WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารสุดท้าย (Draft Final Document) ของการประชุมสุดยอดกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (NAM Summit) ครั้งที่ 19

Gov ภูมิธรรม07

การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารสุดท้าย (Draft Final Document) ของการประชุมสุดยอดกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (NAM Summit) ครั้งที่ 19

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอดังนี้

          1. เห็นชอบต่อร่างเอกสารสุดท้ายของการประชุมสุดยอดกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (Non - Aligned Movement: NAM) (NAM Summit)1 ครั้งที่ 19 (ร่างเอกสารสุดท้ายฯ) ทั้งนี้ หากมีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงเนื้อหาของร่างเอกสารสุดท้ายฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ก่อนการรับรองขอให้ กต. สามารถใช้ดุลยพินิจดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งในการเจรจาและดำเนินการแก้ไข

          2. ให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศซึ่งได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยและผู้แทนพิเศษ (Special Envoy) ของนายกรัฐมนตรีร่วมรับรองเอกสารดังกล่าว

          3. หากปรากฏว่า เนื้อหาหรือถ้อยคำของร่างเอกสารสุดท้ายฯ ไม่สอดคล้องกับนโยบายผลประโยชน์ และท่าทีประเทศไทยในสาระสำคัญ แสดงท่าทีเชิงลบหรือมีถ้อยคำรุนแรงประณามประเทศอื่นใด ขออนุมัติให้ กต. มีหนังสือแจ้งข้อสงวน (reservation) หรือแสดงท่าทีที่อธิบายอย่างระมัดระวังถึงเหตุผลของประเทศไทยซึ่งทำให้ไม่อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับเนื้อหาหรือถ้อยคำดังกล่าวได้ ทั้งนี้ การแจ้งข้อสงวนเป็นแนวทางที่ประเทศไทยปฏิบัติมาโดยตลอด

          4. หากอาเซียนเห็นพ้องให้รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนร่วมลงนามในหนังสือแจ้งข้อสงวน (reservation) ต่อเอกสารสุดท้ายของการประชุม NAM Summit ครั้งที่ 18 ณ กรุงบากู สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน (อาเซอร์ไบจาน) เมื่อปี 2562 หรือหนังสืออื่นๆ ที่เป็นการแจ้งท่าทีของอาเซียนต่อถ้อยคำในเอกสารสุดท้ายดังกล่าว ตามแนวปฏิบัติที่ผ่านมาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอาเซียน ขออนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศร่วมลงนามในหนังสือแจ้งข้อสงวนดังกล่าวเช่นเดียวกับรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอื่นๆ 

(จะมีการรับรองร่างเอกสารสุดท้ายฯ ในการประชุม NAM Summit ครั้งที่ 19 ระหว่างวันที่ 19 - 20 มกราคม 2567 ณ กรุงกัมปาลา สาธารณรัฐยูกันดา)

          สาระสำคัญของเรื่อง

          กต. รายงานว่า

          ร่างเอกสารสุดท้ายฯ ที่ กต. เสนอมาในครั้งนี้ มีสาระส่วนใหญ่เป็นไปตามเอกสารผลลัพธ์ของการประชุม CoB - NAM ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เคยให้ความเห็นชอบแล้ว โดยมีการปรับถ้อยคำเพื่อให้สะท้อนกับสถานการณ์ปัจจุบันของประเด็นต่างๆ โดยแบ่งเป็น 3 บท ได้แก่ บทที่ 1 ประเด็นระหว่างประเทศ บทที่ 2 ประเด็นการเมืองภูมิภาคและอนุภูมิภาค และบทที่ 3 ประเด็นด้านการพัฒนา สังคม และสิทธิมนุษยชน

          ร่างเอกสารสุดท้ายฯ สะท้อนประเด็นที่ประเทศสมาชิกให้ความสำคัญร่วมกัน จึงเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างกัน ซึ่งไทยให้ความสำคัญกับประเด็นสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ เศรษฐกิจ และการพัฒนาที่ยั่งยืน โดย กต. แจ้งว่า ร่างเอกสารสุดท้ายฯ ไม่มีถ้อยคำหรือบริบทใดที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศและไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

__________________

1 กลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (NAM) ก่อตั้งขึ้นในช่วงปี 2493 - 2503 ขณะที่โลกอยู่ในยุคสงครามเย็นและหลายประเทศในเอเชียและแอฟริกายังคงเป็นอาณานิคมของชาติมหาอำนาจ การประชุม NAM ครั้งแรกจัดขึ้นที่กรุงโคลัมโบ ศรีลังกา เมื่อปี 2497 เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ระหว่างประเทศในขณะนั้นซึ่งต่อมามีประเทศได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเพิ่มมากขึ้นจนนำไปสู่การจัดการประชุม NAM Summit ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2504 ที่กรุงเบลเกรด ยูโกสลาเวีย (ปัจจุบันคือเซอร์เบีย) ปัจจุบัน NAM มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 120 ประเทศ ประกอบด้วยกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา กลุ่มประเทศพัฒนาน้อย กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง กลุ่มประเทศเอเชียใต้ และกลุ่มประเทศอาเซียน โดยไทยเข้าเป็นสมาชิก NAM เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2536

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายภูมิธรรม เวชยชัย (รองนายกรัฐมนตรี) 16 มกราคม 2567

 

 

1377

Click Donate Support Web 

SME 720x100 66

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C J

MTL 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

 

 

AXA 720 x100aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

gen 720x100

 

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!