มาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ปี 2567 และกลไกการบริหารจัดการ
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Wednesday, 20 December 2023 02:51
- Hits: 2380
มาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ปี 2567 และกลไกการบริหารจัดการ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอดังนี้
1. เห็นชอบมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ปี 2567 และกลไกการบริหารจัดการและมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป
2. รับทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศเพื่อความยั่งยืน (คณะกรรมการฯ)
สาระสำคัญของเรื่อง
1. เนื่องจากสถานการณ์ฝุ่นพิษ PM2.5 (ฝุ่น PM2.5) โดยเฉพาะในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ1กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จะมีแนวโน้มสูงขึ้นในช่วงต้นปีและปลายปีของทุกปี โดยมีแหล่งกำเนิดมาจากกิจกรรมในพื้นที่ ได้แก่ ไฟป่า การเผาในพื้นที่เกษตร หมอกควันข้ามแดน การจราจรและขนส่ง และโรงงานอุตสาหกรรม ประกอบกับในช่วงต้นปีความกดอากาศสูงแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทย ทำให้อากาศปิด ฝุ่นละอองไม่ฟุ้งกระจายและสะสมในพื้นที่จนเกินมาตรฐาน ซึ่งในปี 2566 สถานการณ์มลพิษจากฝุ่นละอองมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากสภาพอุตุนิยมวิทยาที่เริ่มเข้าสู่ปรากฏการณ์เอลนีโญ ส่งผลให้เกิดความแห้งแล้ง และปริมาณฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐานในหลายพื้นที่โดยจะรุนแรงต่อเนื่องไปจนถึงช่วงต้นปี 2567 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน2 และส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวเศรษฐกิจ และสังคม ทส. จึงจัดทำมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ปี 2567 และเสนอให้มีกลไกการบริหารจัดการ ทั้งในระดับชาติและระดับพื้นที่ ภายใต้กรอบแนวคิด ดังนี้ (1) การกำหนดพื้นที่แบบมุ่งเป้า โดยระบุพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ป่าสงวนแห่งชาติ และพื้นที่เกษตรที่ไฟไหม้ซ้ำซาก (2) สร้างกลไกการทำงานให้ภาคเอกชนสนับสนุนการแก้ไขปัญหาเพื่อลดข้อจำกัดด้านงบประมาณ (3) จัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติเพื่อสั่งการลงสู่ศูนย์ปฏิบัติการระดับจังหวัดในการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษแบบถาวร (4) ปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน (5) ยกระดับการแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดนให้เข้มข้นจากระดับภูมิภาคอาเซียนไปสู่ระดับทวิภาคี และ (6) ใช้การสื่อสารเชิงรุก ตรงจุด และต่อเนื่อง เพื่อให้ส่วนราชการได้นำมาตรการดังกล่าวไปใช้เป็นกรอบในการกำหนดแนวทางการดำเนินงานและบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการเตรียมการรับมือและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่น PM2.5 ที่จะเกิดขึ้น เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสิ่งเวดล้อมและสุขภาพของประชาชน
2. มาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ปี 2567 มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
ประเด็น |
รายละเอียด |
|||||||||||||||
(1) พื้นที่เป้าหมายและเป้าหมาย |
||||||||||||||||
(1.1) พื้นที่เป้าหมายหลัก |
พื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ โดยมีเป้าหมายการเผาไหม้ในพื้นที่ป่า (ป่าอนุรักษ์ 10 พื้นที่ และป่าสงวนแห่งชาติ 10 พื้นที่) ลดลงร้อยละ 50 และการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรกรรมลดลงร้อยละ 50 |
