WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สามของปี 2566 และแนวโน้มปี 2566 – 2567

Gov 04

ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สามของปี 2566 และแนวโน้มปี 2566 – 2567

          คณะรัฐมนตรีรับทราบภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สามของปี 2566 และแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2566 – 2567 ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ 

          สศช.ได้เสนอรายงานภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สามของปี 2566 และแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2566 – 2567 โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้ 

          1. ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 3 ของ ปี 2566

              เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี 2566 มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP ) ขยายตัวร้อยละ 1.5 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 1.8 ในนไตรมาสที่สอง โดยแบ่งเป็น

              1.1 ด้านการใช้จ่าย การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในเกณฑ์สูง การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่อง ส่วนการส่งออกสินค้า การอุปโภคของรัฐบาล และการลงทุนภาครัฐปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

 

องค์ประกอบ

ปี 2566 (%YoY)*

ไตรมาสที่หนึ่ง

ไตรมาสที่สอง

ไตรมาสที่สาม

(1) การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน

5.8

7.8

8.1

(2) การอุปโภคภาครัฐบาล

-6.3

-4.3

- 4.9

(3) การลงทุนรวม

- ภาคเอกชน

- ภาครัฐ

3.1

2.6

4.7

0.4

1.0

-1.1

1.5

3.1

-2.6

(4) มูลค่าการส่งออกสินค้า

-4.5

-5.6

-2.0

(5) ปริมาณการส่งออกสินค้า

-6.4

-5.8

-3.1

 

              1.2 ด้านการผลิต สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารและสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าขยายตัวในเกณฑ์สูง สาขาเกษตรกรรม สาขาการขายส่งและการขายปลีก และสาขาการก่อสร้างขยายตัว ส่วนสาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมลดลงต่อเนื่อง โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้ 

 

สาขา

ปี 2566 (%YOY)

ไตรมาสที่หนึ่ง

ไตรมาสที่สอง

ไตรมาสที่สาม

สาขาการผลิตที่ขยายตัวเร่งขึ้น

- การเงิน

- ก่อสร้าง

1.2

3.9

2.8

0.4

4.7

0.6

สาขาการผลิตที่ชะลอตัว

- ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร

- การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า

- เกษตรกรรม การป่าไม้

- ขายส่ง ขายปลีก

34.3

12.1

6.2

3.3

15.1

7.4

1.2

3.4

14.9

6.8

0.9

3.3

สาขาการผลิตที่ลดลง

- การผลิตสินค้าอุตสาหกรรม

-3.0

-3.2

-4.0

 

              อย่างไรก็ดี เมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี 2566 ขยายตัวจากไตรมาสก่อนหน้าร้อยละ 0.8 ทั้งนี้ รวม 9 เดือนแรกของปี 2566 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 1.9 สำหรับอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 0.99 ซึ่งต่ำสุดในรอบ 15 ไตรมาส (ปี 2563 – 2566)

          2. แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ปี 2566 และ 2567 

              แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2566 คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 2.5 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 2.6 ในปี 2565 อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 1.4 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 1.0 ของ GDP สำหรับปี 2567 คาดว่า GDP จะขยายตัวในช่วงร้อยละ 2.7 – 3.7 โดยมีรายละเอียดประมาณการในด้านต่างๆ สรุปได้ ดังนี้ 

 

(%YOY)

ข้อมูลจริง

ประมาณการ 20 พฤศจิกายน 2566

ปี 2564

ปี 2565

ปี 2566

ปี 2567

(1) GDP

1.5

2.6

2.5

2.7 – 3.7

(2) การบริโภคภาคเอกชน

0.6

6.3

7.0

3.2

(3) การบริโภคภาครัฐบาล

3.7

0.2

- 4.2

2.2

(4) การลงทุนภาคเอกชน

3.0

5.1

2.0

2.8

(5) การลงทุนภาครัฐ

3.4

- 4.9

- 0.8

-1.8

(6) มูลค่าการส่งออก (เงิน USD)

19.2

5.4

- 2.0

3.8

(7) เงินเฟ้อ (%)

1.2

6.1

1.4

1.7 – 2.7

(8) ดุลบัญชีเดินสะพัด (%GDP)

- 2.0

- 3.2

1.0

1.5

 

