WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รายงานผลการปฏิบัติงานของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

Gov 09

รายงานผลการปฏิบัติงานของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบ ดังนี้

          1. รับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตามที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเสนอ และให้เสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป

          2. เห็นชอบให้นำความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงยุติธรรม สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรี และนำเสนอ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป

          3. ให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินรับความเห็นของกระทรวงยุติธรรม สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

          สาระสำคัญของเรื่อง

          รายงานผลการปฏิบัติงานของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีรายละเอียดที่สำคัญรวม 8 ด้าน คือ (1) ผลการปฏิบัติงานด้านการป้องกันการฟอกเงิน (2) ผลการปฏิบัติงานด้านการปราบปรามการฟอกเงิน (3) ผลการปฏิบัติงานด้านการกำกับและตรวจสอบผู้มีหน้าที่รายงาน (4) ผลการปฏิบัติงานด้านความร่วมมือและพัฒนา (5) การพัฒนาองค์การ (6) ผลการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การตรวจพิสูจน์หลักฐานทางคอมพิวเตอร์ และการตรวจสอบการกระทำความผิดทางเทคโนโลยี (7) ผลการปฏิบัติงานด้านการแก้ไขกฎหมายและออกกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และ (8) ผลการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รายละเอียด ดังนี้

          1. ผลการปฏิบัติงานด้านการป้องกันการฟอกเงิน

              1.1 การรับเรื่องราวร้องเรียน ร้องทุกข์ แจ้งเบาะแส 

              สำนักงาน ปปง. จัดตั้งศูนย์รับเรื่องราวร้องเรียน ร้องทุกข์ แจ้งเบาะแส พร้อมกำหนด เลขหมายโทรศัพท์ 4 ตัว เพื่อความสะดวกและง่ายต่อการจดจำของประชาชน “สายด่วน ปปง. 1710” เพื่อให้บริการรับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ แจ้งเบาะแสเกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงิน และการก่อการร้าย โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ได้รับเรื่อง จำนวน 1,454 เรื่อง ส่วนใหญ่เป็นการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด การค้ามนุษย์/ค้าหญิง และเด็ก และการฉ้อโกงประชาชน เป็นต้น

              1.2 การรับรายงานการทำธุรกรรม

              ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีจำนวนผู้มีหน้าที่รายงานการทำธุรกรรม จำนวน 21,141 ราย แบ่งเป็นผู้มีหน้าที่รายงานตามมาตรา 13 สถาบันการเงิน จำนวน 6,285 ราย และตามมาตรา 16 ผู้ประกอบอาชีพ จำนวน 14,856 ราย และดำเนินการปรับปรุงฐานข้อมูลผู้มีหน้าที่รายงานการทำธุรกรรม จำนวน 21 กลุ่มธุรกิจ ซึ่งสำนักงาน ปปง. ได้รับรายงานการทำธุรกรรม จำนวนทั้งสิ้น 26.49 ล้านธุรกรรม

              1.3 การดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบและวิเคราะห์ธุรกรรม

              ได้ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบและวิเคราะห์ธุรกรรมเพื่อวิเคราะห์หาความผิดปกติของธุรกรรมทางการเงินที่อาจเชื่อมโยงเกี่ยวกับการกระทำความผิดมูลฐานหรือความผิดตามกฎหมายอื่น โดยส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจำนวนทั้งสิ้น 487 คดี และได้นำธุรกรรมที่ได้รับรายงานมาใช้ประกอบการวิเคราะห์ รวมจำนวนทั้งสิ้น 666,381 ธุรกรรม

              1.4 การจัดทำรายงานวิเคราะห์เชิงยุทธศาสตร์

              ได้มีการจัดทำรายงานวิเคราะห์เชิงยุทธศาสตร์ จำนวน 15 ฉบับ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เพื่อนำไปกำหนดนโยบายและมาตรการเป็นการรวบรวมข้อมูลสถิติเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงิน

              1.5 การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ 

              มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานภายในประเทศ จำนวน 6,128 ครั้ง และหน่วยงานต่างประเทศ จำนวน 402 ครั้ง