|||||||||||||||
(1.2) พื้นที่เป้าหมายรอง |
พื้นที่อื่น โดยมีเป้าหมายการเผาไหม้ในพื้นที่ป่าอื่น (นอกเหนือจากป่าอนุรักษ์ 10 พื้นที่และป่าสงวนแห่งชาติ 10 พื้นที่ข้างต้น) ลดลงร้อยละ 20 และการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรกรรมอื่น ลดลงร้อยละ 10 และควบคุมการระบายฝุ่นในพื้นที่เมือง |
|||||||||||||||
(2) ผลลัพธ์คุณภาพอากาศ |
||||||||||||||||
ค่าเฉลี่ยฝุ่น PM2.5 และจำนวนวันที่ฝุ่นละออง PM2.5 เกินมาตรฐานลดลง ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
|
||||||||||||||||
(3) การปฏิบัติการ | ||||||||||||||||
(3.1) ระยะเตรียมการ |
● กำหนดหลักเกณฑ์ในการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน เมื่อค่าฝุ่น PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง อยู่ในระดับวิกฤต (เกิน 250 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) หน่วยงานรับผิดชอบหลัก : กระทรงมหาดไทย (มท.) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : ทส. โดยกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) และ สธ. ● แจ้งเตือนสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ให้ทั่วถึงและทันท่วงที รวมทั้งจัดเตรียมห้องปลอดฝุ่น หน้ากากอนามัย ยารักษาโรค และมีการสื่อสารเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง หน่วยงานรับผิดชอบหลัก : ทส. มท. สธ. และกรุงเทพมหานคร (กทม.) ● ดำเนินการสื่อสารเชิงรุกอย่างตรงจุดและต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการของภาครัฐโดยเฉพาะการไม่เผาป่า ไม่เผาพื้นที่เกษตร ความตระหนักในภัย และความเสียหายจากการเผา หน่วยงานรับผิดชอบหลัก : สำนักนายกรัฐมนตรี โดยกรมประชาสัมพันธ์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : องค์กรสื่อมวลชน ● การจัดการไฟในป่า เช่น เตรียมความพร้อมในพื้นที่เป้าหมายหลักที่เป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเผาซ้ำซาก โดยใช้กลยุทธ์การตรึงพื้นที่ สร้างความชุ่มชื้นในพื้นที่ป่า และจัดเตรียมน้ำเพื่อการดับไฟป่า เป็นต้น หน่วยงานรับผิดชอบหลัก : ทส. ● การจัดการไฟในพื้นที่เกษตรกรรม เช่น ให้ศูนย์ปฏิบัติการระดับจังหวัดกำหนดแนวทางบริหารจัดการเชื้อเพลิงในพื้นที่การเกษตรที่เสี่ยงต่อการเผาไหม้ ส่งเสริมเกษตรปลอดการเผาในพื้นที่ไร่อ้อยและนาข้าว ไม่รับอ้อยไฟไหม้เข้าหีบ เป็นต้น หน่วยงานรับผิดชอบหลัก : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงพลังงาน (พน.) และกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) ● ควบคุมฝุ่นละอองในเขตมือง เช่น ขอความร่วมมือผู้ค้าน้ำมัน นำน้ำมันดีเซลกำมะถันต่ำ (Euro 5)3 มาจำหน่ายในราคาเท่ากับน้ำมันดีเซล แจ้งให้ผู้ประกอบการควบคุมการผลิตและตรวจสอบการทำงานระบบบำบัดมลพิษทางอากาศให้มีประสิทธิภาพ เป็นต้น หน่วยงานรับผิดชอบหลัก : พน. และ อก. ● การสนับสนุนและการลงทุน เช่น ออกมาตรการเพื่อให้สิทธิประโยชน์หรือแรงจูงใจกับภาคเอกชนที่ร่วมสนับสนุนการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 จัดสรรงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเพื่อดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน เพื่อลดฝุ่นละออง PM2.5 เป็นต้น หน่วยงานรับผิดชอบหลัก : สำนักงบประมาณ (สงป.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) |
|||||||||||||||
(3.2) ระยะเผชิญเหตุ |
