มาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2566/2567 และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปี 2567
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Wednesday, 07 February 2024 00:16
- Hits: 7649
มาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2566/2567 และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปี 2567
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) เสนอ ดังนี้
1. รับทราบมาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2566/2567 (9 มาตรการ) และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปี 2567
2. มอบหมายหน่วยงานดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว โดยรายงานให้ กนช. ทราบ พร้อมทั้งสรุปผลการดำเนินงานรายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป
สาระสำคัญของเรื่อง
กนช. รายงานว่า
1. ตามปฏิทินการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่ให้หน่วยงานนำไปใช้เป็นกรอบในการปฏิบัติงาน แบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงฤดูแล้ง เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน สิ้นสุดวันที่ 30 เมษายน ของปีถัดไป และช่วงฤดูฝน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม สิ้นสุดวันที่ 31 ตุลาคมของทุกปี (ยกเว้นพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ซึ่งช่วงฤดูแลังเริ่มวันที่ 1 มีนาคม สิ้นสุดวันที่ 31สิงหาคมของทุกปี และช่วงฤดูฝน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน สิ้นสุดวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ของทุกปี) โดยในช่วงฤดูแล้ง ปี 2566/2567 ได้ดำเนินการตามกรอบแนวทางวางแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2566/2567 ดังนี้
1.1 คาดการณ์ปริมาณน้ำต้นทุน ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 แผนการจัดสรรน้ำ และความต้องการใช้น้ำรายกิจกรรม ช่วงฤดูแล้ง ปี 2566/2567 ในเขตชลประทานและนอกเขตชลประทาน โดยจัดสรรน้ำให้เป็นไปตามลำดับความสำคัญที่คณะกรรมการลุ่มน้ำกำหนด และปริมาณน้ำที่นำมาใช้ได้แหล่งน้ำบาดาลตามข้อมูลศักยภาพน้ำบาดาล (รายตำบล/อำเภอ/จังหวัด) พร้อมการจัดหาแหล่งน้ำสำรองทั้งแหล่งน้ำผิวดินและใต้ดิน
1.2 คาดการณ์แผนการใช้น้ำรายเดือน ช่วงฤดูแล้ง ปี 2566/2567 รายกิจกรรม ประกอบด้วย อุปโภคบริโภค การเกษตรโดยส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อย รักษาระบบนิเวศ อุตสาหกรรม โดยการส่งเสริมจัดการน้ำใช้หลัก 3R (Reduce Reuse Recycle) ให้เพียงพอต่อปริมาณน้ำต้นทุนช่วงฤดูแลัง และรองรับสถานการณ์เอลนีโญ
1.3 คาดการณ์พื้นที่เพาะปลูกพืช ช่วงฤดูแล้ง ปี 2566/2567 ในเขตชลประทาน และนอกเขตชลประทาน ให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน
1.4 ประเมินพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำ ช่วงฤดูแล้ง ปี 2566/2567 โดยแบ่งเป็นพื้นที่อุปโภคบริโภค (ในเขต/นอกเขตพื้นที่ให้บริการประปานครหลวง/ภูมิภาค) และพื้นที่เกษตรกรรม (นาข้าว/ไม้ผลที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ) และพื้นที่เฝ้าระวังคุณภาพน้ำ
1.5 การส่งเสริมความเข้มแข็งการบริหารจัดการน้ำชุมชน/องค์กรผู้ใช้น้ำ
2. สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้บูรณาการทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดมาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2566/2567 จำนวน 3 ด้าน 9 มาตรการ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทันต่อสถานการณ์ และจัดทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วงปี 2567 โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
2.1 มาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2566/2567 จำนวน 3 ด้าน 9 มาตรการ ดังนี้
การดำเนินการ |
หน่วยงานที่รับผิดชอบ |
|
ด้านน้ำต้นทุน (Supply) |
||
มาตรการที่ 1 เฝ้าระวังและเตรียมจัดหาแหล่งน้ำสำรองพร้อมวางแผนเตรียมเครื่องจักรเครื่องมือในพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำ (ก่อนและตลอดฤดูแล้ง) |
||
(1) คาดการณ์ชี้เป้าพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค การเกษตร และคุณภาพน้ำ (ก่อนและระหว่างฤดู) พร้อมทั้งติดตาม เฝ้าระวัง และประเมินสถานการณ์ตลอดฤดูแล้ง (2) สำรวจ ตรวจสอบ พื้นที่แหล่งเก็บกักน้ำสำรอง และจัดทำแผนปฏิบัติการสำรองน้ำในพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำดิบเพื่ออุปโภคบริโภคและการเกษตร (3) เตรียมความพร้อมเครื่องจักรเครื่องมือให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานและเข้าช่วยเหลือในพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำได้ทันสถานการณ์ (4) จัดทำระบบฐานข้อมูลกลางที่มีมาตรฐานเพื่อใช้ในการบริหารจัดการพื้นที่เสียง/พื้นที่เกิดเหตุ(บ่อบาดาล) |
