้งของอุตสาหกรรม และเตรียมปฏิบัติการรองรับกรณีเกิดปัญหา ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 10-11 กุมภาพันธ์ 2567 เกิดน้ำทะเลหนุนสูงส่งผลให้น้ำเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ริมแม่น้ำท่าจีนที่ไม่มีแนวป้องกันถาวร และส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำทำให้ค่าความเค็มเพิ่มสูงขึ้นเกินเกณฑ์มาตรฐาน ในแม่น้ำท่าจีนและแม่น้ำเจ้าพระยา สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการการบริหารจัดการน้ำร่วมกันวางแผนแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ปัจจุบันสถานการณ์ได้กลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว

              (7) เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการบริหารจัดการน้ำของชุมชนและองค์กรผู้ใช้น้ำ หน่วยงานต่างๆ ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำพร้อมรับฟังและร่วมกันแก้ไขปัญหาให้กับกลุ่มผู้ใช้น้ำทั้งในเขตและนอกเขตชลประทาน จำนวน 11,731 ราย และมีแผนดำเนินการพัฒนาแหล่งน้ำต้นทุนและเสริมสร้างความเข้มแข็ง 5 ชุมชน ประชาชน จำนวน 5,540 ราย

              (8) สร้างการรับรู้ ประชาสัมพันธ์ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสร้างการรับรู้ประชาสัมพันธ์ ทางเว็บไซต์ ผ่านสื่อรูปแบบต่างๆ ร่วมกับสำนักข่าวต่างๆ อย่างต่อเนื่อง จำนวน 12,085 ครั้ง

              (9) ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติลงพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามสถานการณ์ในพื้นที่เสี่ยงที่มีแนวโน้มขาคแคลนน้ำอุปโภคบริโภคและการเกษตรในเดือนธันวาคม 2566 ถึงปัจจุบัน พื้นที่ 20 จังหวัด 34 อำเภอ 54 ตำบล เพื่อรับฟังสภาพปัญหาการขาดแคลนน้ำในแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตร พร้อมกำหนดนโยบายการแก้ไขปัญหาและมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าดำเนินการช่วยเหลือทั้งระยะเร่งด่วนและแผนงานโครงการในระยะยาว

          6. การลงพื้นที่ตรวจราชการ

          เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีพร้อมคณะลงพื้นที่ติดตามการแก้ไขปัญหาด้านชลประทานในพื้นที่จังหวัดสระบุรี ปัจจุบันพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยามีการเพาะปลูกข้าวนาปรังเกินแผนที่วางไว้ จำเป็นต้องปรับแผนการจัดสรรน้ำช่วงฤดูแล้ง ปี 2566/67 เพิ่มเติมจากแผนเดิม 6,100 ล้าน ลบ.ม. เป็น 8,700 ล้าน ลบ.ม. เพื่อสนับสนุนน้ำให้กับพื้นที่เพาะปลูกข้าวไม่ให้เกิดความเสียหายจนกว่าจะเก็บเกี่ยวแล้วเสร็จ ตามนโยบายของรัฐบาล ขณะนี้มีการจัดสรรน้ำเฉพาะลุ่มเจ้าพระยาไปแล้วประมาณ 4,373 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น ร้อยละ 50 ของแผนฯ (8,700 ล้าน ลบ.ม.) คาดการณ์ว่า ณ วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 จะมีน้ำใช้การได้ในลุ่มเจ้าพระยาประมาณ 4,715 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งปริมาณน้ำดังกล่าวมีเพียงพอสำหรับการอุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศ ตลอด ช่วงต้นฤดูฝนนี้ อย่างไรก็ตามเพื่อให้การจัดสรรน้ำเป็นไปตามแผนที่วางไว้ จึงขอความร่วมมือจากเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวนาปรังรอบแรกแล้วเสร็จไม่ทำนาปรังรอบ 2 เพื่อลดความเสี่ยงที่ผลผลิตจะเสียหายจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอ และช่วยลดผลกระทบต่อการใช้น้ำโดยรวมของลุ่มเจ้าพระยา

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 13 กุมภาพันธ์ 2567

 

 

2439

Click Donate Support Web 

SME 720x100 66

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kbank 720x100 66

QIC 720x100

วิริยะ 720x100AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

iconmotor

gen 720x100

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!