WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การลงนามพิธีสารฉบับที่ 2 เพื่อแก่ไขความกลงเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเสีย-นิวซีแลนด์

Gov 32

การลงนามพิธีสารฉบับที่ 2 เพื่อแก่ไขความกลงเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเสีย-นิวซีแลนด์

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้

          1. เห็นชอบร่างพิธีสารฉบับที่ 2 เพื่อแก้ไขความตกลงเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ และเอกสารแนบท้าย

          2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ลงนามในร่างพิธีสารฉบับที่ 2 เพื่อแก้ไขความตกลงเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ ทั้งนี้ หากมีการแก้ไขถ้อยคำที่มิใช่สาระสำคัญและไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ขอให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้ผู้ลงนามเป็นผู้ใช้ดุลยพินิจในเรื่องนั้นๆ โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก

          3. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ดำเนินการออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ลงนามในร่างพิธีสารฉบับที่ 2 เพื่อแก้ไขความตกลงเพื่อจัดเขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์

          4. นำเสนอรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อพิธีสารฉบับที่ 2 เพื่อแก้ไขความตกลงเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ และเอกสารแนบท้าย

          5. มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้พิธีสารฉบับที่ 2 เพื่อแก้ไขความตกลงเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ มีผลใช้บังคับ 60 วัน หลังจากวันที่ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสมาชิกอาเซียนอย่างน้อย 4 ประเทศ ได้นำส่งสัตยาบันสารให้เลขาธิการอาเซียนแล้ว สำหรับสมาชิกที่เหลือจะมีผลใช้บังคับ 60 วัน หลังจากวันที่สมาชิกนั้น ได้ทำการนำส่งสัตยาบันสารให้เลขาธิการอาเชียน

          6. มอบหมายให้ กต. ดำเนินการนำส่งสัตยาบันสารของพิธีสารฉบับที่ 2 เพื่อแก้ไขความตกลงเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ ให้แก่เลขาธิการอาเซียนเพื่อรับทราบการให้สัตยาบันพิธีสารดังกล่าว เมื่อรัฐสภามีมติเห็นชอบตามข้อ 4 แล้ว

          สาระสำคัญ

          1) ร่างพิธีสารฉบับที่ 2 เพื่อแก้ไขความตกลงเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (ASEAN-Australia-New Zealand Free Trade Area: AANZFTA) ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ มีสาระสำคัญเป็นการยกระดับและเปลี่ยนแปลงพันธกรณีตามความตกลง AANZFTA ฉบับปัจจุบันให้ครอบคลุมข้อผูกพันด้านการค้า การบริการ การลงทุน และประเด็นด้านเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) เป็นพื้นฐานในการเจรจา ซึ่งมีการแก้ไขเอกสารแนบท้ายความตกลง AANZFTA ที่มีข้อบทรวมทั้งสิ้น 21 บท และ 4 ภาคผนวก โดยมี (1) บทบัญญัติที่ปรับปรุงความตกลงเดิม จำนวน 13 บท เช่น มีมาตรการในด้านพิธีการศุลกากรที่กำหนดแนวทางในการตรวจสอบสินค้าก่อนส่งออกและตรวจสอบภายหลังจากการตรวจปล่อยสินค้าแล้ว การใช้ระบบการเชื่อมโยงข้อมูสอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียว (Single Window) การผูกพันหลักการ Ratchet และ Most Favoured Nation Treatment (MFN) ที่เป็นการให้สิทธิประโยชน์กับนักลงทุนของประเทศสมาชิกโดยอัตโนมัติ หากมีการปรับปรุงกฎหมายและขยายสิทธิประโยชน์ให้กับประเทศภาคีในอนาคต และการสะสมถิ่นกำเนิดแบบเต็มส่วน (Full Cumulation) มาบังคับใช้ เพื่ออนุญาตให้ประเทศสมาชิกสามารถนำวัตถุดิบที่ได้นำเข้าจากประเทศสมาชิกอื่นมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าเสมือนมีถิ่นกำเนิดในประเทศตัวเอง (2) บทบัญญัติที่เพิ่มใหม่ จำนวน 3 บท เช่น การพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิกที่ครอบคลุมเรื่องสภาพภูมิอากาสและสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจสีเขียว เสรษฐกิจสีน้ำเงิน เศรษฐกิจหมุนเวียน พลังงานและแรงงาน ซึ่งถือเป็นความตกลงฉบับแรกของอาเซียนที่มีบทการค้าและการพัฒนาที่ยั่งยืน และมีการส่งเสริมการแบ่งปันแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (MSMEs) ระหว่างกัน รวมทั้งมีการเพิ่มมาตรการขจัดการกีดกันทางการค้า ทั้งในรูปแบบภาษีและมิไช่ภาษีสำหรับสินค้าจำเป็นในช่วงวิกฤตด้านมนุษยธรรม โรคระบาดหรือสถานการณ์การแพร่กระจายของโรคระบาด (Non-Tariff Measures on Essential Goods during Humanitarian Crises, Epidemics or Pandemics) ซึ่งเป็นประเด็นใหม่ที่ยังไม่เคยบรรจุอยู่ในความตกลงฉบับอื่น และ (3) บทบัญญัติที่ไม่ได้แก้ไข รวม 5 บท เช่น บทบัญญัติเกี่ยวกับสถาบัน มาตรการปกป้อง และทรัพย์สินทางปัญญา

