WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ประเภท 3 หรือประเภท 4 พ.ศ. ....

Gov 10

ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ประเภท 3 หรือประเภท 4 พ.ศ. ....

          คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ประเภท 3 หรือประเภท 4 พ.ศ. ....ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้ รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานอัยการสูงสุดไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานอัยการสูงสุดไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

          สาระสำคัญ

          1. ร่างกฎกระทรวงที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ เป็นการออกกฎหมายลำดับรองเพื่อใช้บังคับแทนกฎกระทรวง (กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การขอรับใบแทนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาตจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 เกินปริมาณที่กำหนดไว้ตามมาตรา 8 (5) พ.ศ. 2551 กฎกระทรวงการอนุญาตจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองซึ่ง ยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 พ.ศ. 2563 กฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับผู้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2547 กฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ประเภท 3 หรือประเภท 4 พ.ศ. 2561 และกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2560) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2559 แต่โดยที่พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 ซึ่งบัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2559 แล้ว และให้บรรดากฎกระทรวงยังคงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประมวลกฎหมายยาเสพติดหรือจนกว่าจะมีกฎกระทรวงมาใช้บังคับ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องออกกฎกระทรวงในเรื่องนี้ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตและการอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 เช่น มอร์ฟีน โคคาอีน ฝิ่นยา และวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 เช่น คีตามีน (ยาในกลุ่มยาสลบ) ซูโดอีเฟดรีน (ยาในกลุ่มยาแก้คัดจมูก) ประเภท 3 เช่น อะโมบาร์บิทาล (ยาในกลุ่มยานอนหลับ) เพนตาโซซีน (ยาในกลุ่มยาแก้ปวด) หรือประเภท 4 เช่น ไดอะซีแพม (ยาในกลุ่มยานอนหลับ) ลอราซีแพม (ยาในกลุ่มยาช่วยคลายกังวล) โดยในการขออนุญาตให้มีไว้ในครอบครองตามร่างกฎกระทรวงได้กำหนดวัตถุประสงค์ในการดำเนินการเพื่อผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 (มีลักษณะเป็นตำรับยา) เพื่อการบำบัดรักษาหรือป้องกันโรคให้แก่ผู้ป่วยหรือสัตว์ป่วยในทางการแพทย์ เพื่อการศึกษา วิเคราะห์ หรือวิจัยทางการแพทย์หรือวิทยาศาสตร์ เพื่อประโยชน์ทางอุตสาหกรรม เพื่อใช้ประจำในการปฐมพยาบาลหรือกรณีเกิด เหตุฉุกเฉินในเรือหรือเครื่องบินที่ใช้ในการขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศที่จดทะเบียนในราชอาณาจักร และเพื่อการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ดังนั้น ผู้ขออนุญาตให้มีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 และวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ประเภท 3 หรือประเภท 4 จึงมีทั้งหน่วยงานของรัฐ สภากาชาดไทย สถานพยาบาลและภาคเอกชนที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการตรวจวิเคราะห์ มีโครงการศึกษาวิจัย หรือการอุตสาหกรรม โดยร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้ได้ปรับปรุงเนื้อหาจากกฎหมายปัจจุบัน เช่น กำหนดให้ผู้อนุญาตพิจารณาคำขอให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน โดยจะขยายระยะเวลาพิจารณาไม่ได้ (จากเดิมสามารถขยายระยะเวลาได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 30 วัน) กำหนดคุณสมบัติของผู้ขออนุญาต โดยแยกคุณสมบัติออกตามวัตถุประสงค์ของการอนุญาตครอบครองเพื่อให้เกิดความชัดเจน กำหนดให้ใบอนุญาตมีอายุจนถึงวันที่ 31 ธันวาคมของปีที่สองนับจากปีที่ได้รับอนุญาต (จากเดิมกำหนดให้มีอายุถึงวันที่ 31 ธันวาคมของปีที่ได้รับอนุญาต) เป็นต้น เพื่อให้การขออนุญาตและการอนุญาตเกี่ยวกับการมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 และวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ประเภท 3 หรือประเภท 4 สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพอันเป็นประโยชน์ในการควบคุมกำกับดูแลและป้องกันการนำยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ดังกล่าวไปใช้ในทางที่ผิด ซึ่งคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดได้เห็นชอบด้วยแล้ว และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบในหลักการ

          2. ร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้เป็นการออกฎหมายลำดับรองซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายยาเสพติดที่มีผลใช้บังคับ (เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2564) ภายหลังพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำ ร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ ซึ่งจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 8 ธันวาคม 2566 อย่างไรก็ตาม กระทรวงสาธารณสุขได้เสนอขอขยายระยะเวลาการดำเนินการออกกฎกระทรวงในเรื่องนี้ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2566 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองซึ่งออกตามความในประมวลกฎหมาย ยาเสพติด ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 26 ธันวาคม 2566

 

 

12858

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kbank 720x100 66

SME 720x100 66QIC 720x100

วิริยะ 720x100AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

iconmotor

gen 720x100

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!