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยเละนวัตกรรม (อว.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) และ สทนช. |
|
มาตรการที่ 2 ปฏิบัติการเติมน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ (ก่อนและตลอดฤดูแล้ง) |
||
(1) จัดทำแผนปฏิบัติการฝนหลวงรองรับพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำ และปฏิบัติการเติมน้ำให้กับแหล่งน้ำ พื้นที่เกษตรและพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำตามสภาพอากาศที่เหมาะสม (2) จัดทำแผนปฏิบัติการและปฏิบัติการเติมน้ำ/สูบผันน้ำใต้ดินในพื้นที่ที่มีศักยภาพ |
กษ. และ ทส. |
|
ด้านความต้องการใช้น้ำ (Demand) |
||
มาตรการที่ 3 กำหนดแผนจัดสรรน้ำและพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ควบคุมการเพาะปลูกข้าวนาปรัง สร้างการรับรู้ให้กับเกษตรกรเตรียมน้ำสำรองสำหรับพื้นที่ลุ่มต่ำรับน้ำนอง (ก่อนและตลอดฤดูแล้ง) |
||
(1) กำหนดแผนการจัดสรรน้ำให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน และสถานการณ์เอลนีโญ พร้อมแจ้งแผนให้ มท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รับทราบและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด (2) กำหนดแผนเพาะปลูกพืชฤดูแล้งและขึ้นทะเบียนเกษตรกร โดยระบุพื้นที่คาดการณ์เพาะปลูกและแหล่งน้ำที่นำมาใช้ให้ชัดเจน ในรูปแบบแผนที่เพื่อให้การเพาะปลูกสอดคล้องกับบริมาณน้ำต้นทุน พร้อมทั้งกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขการเพาะปลูกพืชพื้นที่นอกแผนและพื้นที่ที่ไม่สามารถสนับสนุนน้ำเพื่อการเพาะปลูกได้ โดยมอบหมายหน่วยงานที่รับผิดชอบประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ให้กับเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง (3) ควบคุมการใช้น้ำของพื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนให้เป็นไปตามแผน และมีประสิทธิภาพ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบการขาดแคลนน้ำด้านอุปโภคบริโภคของพื้นที่ลุ่มน้ำตอนล่าง และมอบหมาย มท. ร่วมกับ กษ. และ ทส. สร้างการรับรู้กับประชาชนในพื้นที่เพื่อควบคุมการส่งน้ำให้ตรงตามวัตถุประสงค์ (4) เตรียมน้ำสำรองสำหรับพื้นที่ลุ่มต่ำรับน้ำนอง โดยการสนับสนุนจัดสรรน้ำเตรียมแปลงเพาะปลูกนารอบที่ 1 (นาปี) (5) สำรวจ ตรวจสอบ คันคลอง เขื่อนป้องกันตลิ่ง ถนนที่เชื่อมต่อกับทางน้ำ ในพื้นที่ที่อาจจะเกิดการทรุดตัว เนื่องจากระดับน้ำในทางน้ำที่อาจจะลดต่ำกว่าปกติ |
กระทรวงกลาโหม (กห.) อว. กษ. กระทรวงคมนาคม (คค.) ทส. กระทรวงพลังงาน (พน.) มท. สำนักนายกรัฐมนตรี (นร.) และคณะกรรมการลุ่มน้ำ |
|
มาตรการที่ 4 บริหารจัดการน้ำให้เป็นไปตามลำดับความสำคัญการใช้น้ำที่คณะกรรมการลุ่มน้ำกำหนด (ตลอดฤดูแล้ง) |
||
จัดสรรน้ำตามลำดับความสำคัญการใช้น้ำที่คณะกรรมการลุ่มน้ำแต่ละลุ่มน้ำกำหนดเพื่อรองรับสถานการณ์เอลนีโญ |
กษ. พน. ทส. มท. สำนักงาน คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) และคณะกรรมการลุ่มน้ำ |
|
มาตรการที่ 5 เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ ประหยัดน้ำ และลดการสูญเสียน้ำในทุกภาคส่วน (ก่อนและตลอดฤดูแล้ง) |
||
(1) สนับสนุนข้อมูลทางวิชาการ ถ่ายทอด เผยแพร่ผลการวิจัยและพัฒนา เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ นำไปใช้ประโยชน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำภาคการเกษตร และส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพืชเพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำและเพิ่มรายไต้ในพื้นที่ อาทิ ปลูกพืชใช้น้ำน้อยหรือพืชที่เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ ปรับปรุงระบบการให้น้ำพืชนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการน้ำ เป็นต้น (2) การประหยัดน้ำของหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและประชาชน มีการดำเนินการ ดังนี้ (2.1) วางแผนลดการใช้น้ำของหน่วยงานภาครัฐ พร้อมประชาสัมพันธ์รณรงค์การใช้น้ำอย่างประหยัดในทุกภาคส่วน (2.2) ส่งเสริมสนับสนุนให้โรงานอุตสาหกรรมใช้ระบบ 3R เพื่อลดการใช้น้ำจากแหล่งน้ำต่างๆ (3) ลดการสูญเสียน้ำในระบบประปาและระบบชลประทาน มีการดำเนินการ ดังนี้ (3.1) ลดการสูญเสียน้ำในระบบประปา (3.2) เพิ่มประสิทธิภาพการส่งน้ำในระบบชลประทาน โดยการปรับรอบเวรการส่งน้ำ ให้สอดรับกับปริมาณความต้องการน้ำของพื้นที่ |
