WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

แผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2568 - 2571)

Gov 04

แผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2568 - 2571)

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2568 - 2571) ตามที่คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐเสนอ เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาจัดทำกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามมาตรา 15 แห่ง พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังฯ และเพื่อให้หน่วยงานของรัฐนำไปใช้ประกอบการพิจารณาในการจัดเก็บหรือหารายได้ การจัดทำงบประมาณ และการก่อหนี้ของหน่วยงานของรัฐ ตามมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังฯ ต่อไป

          สาระสำคัญของแผนการคลังระยะปานกลางฯ

          แผนการคลังระยะปานกลางฯ ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 สถานะและประมาณการเศรษฐกิจ ส่วนที่ 2 สถานะและประมาณการการคลัง และส่วนที่ 3 เป้าหมายและนโยบายการคลัง โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

          1. สถานะและประมาณการเศรษฐกิจ

              ในปี 2568 คาดว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) จะขยายตัวในช่วงร้อยละ 3.1 - 4.1 (ค่ากลางร้อยละ 3.6) และอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในช่วงร้อยละ 1.5 - 2.5 สำหรับในปี 2569 และ 2570 คาดว่า GDP จะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 2.9 - 3.9 (ค่ากลางร้อยละ 3.4) และ ในปี 2571 จะขยายตัวร้อยละ 2.7 - 3.7 (ค่ากลางร้อยละ 3.2) สำหรับอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในปี 2569 - 2571 จะอยู่ในช่วงร้อยละ 1.5 - 2.5

          2. สถานะและประมาณการการคลัง

              2.1 ประมาณการรายได้รัฐบาลสุทธิปีงบประมาณ 2568 - 2571 เท่ากับ 2,887,000 3,040,000 3,204,000 และ 3,394,000 ล้านบาท ตามลำดับ

              2.2 ประมาณการงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ 2568 - 2571 เท่ากับ 3,600,000 3,743,000 3,897,000 และ 4,077,000 ล้านบาท ตามลำดับ

              2.3 จากประมาณการรายได้รัฐบาลสุทธิและงบประมาณรายจ่ายดังกล่าวในปีงบประมาณ 2568 - 2571 รัฐบาลจะขาดดุลงบประมาณจำนวน 713,000 703,000 693,000 และ 683,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.56 3.33 3.11 และ 2.92 ต่อ GDP ตามลำดับ

              2.4 ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นปีงบประมาณ 2566 มีจำนวน 11,131,634 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 62.44 ของ GDP และประมาณการสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP สำหรับปีงบประมาณ 2568 - 2571 เท่ากับร้อยละ 63.73 64.07 และ 63.61 ตามลำดับ

          3. เป้าหมายและนโยบายการคลัง

              ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจและสังคมเป็นวงกว้าง ปัจจุบันภาคเศรษฐกิจอยู่ระหว่างการฟื้นตัวเพื่อเข้าสู่สภาวะปกติ โดยเครื่องมือทางการคลังยังคงมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่องท่ามกลางความเสี่ยงจากความผันผวนในระบบเศรษฐกิจที่ยังอยู่ในเกณฑ์สูง โดยเฉพาะแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในตลาดพันธบัตรที่สูงขึ้นจากการดำเนินนโยบายทางการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางทั่วโลกเพื่อลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจและชะลออัตราเงินเฟ้อที่เกิดจากการดำเนินมาตรการในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ผ่านมา ทำให้ภาครัฐมีภาระต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ ประกอบกับการก้าวเข้าสู่มิติการพัฒนาประเทศอย่างรอบด้านภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาทางเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์ของชาติมหาอำนาจ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันพร้อมรับความเสี่ยงต่างๆ หรือสถานการณ์ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ควบคู่กับการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ภาครัฐจึงมีความจำเป็นในการดำเนินนโยบายการคลังเพื่อตอบสนองความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสม และทันการณ์

