WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ครั้งที่ 17 และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา ครั้งที่ 10 รวมทั้งการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

Gov 18

ผลการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ครั้งที่ 17 และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา ครั้งที่ 10 รวมทั้งการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

          คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน (ASEAN Defence Ministers’ Meeting: ADMM) (การประชุม ADMM) ครั้งที่ 17 และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา (ASEAN Defence Ministers’ Meeting Plus: ADMM-Plus) (การประชุม ADMM-Plus) ครั้งที่ 10 รวมทั้งการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามที่กระทรวงกลาโหม (กท.) เสนอ

          สาระสำคัญ

          กห. รายงานว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้เข้าร่วมประชุม ADMM ครั้งที่ 17 และการประชุม ADMM - Plus ครั้งที่ 10 รวมทั้งการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 15 - 17 พฤศจิกายน 2566 ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยมีนาย Prabowo Subianto รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐอินโดนีเซีย เป็นประธาน โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

          1. การประชุม ADMM ครั้งที่ 17

          ที่ประชุมฯ ได้มีการรับรอง อนุมัติ และรับทราบเอกสารผลลัพธ์ ปี 2566 จำนวนทั้งสิ้น 7 ฉบับ ได้แก่ (1) ปฏิญญาร่วมจาการ์ตาของการประชุม ADMM ว่าด้วยสันติภาพ ความเจริญรุ่งเรือง และความมั่นคงของภูมิภาค (2) เอกสารแนวความคิดว่าด้วยแนวทางการปฏิบัติด้านการป้องกันประเทศเกี่ยวกับมุมมองอาเซียนต่ออินโด - แปซิฟิก (3) เอกสารแนวความคิดว่าด้วยการเสริมสร้างความประสานสอดคล้องของกิจกรรมความร่วมมือภายใต้กรอบ ADMM และ ADMM - Plus (4) เอกสารแนวทางปฏิบัติของสาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต ในฐานะผู้สังเกตการณ์การประชุม ADMM และ ADMM - Plus รวมทั้งการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (5) ระเบียบปฏิบัติประจำโครงการอาเซียนอาวเวอร์อาย (6) เอกสารความร่วมมือระหว่างอาเซียน - สหรัฐอเมริกา เพื่อส่งเสริมขีดความสามารถของผู้นำรุ่นใหม่ และ (7) เอกสารเพื่อการหารือว่าด้วยการใช้ทรัพยากรทางทหารในการดำรงไว้ซึ่งความมั่นคงทางอาหารของภูมิภาค รวมทั้งรับทราบพัฒนาการความร่วมมือที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ (1) การจัดทำเอกสารยุทธศาสตร์เพื่อการเตรียมความพร้อมในอนาคตของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน และ (2) รายงานผลการฝึกผสมทางทะเลระหว่างอาเซียน - สาธารณรัฐอินเดีย

          2. การประชุม ADMM - Plus ครั้งที่ 10

          ที่ประชุมฯ ได้มีการรับรองแถลงการณ์ร่วมของการประชุม ADMM - Plus ว่าด้วยบทบาทสตรี สันติภาพ และความมั่นคงของภูมิภาค และได้ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับความมั่นคงของภูมิภาค ตลอดจนภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เช่น การก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และความมั่นคงทางพลังงานและอาหาร รวมทั้งแสดงความห่วงกังวลต่อแนวโน้มสถานการณ์ความตึงเครียดในภูมิภาคต่างๆ เช่น บริเวณทะเลจีนใต้ ยูเครน ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้เน้นย้ำความสำคัญในการพัฒนาขีดความสามารถร่วมกันภายใต้บริบทใหม่ของโลกที่ใช้เทคโนโลยีเป็นพื้นฐาน การแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี โดยคำนึงถึงความเป็นอยู่และความปลอดภัยของประชาชน [เอกสารที่ได้มีการรับรอง/อนุมัติ/รับทราบดังกล่าว (ตามข้อ 1. และข้อ 2.) มีสาระสำคัญไม่แตกต่างจากฉบับที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบไว้เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 (เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ครั้งที่ 17 และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา ครั้งที่ 10)]

          3. การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน + 1 อย่างไม่เป็นทางการ (ADMM+ 1 Informal Meeting) ได้มีการหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นเกี่ยวกับการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างกัน และการสนับสนุนการพัฒนาขีดความสามารถให้กับอาเซียน

          4. การหารือทวิภาคีระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศสมาชิกอาเซียน และประเทศคู่เจรจา จํานวน 6 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาชนจีน สหรัฐอเมริกา และเครือรัฐออสเตรเลีย รวมทั้งเลขาธิการอาเซียน เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างกัน รวมถึงผลักดันประเด็นสำคัญของกระทรวงกลาโหม

          5. กระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐอินโดนีเซียได้ส่งมอบตำแหน่งประธานการประชุม ADMM และ ADMM - Plus ในปี พ.ศ. 2567 ให้แก่กระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และประกาศแนวคิดหลักในการเป็นประธานเพื่อขับเคลื่อนอาเซียนให้เกิดสันติสุข ความมั่นคง และความเข้มแข็งของภูมิภาคอย่างยั่งยืน (ASEAN: Together for Peace, Security and Resilience)

          ประโยชน์ที่จะได้รับ

          การเข้าร่วมประชุมฯ ในครั้งนี้เป็นโอกาสให้ไทยได้ร่วมเสริมสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคง และได้รับประโยชน์จากความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับคู่เจรจา ในการร่วมหารือแลกเปลี่ยนมุมมองต่อสภาวะแวดล้อมความมั่นคงในภูมิภาค และการเสริมสร้างการปฏิสัมพันธ์และความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจา

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 2 มกราคม 2567

 

 

1016

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kbank 720x100 66

SME 720x100 66QIC 720x100

วิริยะ 720x100AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

iconmotor

gen 720x100

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!