WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารที่มีการรับรองในการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน ครั้งที่ 7 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง

Gov ภูมิธรรม06

ขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารที่มีการรับรองในการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน ครั้งที่ 7 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างเอกสารการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน ครั้งที่ 7 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง จำนวน 6 ฉบับ (ร่างเอกสารฯ) ได้แก่

          1. ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน ครั้งที่ 7

          2. ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน - จีน ครั้งที่ 1

          3. ขอบเขตหน้าที่ (TOR) ของการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน - จีน

          4. ขอบเขตหน้าที่ (TOR) ของการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสสาขากีฬาอาเซียน - จีน

          5. ร่างปฏิญญาเชียงใหม่ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านกีฬาอาเซียน - ญี่ปุ่น มุ่งสู่ปี ค.ศ. 2030

          6. ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน - ญี่ปุ่น ครั้งที่ 4 (ได้มีการรับรองร่างเอกสารฯ จำนวน 6 ฉบับ ไปแล้วในห้วงการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน ครั้งที่ 7 และการประชุมที่เกี่ยวข้องในช่วงวันที่ 31 สิงหาคม - 1 กันยายน 2566 ณ จังหวัดเชียงใหม่ โดยในส่วนของประเทศไทย กก. จะแจ้งการรับรองร่างเอกสารฯ อย่างเป็นทางการให้สำนักเลขาธิการอาเซียนทราบภายหลังจากที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว)

          สาระสำคัญของเรื่อง

          กก. รายงานว่า

          1. ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน ครั้งที่ 7 (7th ASEAN Ministerial Meeting on Sports : AMMS - 7) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม 2566 - 1 กันยายน 2566 ณ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ) ในขณะนั้นเป็นประธาน ซึ่งในการประชุมดังกล่าวที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบและรับรองร่างเอกสารฯ จำนวน 6 ฉบับ ไปแล้ว โดยในส่วนของประเทศไทยได้แจ้งที่ประชุมทราบว่าประเทศไทยขอรับรองและเห็นชอบต่อร่างเอกสารฯ จำนวน 6 ฉบับ ในหลักการและจะให้การรับรองอย่างเป็นทางการหลังจากได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีพร้อมทั้งจะแจ้งให้สำนักเลขาธิการอาเซียนทราบในโอกาสต่อไป

          2. ร่างเอกสารฯ จำนวน 6 ฉบับ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

              2.1 ร่างเอกสารการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน ครั้งที่ 7 โดยที่ประชุมได้มีการรับรองร่างเอกสาร จำนวน 1 ฉบับ ได้แก่ ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน ครั้งที่ 7 โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

                   (1) เห็นพ้องที่จะจัดตั้งกองทุนกีฬาอาเซียนโดยเงินสมทบประจำปี จำนวน 5,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ยังมิได้ระบุวันเริ่มดำเนินการ) เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานด้านกีฬาอาเซียน ปี ค.ศ. 2021 - 2025

                   (2) อนุมัติตีพิมพ์รายงานตัวชี้วัดสมรรถภาพทางกายของอาเซียน (APFI) และการศึกษาเกี่ยวกับกีฬา กีฬาพื้นเมือง และการละเล่นพื้นบ้านในอาเซียน

                   (3) ส่งเสริมความตระหนักรู้และวัฒนธรรมของอาเซียนผ่านการริเริ่มด้านกีฬาระดับภูมิภาค และการแข่งขันกีฬา โดยจะดำเนินการตามแผนการดำเนินงานด้านกีฬาอาเซียน ปี ค.ศ. 2021 - 2025

              2.2 ร่างเอกสารการประชุมที่เกี่ยวข้อง จำนวน 5 ฉบับ

 

หัวข้อ

สาระสำคัญ

(1) ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน - จีน ครั้งที่ 1

วัตถุประสงค์

เพื่อให้คำแนะนำและทิศทางเชิงกลยุทธ์ในการเจรจาเชิงนโยบายด้านกีฬาเพื่อการแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับกีฬาที่เป็นประโยชน์ร่วมกันระหว่างอาเซียนและจีน

กรอบความร่วมมือ

1) ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชนกับประชาชน เพื่อเสริมสร้างความหลากหลายมิตรภาพ และการมีน้ำใจนักกีฬา

2) เพิ่มโอกาสให้แก่ผู้เชี่ยวชาญด้านกีฬาของอาเซียนและจีนในการเสริมสร้างศักยภาพและพัฒนาทักษะด้านการกีฬา ซึ่งรวมถึงวิทยาศาสตร์การกีฬา และการจัดการกีฬา รวมถึงเน้นย้ำถึงผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มีต่อการกีฬา

