แนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ทั้งระบบ
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Wednesday, 20 December 2023 02:14
- Hits: 2095
แนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ทั้งระบบ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ อนุมัติ และรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอดังนี้
1. เห็นชอบมาตรการ จำนวน 3 มาตรการ1 ดังนี้
1.1 มาตรการช่วยเหลือพักหนี้ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม [Small and Medium Enterprises (SMEs)] ที่ได้รับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) (มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEsฯ)
1.2 มาตรการสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือและรองรับลูกหนี้นอกระบบ (มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้นอกระบบฯ)
1.3 มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด 19 (มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยฯ) ตามโครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด 19 (โครงการสินเชื่อฯ) และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
2. อนุมัติวงเงินงบประมาณ จากงบประมาณรายจ่ายประจำปี จำนวน 2 มาตรการ (ตามข้อ 1.1 และ 1.2) รวมทั้งสิ้น 4,900 ล้านบาท และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ดังนี้
มาตรการ |
หน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการ |
วงเงินงบประมาณ (ล้านบาท) |
แหล่งเงิน |
(1) มาตรการ ช่วยเหลือ ผู้ประกอบการ SMEsฯ |
สถาบันการเงินเฉพาะกิจ 7 แห่ง ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) |
400 |
ใช้งบประมาณตามมาตรา 282 ของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 โดยให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ได้รับมอบหมายทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ (สงป.) ต่อไป |
(2) มาตรการ ช่วยเหลือลูกหนี้ นอกระบบฯ |
ธ.ก.ส. และธนาคารออมสิน |
4,500 |
|
รวม |
4,900 |
|
3. รับทราบมาตรการในการแก้ไขปัญหาหนี้ ดังนี้
3.1 มาตรการแก้ไขหนี้ในระบบ
(1) กลุ่มที่มีรายได้ประจำ แต่มีภาระหนี้จำนวนมากจนเกินศักยภาพในการชำระคืนหนี้ เช่น ข้าราชการ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำรวจ ทหาร เป็นต้น
(2) กลุ่มที่มีรายได้ไม่แน่นอนทำให้การชำระคืนหนี้ไม่ต่อเนื่อง
(3) กลุ่มที่เป็นหนี้เสียคงค้างกับสถาบันการเงินมาเป็นระยะเวลานาน
3.2 มาตรการแก้ไขหนี้นอกระบบ ประกอบด้วย (1) มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้นอกระบบที่ดำเนินการโดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจ และ (2) มาตรการสนับสนุนให้เจ้าหนี้นอกระบบขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ (สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์)
3.3 การปรับโครงสร้างระบบกรให้สินเชื่อและการค้ำประกันสินเชื่อ
สาระสำคัญ
กค. เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้ทั้งระบบ จำนวน 3 แนวทาง โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. แนวทางการแก้ไขหนี้ในระบบ แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม รวม 9 มาตรการ/โครงการ ดังนี้
(1) กลุ่มลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด 19 ทำให้ไม่สามารถชำระคืนหนี้ได้
มาตรการ/โครงการ |
สาระสำคัญ |
|||||||||||||
(1.1) มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยฯ ตามโครงการสินเชื่อฯ (เสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ) |
|
|||||||||||||
(1.2) มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEsฯ (เสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบและขอรับจัดสรรงบประมาณ) |
|
(2) กลุ่มที่มีรายได้ประจำ แต่มีภาระหนี้จำนวนมากจนเกินศักยภาพในการชำระคืนหนี้ เช่น ข้าราชการ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำรวจ ทหาร เป็นต้น
มาตรการ/โครงการ |
สาระสำคัญ |
|||||||||||||||||
(2.1) โครงการสินเชื่อสหกรณ์ออมทรัพย์เพื่อแก้ไขหนี้บุคลากรภาครัฐ (เสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบ) |
|
|||||||||||||||||
(2.2) โครงการสินเชื่อสวัสดิการข้าราชการและบุคลากรภาครัฐอัตราดอกเบี้ยพิเศษ (เสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบ) |
ธนาคารออมสินกำหนดให้หน่วยงานภาครัฐดำรงเงินฝากกับธนาคารออมสินตามเงื่อนไขที่กำหนดและให้ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐที่มีความประสงค์เข้าร่วมโครงการเปิดบัญชีเงินเดือนกับธนาคารออมสิน โดยข้าราชการและบุคลากรภาครัฐสามารถขอสินเชื่อสวัสดิการอัตราดอกเบี้ยพิเศษ ได้แก่ - สินเชื่อเคหะสำหรับซื้อหรือต่อเติมซ่อมแซมที่อยู่อาศัย - สินเชื่อสวัสดิการสำหรับการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคหรือชำระหนี้สินเชื่อรายย่อยประเภทอื่น - สินเชื่ออเนกประสงค์เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายและเสริมสภาพคล่องในยามฉุกเฉิน |