อว. กษ. สทนช. และคณะกรรมการลุ่มน้ำ |
|
มาตรการที่ 6 เฝ้าระวังและแก้ไขคุณภาพน้ำ (ตลอดฤดูแล้ง) |
||
เฝ้าระวัง ตรวจวัด ควบคุม และแก้ไขคุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก แม่น้ำสายรอง รวมถึงแหล่งน้ำที่รับน้ำจากภาคอุตสาหกรรม การเกษตร และชุมชน รวมทั้งเตรียมแผนปฏิบัติการรองรับกรณีเกิดปัญหาและแจ้งเตือนพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบ พร้อมทั้งรายงานผลการแก้ไขคุณภาพน้ำ |
กษ. ทส. มท. และกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) |
|
ด้านการบริหารจัดการ (Management) |
||
มาตรการที่ 7 เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการบริหารจัดการน้ำของชุมชน/องค์กรผู้ใช้น้ำ (ตลอดฤดูแล้ง) |
||
เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการบริหารจัดการน้ำของชุมชนและองค์กรผู้ใช้น้ำที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ โดยสร้างความรู้ความเข้าใจในการวางแผนการใช้น้ำจากแหล่งน้ำที่มีอยู่ การเตรียมจัดหาน้ำสำรองและการกักเก็บให้มีน้ำเพียงพอสำหรับอุปโภคบริโภคและ/หรือการเกษตรตลอดฤดูแล้ง รวมทั้งพัฒนา/เพิ่มประสิทธิภาพแหล่งน้ำชุมชน |
อว. กษ. ทส. มท. สทนช. และมูลนิธิปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริ |
|
มาตรการที่ 8 สร้างการรับรู้ ประชาสัมพันธ์ (ก่อนและตลอดฤดูแล้ง) |
||
สร้างการรับรู้ ประชาสัมพันธ์สถานการณ์และแผนบริหารจัดการน้ำ เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการใช้น้ำอย่างประหยัด และเป็นไปตามแผนที่กำหนด |
นร. มท. สทนช. และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ |
|
มาตรการที่ 9 ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน (ตลอดและหลังจากสิ้นสุดฤดูแล้ง) |
||
(1) ติดตามผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผน รายงานผลการให้ความช่วยเหลือ และหากพบการขาดแคลนน้ำหรือภัยแล้งให้รายงานมายังกองอำนวยการน้ำแห่งชาติและ กนช. (2) ประเมินผลการดำเนินงานตามมาตรการ พร้อมสรุปบทเรียน |
มทฐ และ สทนช. |
2.2 การจัดทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วงปี 2567 สรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ |
รายละเอียด |
|||||||||||||||||||
วัตถุประสงค์ |
(1) เพื่อแก้ไขปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนจากสถานการณ์ขาดแคลนน้ำหรือเสี่ยงภัยแล้ง (2) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการสร้างอาชีพ รายได้ และการจ้างแรงงานให้กับประชาชน หรือผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้ง (3) เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ |
|||||||||||||||||||
กิจกรรมและประเภทโครงการ |
แบ่งเป็น 5 ประเภท เพื่อรวบรวม จำแนก วิเคราะห์ กลั่นกรองแผนงาน/โครงการให้สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานในแต่ละประเภท ดังนี้
|
หมายเหตุ : สทนช. จะไม่พิจารณาแผนงานโครงการที่ไม่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เช่น งานด้านซ่อม/ปรับปรุงถนน สะพาน หรืออาคารสิ่งปลูกสร้างบ้านที่พักอาศัย/สำนักงาน และงานปรับปรุงภูมิทัศน์
3. กนช. ในการประชุมครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2566 ได้มีมติเห็นชอบมาตรการและโครงการดังกล่าวแล้วและให้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการ เช่น
3.1 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดจัดทำแผนปฏิบัติการรองรับมาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2566/2567 หลังจาก กนช. ให้ความเห็นชอบมาตรการดังกล่าวแล้ว พร้อมทั้งรายงานผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการภายใต้มาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2566/2567 ให้ สทนช. ทราบทุกวันที่ 5 ของเดือน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้นไปจนกว่าจะสิ้นสุดฤดูแล้ง เพื่อให้การขับเคลื่อนตามมาตรการเป็นไปตามแผนและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
3.2 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมแผนงานโครงการและความพร้อมของโครงการให้ถูกต้อง ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ 5 ประเภทของโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปี 2567 เพื่อสามารถแก้ไขปัญหาภัยแล้งได้ทันต่อสถานการณ์และเป็นไปตามระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 6 กุมภาพันธ์ 2567
2197