WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2567

Gov 09

การกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2567

          คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 12) ลงวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2566 เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป

          สาระสำคัญ

          คณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 ได้พิจารณาข้อสังเกตของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ในการประชุม ครั้งที่ 10/2566 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2566 แล้ว มีมติเห็นชอบยืนยันการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2567 ตามมติคณะกรรมการค่าจ้าง เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2566 เนื่องจากสูตรการคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่คณะกรรมการค่าจ้างฯ ใช้ประกอบการพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำปี 2567 เป็นสูตรที่คณะกรรมการค่าจ้างฯ ได้เห็นชอบให้คณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดใช้เป็นหลักเกณฑ์การพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำทุกจังหวัดอย่างมีหลักวิชาการบนพื้นฐานข้อมูลทางเศรษฐกิจที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ ดังนั้น การพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2567 ได้ผ่านกระบวนการพิจารณาจากกลไกไตรภาคีระดับจังหวัด และคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 ได้พิจารณาอยู่บนพื้นฐานของความเสมอภาค และรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย เพื่อให้นายจ้างสามารถประกอบธุรกิจอยู่ได้ ลูกจ้างมีรายได้จากค่าจ้างที่เป็นตัวเงินเฉลี่ยต่อเดือนเพิ่มขี้น และการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำจะไม่ได้ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ หรือมีผลทำให้ราคาสินค้าและอัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นจนส่งผลกระทบต่อภาวะการครองชีพของประชาชนโดยทั่วไป โดยอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2567 จำแนกเป็น 17 อัตรา ดังนี้

 

ลำดับ

อัตรา

ค่าจ้างขั้นต่ำ

(บาทต่อวัน)

จำนวน

(จังหวัด)

เขตท้องที่บังคับใช้

1

370

1

จังหวัดภูเก็ต

2

363

6

กรุงเทพมหานคร จังหวัดนครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร

3

361

2

จังหวัดชลบุรี และระยอง

4

352

1

จังหวัดนครราชสีมา

5

351

1

จังหวัดสมุทรสงคราม

6

350

6

จังหวัดขอนแก่น ฉะเชิงเทรา เชียงใหม่ ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา และสระบุรี

7

349

1

จังหวัดลพบุรี

8

348

3

จังหวัดนครนายก สุพรรณบุรี และหนองคาย

9

347

2

จังหวัดกระบี่ และตราด

10

345

15

จังหวัดกาญจนบุรี จันทบุรี เชียงราย ตาก นครพนม บุรีรัมย์ ประจวบคีรีขันธ์ พังงา พิษณุโลก มุกดาหาร สกลนคร สงขลา สระแก้ว สุราษฎร์ธานี และอุบลราชธานี

11

344

3

จังหวัดชุมพร เพชรบุรี และสุรินทร์

12

343

3

จังหวัดนครสวรรค์ ยโสธร และลำพูน

13

342

5

จังหวัดกาฬสินธุ์ นครศรีธรรมราช บึงกาฬ เพชรบูรณ์ และร้อยเอ็ด

14

341

5

จังหวัดชัยนาท ชัยภูมิ พัทลุง สิงห์บุรี และอ่างทอง

15

340

16

จังหวัดกำแพงเพชร พิจิตร มหาสารคาม แม่ฮ่องสอน ระนอง ราชบุรี ลำปาง เลย ศรีสะเกษ สตูล สุโขทัย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี

16

338

4

จังหวัดตรัง น่าน พะเยา และแพร่

17

330

3

จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี และยะลา

 

          ทั้งนี้ คณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 จะนำข้อสังเกตของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ปรับปรุงสูตรการคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรมต่อ ทั้งนายจ้างและลูกจ้างให้มากยิ่งขึ้น โดยให้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการวิเคราะห์และปรับปรุงสูตรการคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เพื่อจะได้ใช้เป็นสูตรการคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของคณะกรรมค่าจ้างต่อไป

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 26 ธันวาคม 2566

 

 

12842

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kbank 720x100 66

SME 720x100 66QIC 720x100

วิริยะ 720x100AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

iconmotor

gen 720x100

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!