3) ส่งเสริมวิถีชีวิตที่มีคุณภาพดี โดยการมีส่วนร่วมด้านกีฬาในทุกช่วงอายุในระดับชุมชนซึ่งรวมถึงชุมชนชายขอบด้วย

(2) ร่างขอบเขตหน้าที่ของการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน - จีน

(3) ร่างขอบเขตหน้าที่ของการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสสาขากีฬาอาเซียน - จีน

(จะมีการแจ้งเวียนให้ประเทศสมาชิกอาเซียนและจีนทราบผลการรับรองร่างเอกสารทั้ง 2 ฉบับอีกครั้ง)

อำนาจหน้าที่

รัฐมนตรีกีฬา:

1) ให้คำแนะนำและมอบหมายให้เจ้าหน้าที่อาวุโสดำเนินการในด้านต่างๆ เช่น การดำเนินการตามคำสั่งที่เกี่ยวข้องด้านกีฬาที่เกิดจากการประชุมสุดยอดอาเซียน - จีน การดำเนินการตามประเด็นสำคัญ และแผนงานของอาเซียนและจีน รวมถึงกำกับและดูแลความก้าวหน้า และการประสานความร่วมมือด้านกีฬาร่วมกับภาคส่วนอื่นๆ

2) ให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับการพัฒนากีฬาในการประชุมระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติที่เกี่ยวข้องตามความเหมาะสม

เจ้าหน้าที่อาวุโส:

1) ถ่ายทอดข้อสั่งการด้านการกีฬาจากที่ประชุมสุดยอดอาเซียน - จีน และการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน - จีน ไปยังประเทศสมาชิก

2) ดำเนินงาน ทบทวน และประเมินความก้าวหน้าของโครงการเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานภายใต้ความร่วมมือด้านกีฬาอาเซียน - จีน

3) แลกเปลี่ยนข้อมูลและแนวคิดเกี่ยวกับกิจกรรมกีฬา

การจัดการประชุม

รัฐมนตรีกีฬา:

1) จัดขึ้นอย่างน้อย 1 ครั้ง เป็นประจำทุก 2 ปี โดยประเทศสมาชิกอาเซียนที่ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน - จีน จะเป็นประธานควบคู่การประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียนด้วย ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมการประชุมจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายตนเอง

 2) สำนักเลขาธิการอาเซียนจะให้ความช่วยเหลือประธานร่วมในการจัดเตรียมระเบียบวาระการประชุมและให้การสนับสนุนด้านเทคนิคและการบริหารงานในการประชุม

เจ้าหน้าที่อาวุโส:

1) จัดขึ้นอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และอาจจัดขึ้นเพิ่มเติมได้เมื่อเห็นว่ามีความจำเป็น โดยประเทศสมาชิกอาเซียนที่ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน - จีน จะเป็นประธานควบคู่การประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียนด้วย ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมการประชุมจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของตนเอง

2) ประเทศเจ้าภาพจัดการประชุมควรสนับสนุนการจัดการที่จำเป็น จัดสิ่งอำนวยความสะดวก การเตรียมการด้านเอกสาร และการต้อนรับ

3) สำนักเลขาธิการอาเซียนจะต้องรับผิดชอบการจัดทำระเบียบวาระการประชุมเบื้องต้นและให้การสนับสนุนด้านเทคนิคและการบริหารงานในการประชุม

การตัดสินใจ

โดยการหารือและทุกประเทศมีฉันทามติ (ตามกฎบัตรอาเซียน)

การแก้ไข

จะมีการทบทวนเป็นครั้งคราว และหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขจะต้องผ่านการหารือและฉันทามติระหว่างอาเซียนและจีน และได้รับการรับรองโดยรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน - จีน

(4) ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน - ญี่ปุ่น ครั้งที่ 4

        1) มุ่งมั่นที่จะพัฒนามิตรภาพและความเป็นหุ้นส่วนระหว่างอาเซียนและญี่ปุ่น ผ่านความร่วมมือด้านกีฬา โดยเสริมสร้างการอำนวยความสะดวกในการเจรจาระดับนโยบายเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน

        2) มุ่งหวังที่จะจัดตั้งกรอบความร่วมมือด้านกีฬาอาเซียน - ญี่ปุ่น ในปี .. 2030 เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านกีฬา

        3) ชื่นชมความสำเร็จของโครงการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศด้านกีฬาอาเซียน - ญี่ปุ่น ปี .. 2564 ภายใต้กองทุน Japan - ASEAN Integration Fund