● การจัดการไฟในป่า เช่น เพิ่มประสิทธิภาพการบัญชาการสถานการณ์ไฟป่าระดับพื้นที่แบบมีส่วนร่วม ควบคุมการเข้าป่า เพิ่มมาตรการควบคุมเมื่อสถานการณ์ไฟป่าอยู่ในระดับวิกฤตหรือเสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าขั้นรุนแรง เป็นต้น หน่วยงานรับผิดชอบหลัก : ทส. ● การจัดการไฟในพื้นที่เกษตรกรรม เช่น จัดตั้งชุดปฏิบัติการประจำพื้นที่ (ระดับอำเภอ) ในการเฝ้าระวัง ออกตรวจ ระงับ ยับยั้ง และแจ้งเหตุ ให้บริหารจัดการไฟ ตามข้อตกลงในบัญชีรายชื่อเกษตรกรและจำนวนพื้นที่ หากเกษตรกรต้องการเผาให้ขออนุญาตฝ่ายปกครองหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก่อนการเผา โดยจะต้องดำเนินการตามเงื่อนไข และประมวลผลผ่านระบบบริหารจัดการเชื้อเพลิง (BurnCheck)4 เป็นต้น หน่วยงานรับผิดชอบหลัก : กษ. และ มท. ● การควบคุมฝุ่นละอองในเขตเมือง เช่น ตรวจสภาพรถยนต์ประจำปีอย่างเข้มงวด เพิ่มจุดตรวจสอบและจุดตรวจจับควันดำให้ครอบคลุมพื้นที่วิกฤต ตรวจกำกับโรงงานทุกแห่งที่มีความเสี่ยงสูงในการปล่อยฝุ่นละออง เป็นต้น หน่วยงานรับผิดชอบหลัก : กระทรวงคมนาคม (คค.) และ อก. ● จัดตั้งศูนย์ตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (Public Health Emergency Operation Center : PHEOC) ในทุกระดับ5 หน่วยงานรับผิดชอบหลัก : มท. สธ. และ กทม. |
|||||||||||||||
(3.3) ระยะบรรเทา |
กำหนดให้มีการติดตามและประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม และการยกระดับคุณภาพอากาศ หน่วยงานรับผิดชอบหลัก : ทส. และ สธ. |
|||||||||||||||
(3.4) มาตรการการบริหารจัดการในภาพรวม |
● พัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) การเผาในพื้นที่เกษตร และพื้นที่ป่า รวมทั้งกำหนดเงื่อนไขเรื่องการห้ามเผากับมาตรการสนับสนุนต่างๆ ของภาครัฐ หน่วยงานรับผิดชอบหลัก : กษ. ● การจัดการหมอกควันข้ามแดน เช่น เร่งดำเนินการตามแผนปฏิบัติการร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดน ภายใต้ยุทธศาสตร์ฟ้าใส6 (CLEAR Sky Strategy) และสร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับ PM2.5 ระบบตรวจสอบย้อนกลับ เพิ่มเงื่อนไขการเผาในพื้นที่ป่าและพื้นที่เกษตร ในการพิจารณานำเข้า - ส่งออกสินค้า รวมทั้งเร่งจัดทำระบบ Big Data ที่บูรณาการข้อมูลที่เกี่ยวข้องด้านคุณภาพอากาศ และเร่งรัดการนำเข้ากฎหมายว่าด้วยอากาศสะอาดเสนอต่อคณะรัฐมนตรี [คณะรัฐมนตรีมีมติ (30 พฤศจิกายน 2566) อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาดแล้ว] หน่วยงานรับผิดชอบหลัก : กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ทส. และกระทรวงพาณิชย์ (พณ.) |
|||||||||||||||
(4) กลไกการบริหารจัดการ | ||||||||||||||||
(4.1) แต่งตั้งคณะกรรมการฯ เพื่อเป็นกลไกการบริหารจัดการระดับชาติ โดยมีกรมควบคุมมลพิษเป็นหน่วยงานผู้ประสานงานหลัก (4.2) จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการระดับจังหวัด เพื่อแก้ไขปัญหาไฟป่า การเผาในที่โล่ง หมอกควัน และ ฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้อำนวยการศูนย์ เพื่อเชื่อมโยงนโยบาย ไปสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ |
||||||||||||||||
(5) การป้องกันและเผชิญเหตุ | ||||||||||||||||
ในช่วงสถานการณ์ฝุ่นละอองปี 2567 ทส. จำเป็นต้องดำเนินโครงการยกระดับการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน เพื่อลดฝุ่นละออง PM2.5 โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 และ 2) โครงการจัดหาระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อรับมือสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือแบบครบวงจร โดยจะเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณในโอกาสต่อไป |
3. นายกรัฐมนตรีมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการฯ เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2566 ประกอบด้วยกรรมการจำนวน 27 คน โดยมีพลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานกรรมการ และปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นกรรมการและเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ เช่น (1) เสนอแนะนโยบาย แนวทาง และมาตรการเร่งด่วนเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า การเผาในที่โล่ง หมอกควัน และฝุ่น PM2.5 (2) เป็นศูนย์กลางในการอำนวยการ มอบหมาย ควบคุม กำกับ และประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (3) จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเป็นหน่วยงานปฏิบัติในพื้นที่ตามความจำเป็นและเหมาะสม เป็นต้น
4. คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 4/2566 เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2566
มีมติเห็นชอบมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ปี 2567 และ (ร่าง) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการแห่งชาติด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า การเผาในที่โล่ง หมอกควัน และฝุ่นละอองแล้ว โดยมอบหมายให้ ทส. เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป
____________________________
1 จังหวัดเชียงราย น่าน พะเยา เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ ลำปาง ลำพูน ตาก อุตรดิตถ์ พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร นครสวรรค์ และอุทัยธานี
2กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ระบุว่า จากข้อมูลเฝ้าระวังโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศในช่วงต้นปี 2566 พบผู้ป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศกว่า 1.7 ล้านราย
3เนื่องจากการประกาศบังคับใช้มาตรฐานน้ำมัน Euro 5 จะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 แต่เนื่องจากสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ในปัจจุบันเริ่มมีแนวโน้มสูงและรุนแรงขึ้น จึงขอความร่วมมือผู้ค้าน้ำมัน ให้นำน้ำมัน Euro 5 มาจำหน่ายก่อนกำหนด และขอให้จำหน่ายในราคาเท่ากับน้ำมันดีเซล (ปกติน้ำมัน Euro 5 จะราคาสูงกว่าน้ำมันดีเซลลิตรละ 3 บาท)
4จังหวัดจะมีการลงทะเบียนเกษตรกรและพื้นที่เกษตรกรรม เพื่อกำหนดช่วงเวลาการเผาของเกษตรกร ไม่ให้มีการเผาในช่วงเวลาเดียวกัน โดยเกษตรกรจะต้องขออนุญาตเผาและลงทะเบียนในระบบบริหารจัดการเชื้อเพลิง (BurnCheck) เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการบริหารจัดการและกำหนดช่วงเวลาเผาดังกล่าว
5จัดตั้งศูนย์ดังกล่าวเมื่อสถานการณ์หมอกควันและฝุ่น PM2.5 เข้าสู่สภาวะฉุกเฉิน เพื่อให้สามารถควบคุมและจัดการสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ 1. ระดับจังหวัด มีสาธารณสุขจังหวัดเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ 2. ระดับเขตสุขภาพ มีผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ 3. ระดับกรม มีอธิบดีกรมที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ และ 4. ระดับกระทรวง มีปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์
6 เป็นยุทธศาสตร์เพื่อแก้ไขปัญหามลพิษจากหมอกควันข้ามแดนที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ผ่านความร่วมมือจาก 3 ประเทศได้แก่ ประเทศไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 19 ธันวาคม 2566
12594