WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ขอความเห็นชอบและอนุมัติให้มีการรับรองเอกสารร่างแถลงการณ์ (Communique) สำหรับการประชุม Global Forum for Food and Agriculture (GFFA) ครั้งที่ 16 และการประชุม Berlin Agriculture Ministers’ Conference ครั้งที่ 16

Gov ภูมิธรรม05

ขอความเห็นชอบและอนุมัติให้มีการรับรองเอกสารร่างแถลงการณ์ (Communique) สำหรับการประชุม Global Forum for Food and Agriculture (GFFA) ครั้งที่ 16 และการประชุม Berlin Agriculture Ministers’ Conference ครั้งที่ 16

           คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอดังนี้

           1. เห็นชอบและอนุมัติให้มีการรับรองเอกสารร่างแถลงการณ์ (2024 Zero Draft Communique) ในการประชุมรัฐมนตรีเกษตรเบอร์ลิน (Berlin Agriculture Ministers’ Conference) ครั้งที่ 16 

           2. อนุมัติในหลักการว่า หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขเอกสารดังกล่าว ในประเด็นที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ขอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก และมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์หรือผู้แทนร่วมรับรองเอกสารดังกล่าว โดยไม่มีการลงนาม

           ทั้งนี้ เอกสารร่างแถลงการณ์ (2024 Zero Draft Communique) จะมีการพิจารณารับรองในการประชุมรัฐมนตรีเกษตรเบอร์ลิน ครั้งที่ 16 โดยไม่มีการลงนาม ในวันเสาร์ที่ 20 มกราคม 2567 ณ กรุงเบอร์ลิน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี 

           สาระสำคัญ

           1. เอกสารร่างแถลงการณ์เป็นเอกสารที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการดำเนินความร่วมมือเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร และยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน (SDG2 “Zero Hunger”) โดยร่างดังกล่าวให้ความสำคัญของการดำเนินการใน 4 ด้าน ได้แก่

               1.1 ส่งเสริมการผลิตที่ยั่งยืน เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่การเกษตรและระบบอาหารที่ยั่งยืนและยืดหยุ่นได้ และดำเนินการตามวาระ 2030 เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเพาะการยุติความหิวโหยด้วยการส่งเสริมแนวทางปฏิบัติและเทคโนโลยีทางการเกษตรที่ปรับให้สอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศ เพื่อการผลิตทางการเกษตรที่เพียงพอและยั่งยืน ส่งเสริมการเลือกอาหารเพื่อสุขภาพ ลดการสูญเสียอาหารและของเสีย ส่งเสริมวิธีการผลิตและพันธุ์พืชที่ยั่งยืน แนวทางการจัดการปศุสัตว์อย่างยั่งยืน การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและเกษตรอย่างยุติธรรมและเท่าเทียม ดำเนินการให้สอดคล้องกับความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพ และความเสื่อมโทรมของดิน การเข้าถึงน้ำที่เพียงพอและมีคุณภาพ เพิ่มความรู้เกษตรกรในการปรับปรุงดินให้มีธาตุอาหารที่สมบูรณ์ ปรับปรุงการจัดการปุ๋ย การผลิตปุ๋ยไนโตรเจนสีเขียว ส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานเพื่อลดความเสี่ยงจากการใช้ยาฆ่าแมลง ส่งเสริมการวิจัยและการลงทุนเพิ่มเติมด้านความยั่งยืนทางการเกษตรและระบบอาหาร การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้งกลุ่มเปราะบาง สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลและนวัตกรรมได้

               1.2 ส่งเสริมห่วงโซ่อุปทานที่ยืดหยุ่นและยั่งยืน โดยเพิ่มบทบาทขององค์การการค้าโลก (WTO) ด้านกฎการค้าสินค้าเกษตรเพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนให้ระบบการค้าเปิดกว้าง ปลอดภัยและโปร่งใส บทบาทของระบบข้อมูลด้านการตลาดของสินค้าเกษตร (Agricultural Market Information System: AMIS) การดำเนินการตามแนวปฏิบัติที่ดีและการควบคุมเชิงป้อนกันเพื่อต่อสู้กับความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของอาหาร โรคสัตว์ โรคและแมลงศัตรูพืช เพิ่มขีดความสามารถของภาครัฐและเอกชนในการป้องกัน เตรียมความพร้อมและควบคุมที่เกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้อและการดื้อยาต้านจุลชีพ (AMR) ในมนุษย์และสัตว์ เพื่อเสริมสร้างแนวทางด้านสุขภาพที่เป็นหนึ่งเดียว ห่วงโซ่อุปทานสินค้าเกษตรที่ปราศจากการตัดไม้ทำลาย (deforestation-free) ความสัมพันธ์ทางการตลาดให้มีความเท่าเทียมสำหรับทุกคนในห่วงโซ่ โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยและเกษตรกรขนาดกลาง ตลอดจนเสริมสร้างสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่คุณค่าตามหลักการของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน

               1.3 การลดอาหารเหลือทิ้ง โดยมุ่งที่จะลดการสูญเสียอาหารเหลือทิ้งตลอดห่วงโซคุณค่าทั้งหมด เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย SDG 12.3 ลดขยะเศษอาหารของโลกลงครึ่งหนึ่งในระดับค้าปลีกและผู้บริโภค และลดการสูญเสียอาหารจากกระบวนการผลิตและห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงการสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว ภายในปี 2573 การกำหนดเป้าหมาย วัดความสูญเสียอาหารเหลือทิ้ง ขยายการลงทุนในการวิจัยและพัฒนา การบริจาคอาหารที่เหลือ หรืออาหารที่ใกล้หมดอายุ อาทิ นำไปเป็นอาหารสัตว์ ตลอดจนส่งเสริมการให้ความรู้แก่ผู้บริโภค

               1.4 การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเปราะบาง เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท บทบาทของสตรี โดยตระหนักถึงสิทธิมนุษยชนในการได้รับอาหารที่เพียงพอ ตามแนวทางปฏิบัติโดยสมัครใจของ FAO ว่าด้วยสิทธิในอาหารซึ่งรับรองโดยคณะกรรมการความมั่นคงอาหารโลก (CFS) ตลอดจนบทบาทของเกษตรกรรายย่อยและแรงงานในชนบท การปรับปรุงการเข้าถึงทรัพยากรการผลิต เช่น ที่ดิน น้ำ การเงิน เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย และทรัพยากรพันธุกรรม เน้นย้ำในการปกป้องที่ดินของชนเผ่าพื้นเมือง รวมทั้งบทบาทของ CFS เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทำงานร่วมกันเพื่อรับรองความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการ

           2. ร่างแถลงการณ์ฯ สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล และการดำเนินการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่สำคัญ ได้แก่ การดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน มีความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการด้านการเกษตรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2566 - 2570 และยังเป็นการแสดงจุดยืนของประเทศไทยในการสนับสนุนนโยบายด้านระบบอาหารโลกเพื่อผลักดันและนำไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรม

           3. ที่ประชุมรัฐมนตรีเกษตรเบอร์ลิน ครั้งที่ 16 จะพิจารณารับรองเอกสารตามข้อ 1. โดยไม่มีการลงนามในเอกสาร

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายภูมิธรรม เวชยชัย (รองนายกรัฐมนตรี) 16 มกราคม 2567

 

 

1378

Click Donate Support Web 

SME 720x100 66

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kbank 720x100 66

QIC 720x100

วิริยะ 720x100AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

iconmotor

gen 720x100

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!