              1.6 การส่งเสริมและประสานความร่วมมือกับภาคประชาชน

                    1.6.1 มีโครงการสายลับ ปปง. เพื่อส่งเสริมความร่วมมือของประชาชนเกี่ยวกับการให้ข้อมูลข่าวสารในการสอบสวนดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดมูลฐาน ดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สิน ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ปัจจุบันมีผู้สมัครสายลับ ปปง. จำนวน 75,449 ราย

                    1.6.2 ได้ประสานความร่วมมือกับภาคประชาชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และนโยบายร่วมกับสำนักงาน ปปง. รวมถึงร่วมทำงานกับสำนักงาน ปปง. โดยได้มีการจัดสัมมนาให้แก่บุคคลภายนอก และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายให้กับประชาชน ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด

              1.7 การประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภายในประเทศ

              ได้จัดทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) / บันทึกข้อตกลงกับหน่วยงานภายในประเทศเพื่อประโยชน์ในการประสานงานและการดำเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน รวมทั้งสิ้น 44 ฉบับ

          2. ผลการปฏิบัติงานด้านการปราบปรามการฟอกเงิน

              2.1 ผลการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สิน (ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินฯ) 

              ได้ดำเนินการตรวจสอบ สืบสวน สอบสวน และรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อดำเนินการกับทรัพย์สินผู้กระทำความผิดทั้งความผิดมูลฐานที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การฟอกเงินฯ และกฎหมายอื่น ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 คกก. ธุรกรรมได้มีคำสั่งมอบหมายพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบธุรกรรมหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด จำนวน 692 คำสั่ง คำสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สิน จำนวน 210 คำสั่ง มูลค่าทรัพย์สิน 3,658.79 ล้านบาท คำสั่งเพิกถอนการยึดหรืออายัดทรัพย์สิน จำนวน 35 คำสั่ง มูลค่าทรัพย์สิน 254.73 ล้านบาท เรื่องที่มีการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหาย จำนวน 45 เรื่อง มูลค่าทรัพย์สิน 823.10 ล้านบาท เรื่องที่เห็นชอบให้ส่งพนักงานอัยการพิจารณา จำนวน 184 เรื่อง มูลค่าทรัพย์สิน 2,902.85 ล้านบาท

              2.2 การบริหารจัดการทรัพย์สินที่ได้จากการยึดหรืออายัดทรัพย์สิน

              ดำเนินการเก็บรักษาทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดทรัพย์สิน จำนวนทั้งสิ้น 38,438.54 ล้านบาท ขายทอดตลาด จำนวน 23 ครั้ง ขายทรัพย์สินได้ จำนวน 743 รายการ คิดเป็นมูลค่าทรัพย์สิน 167.77 ล้านบาท นำทรัพย์สินออกบริหาร จำนวน 1,419 รายการ มีรายได้จากการบริหาร 21.11 ล้านบาท การนำทรัพย์สินที่ยึดหรือายัดส่งคืนเจ้าของทรัพย์สิน จำนวนทั้งสิ้น 4,880.33 ล้านบาท นำทรัพย์สินที่ศาลมีคำสั่งให้ตกเป็นรายได้แผ่นดิน จำนวนทั้งสิ้น 2,746.57 ล้านบาท

              2.3 การดำเนินคดีอาญาฐานฟอกเงิน

              ผู้กระทำความผิดตาม ม. 5 แห่ง พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีการร้องทุกข์กล่าวโทษ จำนวน 10 เรื่อง และบูรณาการสืบสวนร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมบุคคลตามหมายจับข้อหาฟอกเงิน จำนวน 112 ราย

              2.4 การดำเนินงานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงิน แก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง พ.ศ. 2559 

              ได้ดำเนินการประกาศรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนดตาม ม. 6 (UN Sanction List) จำนวน 8 คำสั่ง บุคคลที่ถูกกำหนดตาม ม. 7 (Thailand Sanction List) จำนวน 40 รายชื่อ และมีการดำเนินคดีอาญาฐานสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายกับผู้กระทำความผิดตาม ม. 15 จำนวนทั้งสิ้น 3 เรื่อง

          3. ผลการดำเนินงานด้านการกำกับและตรวจสอบผู้มีหน้าที่รายงาน

              3.1 การศึกษา พัฒนา นโยบาย มาตรการและแนวทางการกำกับและตรวจสอบ เพื่อให้ การกำกับดูแลการดำเนินงานของสถาบันการเงินและของผู้มีหน้าที่รายงานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ให้สามารถรองรับมาตรฐานสากลในการป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้าน การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (AML/CFT)