        4) รับทราบผลลัพธ์ของการประชุมเจรจาธุรกิจออนไลน์ด้านอุตสาหกรรมกีฬาและสุขภาพของญี่ปุ่นเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และเจรจาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงกีฬาและอุตสาหกรรมกีฬา

        5) มุ่งหวังที่จะมีการดำเนินโครงการอาเซียนฟุตบอลเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และพัฒนาขีดความสามารถในการเชื่อมโยงกีฬาและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยกีฬาฟุตบอลเพื่อเป็นกีฬาต้นแบบ

        6) ส่งเสริมและอำนวยความสะดวกเพื่อส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือด้านกีฬาระหว่างกัน

        7) ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และการเจรจาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงกีฬาและอุตสาหกรรมกีฬาเพื่อประโยชน์ของประชาชน

(5) ร่างปฏิญญาเชียงใหม่ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านกีฬาอาเซียน - ญี่ปุ่น มุ่งสู่ปี .. 2030

ขอบเขตความร่วมมือ

1) ด้านการพัฒนาครูพลศึกษาและผู้ฝึกสอน

2) ด้านการเพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้หญิงกับกีฬา

3) ด้านการพัฒนากีฬาสำหรับคนพิการ

4) ด้านการรณรงค์ต่อต้านการใช้สารต้องห้ามและการเสริมสร้างขีดความสามารถ

การดำเนินการ

1) จัดตั้งกรอบความร่วมมือด้านกีฬาอาเซียน - ญี่ปุ่น ปี .. 2030” หรือกรอบการดำเนินงานเชียงใหม่เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและเพิ่มโอกาสในการทำงานร่วมกันจนถึงปี .. 2030 เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่

2) เพิ่มการจัดการกีฬาเป็นด้านที่ 5 ของขอบเขตความร่วมมือการดำเนินงานเพื่อที่จะ (1) กระชับความสัมพันธ์ทางธุรกิจด้านกีฬาระหว่างประเทศ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมกีฬาระดับภูมิภาค (2) ส่งเสริมโครงการเสริมสร้างศักยภาพสำหรับกีฬาอาชีพ โครงการพัฒนาหลังอาชีพ/การเปลี่ยนผ่านสำหรับนักกีฬาที่เกษียณและผู้ปฏิบัติงานด้านกีฬาและสุขภาพ (3) ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการวางแผนการจัดการ และการกำกับดูแลการแข่งขันกีฬาที่สำคัญ (4) ส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านการกีฬา โดยดำเนินโครงการอาเซียนฟุตบอลเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

3) ปรับโครงสร้างการประชุมอาเซียนและญี่ปุ่นด้านสตรีและกีฬา เป็นคณะทำงานอาเซียน - ญี่ปุ่นว่าด้วยการส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศด้านกีฬา เพื่อปรับปรุงการประชุมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

4) กำหนดภารกิจของการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสสาขากีฬาอาเซียน - ญี่ปุ่น ได้แก่ (1) ประเมินความต้องการของอาเซียนและญี่ปุ่น เพื่อปรับปรุงความร่วมมือในด้านที่ทั้งสองฝ่ายมีความสนใจ (2) จัดทำกรอบความร่วมมือเชียงใหม่สำหรับการดำเนินการในปี .. 2024 - 2030 (3) สำรวจทรัพยากรนวัตกรรมเพื่อดำเนินกิจกรรมตามแผนกลยุทธ์

 

          2. กก. แจ้งว่า ภายหลังจากคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบร่างเอกสารฯ จำนวน 6 ฉบับแล้ว ประเทศไทยจะส่งหนังสือแจ้งผลการพิจารณาให้แก่สำนักเลขาธิการอาเซียนและประเทศสมาชิกอาเซียนทราบอย่างเป็นทางการ ในส่วนของร่างปฏิญญาเชียงใหม่ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านกีฬาอาเซียน - ญี่ปุ่น มุ่งสู่ปี ค.ศ. 2030 จะต้องนำเสนอต่อผู้นำอาเซียน - ญี่ปุ่น เพื่อให้การรับรองในการประชุมสุดยอดอาเซียน - ญี่ปุ่น สมัยพิเศษในเดือนธันวาคม 2566

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายภูมิธรรม เวชยชัย (รองนายกรัฐมนตรี) 16 มกราคม 2567

 

 

1380

Click Donate Support Web 

SME 720x100 66

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C J

MTL 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

 

 

AXA 720 x100aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

gen 720x100

 

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!