              ดังนั้น ในการดำเนินนโยบายการคลังระยะปานกลาง ภาครัฐยังคงเสริมสร้างความเข้มแข็งเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนทางการคลังในอนาคต ภายใต้แนวคิด “Revival” ที่มุ่งเน้นสนับสนุนการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเพื่อสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงการรักษาวินัยการเงินการคลัง (Fiscal Discipline) อย่างเคร่งครัด ให้ความสำคัญกับการเพิ่มศักยภาพทางการคลัง (Fiscal Consolidation) ผ่านการสร้างความเข้มแข็งด้านการคลังในด้านต่างๆ ทั้งในส่วนของการพิจารณาจัดลำดับความสำคัญและความจำเป็น ความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และความครอบคลุมจากทุกแหล่งเงินในการใช้จ่ายภาครัฐ ควบคู่ไปกับการทบทวนและยกเลิกมาตรการลดและการเว้นภาษีให้มีเพียงเท่าที่จำเป็น การปฏิรูปโครงสร้าง และการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ รวมถึงการบริหารจัดการหนี้สาธารณะอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดขนาดการขาดดุลการคลังและสร้างกันชนทางการคลัง (Fiscal Buffer) ในการบริหารจัดการพื้นที่สำหรับการดำเนินนโยบายที่จำเป็น (Policy Space) ท่ามกลางสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในระยะต่อไป

              สำหรับเป้าหมายการคลังของแผนการคลังฉบับนี้ รัฐบาลยังมีความจำเป็นต้องจัดทำงบประมาณแบบขาดดุลในระยะสั้นเพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพและมุ่งเน้นการปรับลดขนาดการขาดดุลในระยะปานกลาง ทั้งนี้ หากในระยะต่อไป ภาวะเศรษฐกิจไทยสามารถขยายตัวได้อย่างเต็มศักยภาพ ภาครัฐสามารถเสริมสร้างความเข้มแข็งทางการคลังทั้งทางด้านรายได้ รายจ่าย และหนี้สาธารณะได้ เป้าหมายการคลังในระยะยาวจะกำหนดให้รัฐบาลมุ่งสู่การจัดทำงบประมาณสมดุลในระยะเวลาที่เหมาะสม

หน่วย: ล้านบาท

ปีงบประมาณ

2567

2568

2569

2570

2571

รายได้รัฐบาลสุทธิ

2,787,000

2,887,000

3,040,000

3,204,000

3,394,000

อัตราการเพิ่ม (ร้อยละ)

4.5

3.6

5.3

5.4

5.9

งบประมาณรายจ่าย

3,480,000

3,600,000

3,743,000

3,897,000

4,077,000

อัตราการเพิ่ม (ร้อยละ)

9.3

3.4

4.0

4.1

4.6

ดุลการคลัง

(693,000)

(713,000)

(703,000)

(693,000)

(683,000)

ดุลการคลังต่อ GDP (ร้อยละ)

(3.64)

(3.56)

(3.33)

(3.11)

(2.92)

หนี้สาธารณะคงค้าง

11,834,716

12,664,069

13,440,540

14,129,832

14,758,495

หนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP (ร้อยละ)

62.71

63.73

64.23

64.07

63.61

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)

19,022,250

20,049,451

21,112,072

22,252,124

23,409,234

 

หมายเหตุ: อัตราการเพิ่มของประมาณการรายได้รัฐบาลสุทธิปีงบประมาณ 2567 เทียบกับผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิ ปีงบประมาณ 2566 ในขณะที่อัตราการเพิ่มของวงเงินงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ 2567 เทียบกับกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่าย ปีงบประมาณ 2566 

ที่มา: กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

 

          ประโยชน์และผลกระทบ

          การจัดทำแผนการคลังระยะปานกลางฯ จะเป็นแผนแม่บทหลักให้หน่วยงานของรัฐนำไปใช้ประกอบการพิจารณาในการจัดเก็บหรือหารายได้ การจัดทำงบประมาณ และการก่อหนี้ของหน่วยงานของรัฐ ตามมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังฯ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งภาคการคลังของประเทศในด้าน ต่างๆ โดยให้ความสำคัญกับการเพิ่มศักยภาพทางการคลัง (Fiscal Consolidation) เพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนทางการคลังในอนาคต

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 26 ธันวาคม 2566

 

 

12843

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

SME 720x100 66

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

gen 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!