              3.2 การตรวจสอบและประเมินผู้มีหน้าที่รายงาน

              สำนักงาน ปปง. ได้ตรวจสอบและประเมินผู้มีหน้าที่รายงาน ตามมาตรา 13 (สถาบันการเงิน) ตรวจประเมิน จำนวน 508 แห่ง ตรวจสอบ จำนวน 25 แห่ง เข้าแนะนำ จำนวน 101 แห่ง การติดตามจำนวน 3 แห่ง และตามมาตรา 16 (ธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน) ตรวจประเมิน จำนวน 738 แห่ง ตรวจสอบ จำนวน 24 แห่ง เข้าแนะนำ จำนวน 212 แห่ง การติดตาม จำนวน 12 แห่ง 

              3.3 โครงการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงและการประเมินความเสี่ยงฯ

              สำนักงาน ปปง. ได้จัดทำคู่มือการปฏิบัติสำหรับกลุ่มสหกรณ์ จำนวน 4,000 แห่ง พร้อมทั้งจัดอบรมผ่านสื่อออนไลน์ให้กับผู้มีหน้าที่รายงาน จำนวน 354 แห่ง

              3.4 ผลการดำเนินงานด้านการพัฒนามาตรฐานและเผยแพร่ผู้มีหน้าที่รายงาน

              สำนักงาน ปปง. ได้จัดอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย มีผู้ผ่านการอบรมทั้งสิ้น จำนวน 354 แห่ง จำนวน 818 ราย

          4. ผลการปฏิบัติงานด้านความร่วมมือและพัฒนา

              4.1 การส่งเสริมและประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างประเทศ

              สำนักงาน ปปง. ได้จัดทำบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวกรองทางการเงินเพื่อป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เพื่อส่งเสริมและประสานความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินกับองค์กรต่างๆ ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ รวมจำนวน 55 ฉบับ (จำนวน 52 ประเทศ) และประเทศไทยโดยสำนักงาน ปปง. เข้าร่วมในกลุ่มองค์กรระหว่างประเทศเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย รวมทั้งพัฒนาขีดความสามารถขององค์กรและบุคลากรในด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินโดยส่งบุคลากรเข้า ร่วมประชุม/สัมมนาและฝึกอบรมระหว่างประเทศ

              4.2 ผลการดำเนินงานด้านการประเมินความสี่ยงด้านการฟอกเงิน และการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง เพื่อให้ทราบถึงภัยคุกคาม จุดเปราะบาง ผลกระทบ และความเสี่ยงของประเทศ และใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และมาตรการเพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว รวมทั้งมีการดำเนินการที่สอดคล้องกับความเสี่ยงมากยิ่งขึ้น ผลการประเมินความเสี่ยงสรุปได้ดังนี้

                    4.2.1 ความเสี่ยงด้านการฟอกเงิน ความผิดทุจริตต่อหน้าที่ราชการและยาเสพติดยังคงเป็นความผิดมูลฐานที่มีความเสี่ยงสูงสุด 2 อันดับแรก และช่องทางที่อาจถูกใช้กระทำความผิดที่มีความเสี่ยงสูงสุด ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินเฉพาะกิจ เป็นต้น

                    4.2.2 ความเสี่ยงด้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย พฤติกรรมที่มีความเสี่ยง ได้แก่ การระดมทุน พฤติกรรมการเคลื่อนย้ายเงินทุน ได้แก่ ผ่านบุคคลเป็นพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงสูง พฤติกรรมการนำเงินทุนไปใช้ ได้แก่ การนำไปใช้ก่อเหตุ พฤติกรรมที่เชื่อมโยงกับการสนับสนุนองค์การก่อการร้ายสากลมีความเสี่ยงต่ำ และช่องทางที่อาจถูกใช้ที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ การขนเงินข้ามแดน ธนาคาร เป็นต้น

              4.3 ยุทธศาสตร์ด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (AML/CFT)

              สำนักงาน ปปง. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์ พ.ศ. 2565 - 2570 ไว้ 6 ยุทธศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การดำเนินการด้าน AML/CFT ของประเทศไทยเป็นไปอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายรัฐบาล มาตรฐานสากล รวมถึงสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงความท้าทายใหม่ๆ ในปัจจุบัน เพื่อพร้อมรับมือกับความเสี่ยงและภัยคุกคามจากอาชญากรรมการฟอกเงิน การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง

              4.4 การเผยแพร่ผลการประเมินความเสี่ยงระดับชาติและยุทธศาสตร์ด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง

              4.5 คณะกรรมการประสานและกำกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (AML/CFT)

              4.6 ผลการปฏิบัติงานด้านความร่วมมือพหุภาคีและทวิภาคี

          5. การพัฒนาองค์การ เช่น การฝึกอบรม ประชุม สัมมนา เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีขีดสมรรถนะ การประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เป็นต้น 

          6. ผลการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การตรวจพิสูจน์หลักฐานทางคอมพิวเตอร์ และการตรวจสอบการกระทำความผิดทางเทคโนโลยี

              6.1 ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

              สำนักงาน ปปง. ได้พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและสนับสนุนภารกิจหลักตามอำนาจหน้าที่ในการวางหลักเกณฑ์ และดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เช่น ระบบจัดเก็บข้อมูลสถิติด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย AML/CFT ระบบบูรณาการฐานข้อมูลประชาชนและการบริการภาครัฐของสำนักงาน ปปง. ระบบคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายเพื่อรองรับการดำเนินการยื่นคำร้องขอคุ้มครองสิทธิจากการกระทำความมูลฐานของผู้เสียหาย และระบบตรวจสอบรายชื่อบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงด้านการฟอกเงินและรายชื่อบุคคล ผู้ถูกกำหนด

              6.2 ด้านการตรวจพิสูจน์หลักฐานทางคอมพิวเตอร์ (Computer Forensics)

              ดำเนินการตรวจพิสูจน์หลักฐานดิจิทัล จากวัตถุพยาน Macbook air จำนวน 1 เครื่อง ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับความผิดมูลฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมปฏิบัติการนอกพื้นที่กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมพยานหลักฐานดิจิทัล และเข้าร่วมประชุมและนำเสนอผลการตรวจพิสูจน์หลักฐานดิจิทัล

              6.3 ด้านการตรวจสอบการกระทำความผิดทางเทคโนโลยี (Cyber Crime Detection) ตรวจสอบการกระทำความผิดทางเทคโนโลยีตามความผิดมูลฐาน จำนวน 14 เรื่องประกอบด้วย การฉ้อโกงประชาชน ม. 3 (3) การพนันทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ม. 3 (9) การตรวจสอบการกระทำความผิดทางเทคโนโลยี

          7. ผลการปฏิบัติงานด้านการแก้ไขกฎหมายและออกกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

              7.1 ดำเนินการปรับปรุง แก้ไขกฎหมายและอนุบัญญัติ จำนวน 7 ฉบับ ได้แก่ ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ฉบับคุ้มครองผู้เสียหาย) ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... โดยแก้ไขปรับปรุงมาตรการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ มีความเป็นธรรมและมีประสิทธิภาพ ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ฉบับเพิ่มความผิดมูลฐานการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐาน) ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ฉบับเพิ่มความผิดมูลฐานเกี่ยวกับภาษีตามประมวลรัษฎากรกับความผิดมูลฐานอื่น) ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติข้อมูลผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง พ.ศ. .... และร่างกฎหมาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542

              7.2 กฎหมายที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลใช้บังคับ จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ ระเบียบคณะกรรมการธุรกรรมว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565 (ประกาศ รจ. เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2565) และระเบียบสำนักงาน ปปง. ว่าด้วยการเปรียบเทียบและการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565 (ประกาศ รจ. เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2565) 

          8. ผลการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

          ได้รับการจัดสรรตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 466.25 ล้านบาท กรมบัญชีกลางโอนงบประมาณสมทบงบบุคลากรที่ไม่เพียงพอ จำนวน 7.99 ล้านบาท รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 474.24 ล้านบาท โดยจำแนกออกเป็นรายจ่ายประจำ จำนวน 407.23 ล้านบาท และรายจ่ายลงทุน จำนวน 67.01 ล้านบาท มีผลการเบิกจ่ายงบประมาณภาพรวม จำนวน 441.95 ล้านบาท จำแนกเป็นรายจ่ายประจำ จำนวน 397.20 ล้านบาท รายจ่ายลงทุน จำนวน 44.75 ล้านบาท เงินกันเหลื่อมปี จำนวน 32.27 ล้านบาท คงเหลืองบประมาณตกเป็นพับ จำนวน 25,196.50 บาท

          ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงาน

          1. ยุทธศาสตร์ด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย

              1.1 การปรับปรุงและพัฒนากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับระบบ AML/CFT

ในปี พ.ศ. 2564 ประเทศไทยได้รับการประเมินการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลด้านกรอบกฎหมายดีขึ้นจาก 27 ข้อ เป็น 31 ข้อ (จาก 40 ข้อ) และมีข้อแนะนำที่ไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล 9 ข้อ ซึ่งสำนักงาน ปปง. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีแนวทางการดำเนินการปรับปรุงและแก้ไขข้อบกพร่องเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลอย่างต่อเนื่อง 

              ข้อเสนอแนะ เพื่อให้การปรับปรุงและพัฒนากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับระบบ AML/CFT เป็นไปตามข้อแนะนำ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการทบทวน ปรับปรุงและพัฒนากฎหมาย แนวปฏิบัติ นโยบาย และมาตรการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลด้าน AML/CFT และเท่าทันสถานการณ์

              1.2 ระบบฐานข้อมูลที่สนับสนุนงานด้าน AML/CFT

การพัฒนาระบบฐานข้อมูลต่างๆ ยังประสบปัญหาการเข้าถึงข้อมูลซึ่งยังไม่ครอบคลุมและการปรับปรุงข้อมูลยังไม่เป็นปัจจุบันเท่าที่ควรซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาข้อมูลที่ไม่เพียงพอต่อการดำเนินการและการส่งผลต่อข้อมูลที่รวดเร็ว

              ข้อเสนอแนะ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญกับการนำเข้าข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน และพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อให้สามารถบูรณาการข้อมูลและใช้ฐานข้อมูลเดียวกันในการดำเนินงานด้าน AML/CFT รวมทั้งผู้บริหารสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจในระดับนโยบาย

              1.3 ความเสี่ยงด้านการฟอกเงิน การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (ML/TF/PF)

              การทำความเข้าใจในเรื่อง ML/TF/PF มีลักษณะการดำเนินการตามหน้าที่ เน้นการทำงานตามเบาะแสหรือสำนวนมากกว่าการทำงานในเชิงรุก และการดำเนินคดีหรือสืบสวนการกระทำความผิดตามความเสี่ยงด้าน ML/TF/PF ยังเป็นกระบวนการใช้ดุลยพินิจที่แตกต่างกันซึ่งอาจทำให้เป้าหมายของการดำเนินงานต่างกัน อีกทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับด้าน AML/CFT มีจำนวนมากและมีความละเอียดค่อนข้างมาก ทำให้การดำเนินงานเชิงรุกเพื่อป้องกันความเสี่ยงด้าน ML/TF/PF จึงเป็นไปได้ยาก

              ข้อเสนอแนะ ส่งเสริมให้มีการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายและสำนักงาน ปปง. เพื่อส่งเสริมให้เกิดการทำงานเชิงรุก

          2. การดำเนินการโครงการสายลับ ปปง.

          สำนักงาน ปปง. ได้จัดตั้งโครงการสายลับ ปปง. ขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือของภาคประชาชนเกี่ยวกับการให้ข้อมูลข่าวสารในการสอบสวนดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดมูลฐาน ดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ซึ่งปัจจุบันมีผู้สมัครสายลับ ปปง. จำนวนลดลงอย่างมาก เนื่องจากการปฏิบัติงนของสายลับของสำนักงาน ปปง. ไม่มีกฎหมายและระเบียบกำหนดให้มีการจ่ายเงินเดือนหรือค่าตอบแทนเป็นรายเดือน แต่อาจมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนตามระเบียบที่กำหนด

          ข้อเสนอแนะ เพื่อให้ประชาชนสนใจสมัครเป็นสมาชิกโครงการสายลับ ปปง. มากยิ่งขึ้น ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจแก่ภาคประชาชนทราบถึงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาลักษณะคดี และช่องทางการสมัคร รวมถึงการปรับแก้ไขกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องให้สร้างแรงจูงใจมากขึ้น

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 19 ธันวาคม 2566

 

 

12599

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

SME 720x100 66

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

gen 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!