WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รายงานสถานการณ์น้ำภาพรวมประเทศและสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้

Gov 33

รายงานสถานการณ์น้ำภาพรวมประเทศและสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้

          คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสถานการณ์น้ำภาพรวมประเทศและสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ ระหว่างวันที่ 1-8 มกราคม 2567 ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เสนอ และมอบหมายให้หน่วยงานสำรวจความเสียหายและฟื้นฟูให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบในพื้นที่ภาคใต้ให้เข้าสู่สถานการณ์ปกติโดยเร็ว

          สาระสำคัญและข้อเท็จจริง

          สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ได้บูรณาการข้อมูลที่เกี่ยวข้องและขอสรุปสถานการณ์น้ำ

          1. สภาพอากาศและการคาดการณ์ฝน

          ปัจจุบันพบว่าปรากฏการณ์เอลนีโญกำลังแรง จะอ่อนลงเป็นเอลนีโญกำลังปานกลางและอ่อนกำลังลงอย่างต่อเนื่องในช่วงเดือนพฤษภาคม 2567 ซึ่งช่วงดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยมีผลทำให้ฝนตกน้อยกว่าค่าปกติ (มกราคม - พฤษภาคม 2567) 

          สภาพอากาศ บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางยังคงปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ ลมฝ่ายตะวันตกในระดับบนพัดปกคลุมภาคเหนือ ทำให้ภาคเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้า สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยตอนล่างและภาคใต้มีกำลังปานกลาง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง และเฝ้าระวังปริมาณฝนตกหนักในบางพื้นที่ ช่วงวันที่ 13-15 มกราคม 2567

          2. สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำต่างๆ และการคาดการณ์

              2.1 สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำภาพรวมประเทศ

                    สถานการณ์แหล่งน้ำทั่วประเทศ ปัจจุบัน (ข้อมูลวันที่ 7 มกราคม 2567) มีปริมาณน้ำ 60,826 ล้านลูกบาศก์เมตร (74%) น้อยกว่าปี 2566 จำนวน 4,005 ล้านลูกบาศก์เมตร มีปริมาณน้ำใช้การ 36,613 ล้านลูกบาศก์เมตร (63%) มีอ่างเก็บน้ำที่ต้องเฝ้าระวังน้ำน้อย (ปริมาณน้ำต่ำกว่าเกณฑ์เก็บกักต่ำสุด (Lower Rule Curve)) 3 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำสิริกิติ์ อ่างเก็บน้ำกระเสียว และอ่างเก็บน้ำคลองสียัด

              2.2 สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ภาคใต้

                    อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคให้มี 2 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำรัชชประภา และอ่างเก็บน้ำบางลาง มีปริมาณน้ำรวม 5,609 ล้านลูกบาศก์เมตร (79%) โดยอ่างเก็บน้ำรัชชประภามีปริมาณน้ำ 4,382 ล้านลูกบาศก์เมตร (78%) และอ่างเก็บน้ำบางลาง มีปริมาณน้ำ 1,227 ล้านลูกบาศก์เมตร (84%) 

              2.3 คาดการณ์อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ภาคใต้

                    อ่างเก็บน้ำบางลาง ความจุ 1,454 ล้านลูกบาศก์เมตร ปัจจุบัน (ข้อมูลวันที่ 8 มกราคม 2567) มีปริมาตรน้ำ 1,227 ล้านลูกบาศก์เมตร (84%) ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างฯ 12.68 ล้านลูกบาศก์เมตร และระบายน้ำวันละ 12.04 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งคณะทำงานบริหารจัดการน้ำเขื่อนบางลางมีมติให้รักษาการระบายน้ำไว้ที่วันละ 12 ล้านลูกบาศก์เมตรจนกว่าปริมาตรน้ำในเขื่นบางลางลดลงเหลือ 1,200 ล้านลูกบาศก์เมตร จากนั้นกำหนดให้มีการหารือร่วมกันในการปรับลดแผนการระบายน้ำต่อไป

          3. สถานการณ์น้ำในลำน้ำและการคาดการณ์

          สถานการณ์น้ำในลำน้ำสำคัญในจังหวัดชายแดนใต้ แม่น้ำปัตตานี แม่น้ำสายบุรี คลองตันหยงมัส และแม่น้ำโก-ลก ปัจจุบันระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่งอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก (ปริมาณน้ำมากกว่า 80% ของความจุลำน้ำ) และคาดการณ์ 7 วันล่วงหน้าพบว่า แม่น้ำปัตตานี ณ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี ระดับน้ำจะเอ่อล้นตลิ่งประมาณ 0.10 เมตรในวันที่ 10 มกราคม 2567 บริเวณบ้านบริดอและพื้นที่ลุ่มต่ำ

          4. สถานการณ์น้ำอุทกภัยในพื้นที่

              4.1 พื้นที่เสียงน้ำหลากดินถล่ม

                    ในช่วงวันที่ 1-8 มกราคม 2567 ไม่พบพื้นที่แจ้งอพยพน้ำหลากดินถล่ม

               4.2 พื้นที่เกิดอุทกภัย

                    จากสถานการณ์มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรง ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณเกาะสุมาตราและทะเลอันดามันตอนล่าง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ส่งผลให้เกิดอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ในช่วงวันที่ 1- 8 มกราคม 2567 จำนวน 8 อำเภอ 3 จังหวัด ได้แก่ อ.เมืองปัตตานี อ.หนองจิก จ.ปัตตานี อ.สายบุรี อ.เมืองยะลา อ.รามัน จ.ยะลา และ อ.สุไหงปาดี อ.เจาะไอร้อง อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส

               ศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคใต้ ร่วมกับ ศอ.บต. กรมชลประทาน การไฟฟ้าผายผลิตแห่งประเทศไทย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานในพื้นที่ เข้าให้การช่วยเหลือและเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว ซึ่งได้สั่งการเร่งระบายน้ำ และสำรวจฟื้นฟู และเพื่อเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ฝนตกหนักระลอกถัดไปช่วงวันที่ 13-15 มกราคม 2567 ต่อไป

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 9 มกราคม 2567

 

 

1183

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

SME 720x100 66

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

gen 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!