              ทั้งนี้ มีปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนการประมาณการเศรษฐกิจในปี 2567 เช่น (1) การกลับมาขยายตัวของการส่งออก โดยมูลค่าและปริมาณการส่งออกสินค้าของไทยเริ่มปรับตัวดีขึ้นทั้งสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม โดยกลุ่มสินค้าส่งออกที่ขยายตัวได้ดี เช่น ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์นั่ง รถกระบะ อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม ข้าว และผลไม้ (2) การขยายตัวในเกณฑ์ดีของการลงทุนภาคเอกชนตามปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ เช่น การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์รวมถึงอุตสาหกรรมเกษตรและแปรรูปอาหาร และการขยายตัวของพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมซึ่งสะท้อนจากยอดขายหรือเช่าพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) (3) การขยายตัวของการอุปโภคบริโภคภายในประเทศ ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญจากการปรับตัวดีขึ้นของตลาดแรงงานซึ่งเห็นได้จากการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะภาคบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว รวมทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนตุลาคม 2566 อยู่ที่ระดับ 60.2 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 44 เดือนและ (4) การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเพิ่มสูงขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุน เช่น มาตรการยกเว้นการตรวจลงตราให้แก่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและมาตการส่งเสริมการท่องเที่ยวของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยที่เน้นส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง

          3. การบริหารเศรษฐกิจมหภาคในปี 2567 

              แนวทางบริหารจัดการเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี 2566 และปี 2567 ควรให้ความสำคัญกับปัจจัยต่างๆ ได้แก่ 

              3.1 การดำเนินนโยบายการเงินการคลังอย่างเหมาะสมสอดคล้องกับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ เช่น เพิ่มพื้นที่ในการดำเนินนโยบาย (Policy space) ให้มีความเพียงพอเพื่อรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในระยะต่อไปและจัดลำดับความสำคัญในการใช้จ่ายภาครัฐควบคู่ไปกับการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้

              3.2 การเตรียมมาตการเพื่อรองรับผลกระทบจากสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ เช่น เตรียมมาตรการรองรับผลกระทบจากความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางในปัจจุบันที่อาจส่งผลต่อเศรษฐกิจในด้านต่างๆ ที่สำคัญ ทั้งด้านแรงงาน ความผันผวนของราคาพลังงานและราคาสินค้าโภคภัณฑ์และต้นทุนภาคเกษตร

              3.3 การขับเคลื่อนภาคการส่งออกสินค้า เช่น เร่งรัดการส่งออกสินค้าไปยังตลาดที่ยังมีแนวโน้มขยายตัวดีและการสร้างตลาดใหม่ ใช้ประโยชน์จากกรอบความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค และอำนวยความสะดวกและลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก

              3.4 การสร้างความเชื่อมั่นและสนับสนุนการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชน เช่น ส่งเสริมการลงทุนเชิงรุกผ่านยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุน 5 ปี (2566 – 2570) ส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) รวมทั้งการขับเคลื่อนพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษในแต่ละภูมิภาค

              3.5 การสนับสนุนการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและบริการเกี่ยวเนื่อง เช่น จัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวและสร้างการรับรู้ต่อมาตรการ Long – term resident visa (LTR) เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ และส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศไทยโดยเฉพาะในจังหวัดท่องเที่ยวเมืองรอง

              3.6 การดูแลการผลิตภาคเกษตรและรายได้เกษตรกร เช่น ป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยแล้ง เพิ่มส่วนแบ่งให้เกษตรกรมีรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตขั้นสุดท้าย และส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตและใช้ปุ๋ยและวัตถุดิบที่ผลิตในประเทศ

              3.7 การรักษาแรงขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ เช่นเร่งรัดเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายเหลื่อมปีและงบลงทุนรัฐวิสาหกิจในช่วงที่พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ยังไม่มีผลบังคับใช้ และติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ

____________________

* YOY (Year on Year) เป็นการเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมาในช่วงเวลาเดียวกัน เช่น เปรียบเทียบระหว่างไตรมาสแรกของปี 2564 กับปี 2565 หรือการเปรียบเทียบรายได้ทั้งปีระหว่างปี 2564 และปี 2565

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 19 ธันวาคม 2566

 

 

12591

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

SME 720x100 66

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

gen 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!