          2) การผูกพันของไทยภายใต้ร่างพิธีสารฉบับนี้จะทำให้ไทยได้รับประโยชน์ในการเปิดตลาดการค้า การบริการ การลงทุน และประเด็นด้านเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นการช่วยขยายห่วงโซ่อุปทานและส่งเสริมความคล่องตัวทางการค้าในภูมิภาค ช่วยขจัดการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก อันจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยต่อไป 

          3) ร่างพิธีสารฉบับที่ 2 เพื่อแก้ไขความตกลง AANZFTA จะมีผลใช้บังคับ 60 วันหลังจากวันที่ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และประเทศสมาชิกอาเซียนอย่างน้อย 4 ประเทศ นำส่งสัตยาบันสารแก่เลขาธิการอาเซียนแล้ว และจะมีผลใช้บังคับกับประเทศสมาชิกที่ให้สัตยาบันภายหลังจากนั้นใน 60 วัน หลังจากประเทศสมาชิกนั้นได้นำส่งสัตยาบันสารของตนแก่เลขาธิการอาเซียน ซึ่งปัจจุบันพิธีสารฉบับนี้ยังไม่มีผลใช้บังคับแก่ประเทศสมาชิกใด เนื่องจากยังคงเหลือประเทศสมาชิกที่ยังไม่ได้ลงนามอีก 6 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย ฟิสิปปินส์ กัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมียนมา และเวียดนาม [ประเทศสมาชิกทุกประเทศ รวม 12 ประเทศจะต้องลงนามในพิธีสารดังกล่าวให้ครบทุกประเทศก่อน หลังจากนั้นประเทศสมาชิกแต่ละประเทศจะต้องนำพิธีสารไปดำเนินการตามกระบวนการภายในของตน (ให้สัตยาบัน) แล้วนำสัตยาบันสารส่งให้แก่เลขาอิการอาเซียน อย่างไรก็ตาม สำหรับประเทศไทยการลงนามในพิธีสารฉบับนี้จะดำเนินการได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (การลงนามยังไม่ใช่ขั้นตอนการแสดงเจตนาให้มีผลผูกพัน เนื่องจากร่างพิธีสารฉบับนี้เป็นการกำหนดขั้นตอนการลงนามและขั้นตอนการแสดงเจตนาให้มีผลผูกพันแยกออกจากกัน) และต้องเสนอรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบตามมาตรา 178 วรรคสองและวรรคสาม ของรัฐธรรมนูญฯ ที่กำหนดให้หนังสือสัญญาเกี่ยวกับการค้าเสรี อันเป็นหนังสือสัญญาที่อาจมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม หรือการค้าและการลงทุนของประเทศอย่างกว้างขวางต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา และเมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้วจึงจะดำเนินการเพื่อแสดงเจตนาให้มีผลผูกพันตามร่างพิธีสารฉบับที่ 2 ต่อไป

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 2 มกราคม 2567

 

 

1017

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

SME 720x100 66

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

gen 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!