|||||||||||||||||
(2.3) การช่วยเหลือให้มีรายได้คงเหลือเพียงพอดำรงชีพ (เสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบ) |
ผลักดันให้ส่วนราชการกำหนดหลักเกณฑ์การตัดเงินเดือนเพื่อชำระหนี้ของข้าราชการในสังกัดโดยต้องมีเงินเดือนคงเหลือในบัญชีอย่างน้อยร้อยละ 30 เพื่อให้เพียงพอต่อการดำรงชีพ |
(3) กลุ่มที่มีรายได้ไม่แน่นอนทำให้การชำระคืนหนี้ไม่ต่อเนื่อง
มาตรการ/โครงการ |
สาระสำคัญ |
|
(3.1) มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้เกษตรกร (เสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบ) |
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2566 เห็นชอบมาตรการพักชำระหนี้ให้กับลูกหนี้เกษตรกรที่มีต้นเงิน (Principle) รวมเป็นหนี้คงเหลือทุกสัญญารวมกัน ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 ไม่เกิน 3 แสนบาท ระยะเวลาพักชำระหนี้ 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567 โดยปัจจุบันมีลูกหนี้เกษตรกรแสดงความประสงค์เข้าร่วมมาตรการดังกล่าวจำนวน 1.59 ล้านราย |
|
(3.2) มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้เช่าซื้อและลูกหนี้เช่าแบบลีสซิ่งรถยนต์และรถจักรยานยนต์ (เสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบ) |
กค. ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จัดทำร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้การประกอบธุรกิจการให้เช่าซื้อและการให้เช่าแบบลีสซิ่งรถยนต์และรถจักรยานยนต์อยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 พ.ศ. .... โดยให้ ธปท. มีอำนาจในการกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าว เช่น ให้ผู้ประกอบธุรกิจประกาศข้อมูลในเรื่องอัตราดอกเบี้ย อัตราส่วนลด และค่าบริการต่างๆ แจ้งและแสดงวิธีการและรายละเอียดในการคำนวณ อัตราค่าบริการรายปี จัดทำบัญชีเพื่อแสดงผลการดำเนินงานและฐานะการเงินตามมาตรฐานการบัญชีที่กำหนดโดยสถาบันวิชาชีพ กำหนดเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น ทั้งนี้ ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการตามกระบวนการออกกฎหมายเพื่อบังคับใช้ต่อไป |
|
(3.3) มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) (เสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบ) |
กยศ. ได้ดำเนินการข่วยเหลือลูกหนี้ ได้แก่ - ปรับโครงสร้างหนี้หรือแปลงหนี้ใหม่สำหรับหนี้ที่มีคำพิพากษาแล้ว - กำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไม่เกินร้อยละ 2 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยเงินเพิ่ม (เบี้ยปรับ) ร้อยละ 1 ต่อปี - กำหนดลำดับการหักเงินที่รับชำระหนี้ เป็นเงินต้น - ดอกเบี้ย - เบี้ยปรับขยายขอบเขตของเงินกู้ยืม กยศ. โดยเปิดโอกาสให้กู้ยืมเงินสำหรับการพัฒนาทักษะ (Upskill) หรือการปรับทักษะ (Reskill) รวมทั้งการพิจารณาการใช้เงิน กยศ. เพื่อให้ทุนการศึกษาได้ - กำหนดงวดการชำระคืนที่ยืดหยุ่นมากขึ้น โดยสามารถชำระหนี้แบบรายเดือน รายไตรมาสหรือรายปีได้ ทั้งนี้ ปัจจุบัน กยศ. อยู่ระหว่างคำนวณเงินผ่อนชำระของลูกหนี้ กยศ. ตามหลักเกณฑ์ใหม่ โดยหากลูกหนี้ผ่อนชำระหนี้มามากกว่าจำนวนที่คำนวณใหม่แล้วถือว่าสามารถปิดบัญชีได้ |
(4) กลุ่มที่เป็นหนี้เสียคงค้างกับสถาบันการเงินมาเป็นระยะเวลานาน
มาตรการ/โครงการ |
สาระสำคัญ |
|
มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้โดยบริษัทร่วมทุนระหว่างสถาบันการเงินเฉพาะกิจและบริษัทบริหารสินทรัพย์ (บบส.) (เสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบ) |
ธปท. ได้หารือร่วมกับ กค. และสถาบันการเงินเฉพาะกิจเพื่อพิจารณาออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อส่งเสริมการร่วมลงทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจและ บบส. ในการจัดตั้ง บบส. ในรูปแบบกิจการร่วมทุน [Joint Venture Asset Management Company (JV AMC)] เพื่อให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถร่วมลงทุนจัดตั้ง บบส. ได้ และโอนหนี้บางส่วนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจไปยัง JV AMC เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการช่วยเหลือลูกหนี้ โดยการปรับปรุงโครงสร้างหนี้หรือตัดหนี้บางส่วนให้กับลูกหนี้ โดยคาดว่าจะสามารถออกประกาศได้ภายในเดือนธันวาคม 2566 ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวจะช่วยเพิ่มความคล่องตัวและเพิ่มความยืดหยุ่นในการแก้ไขปัญหาให้กับลูกหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจและมี บบส. ที่เชี่ยวชาญเรื่องการบริหารจัดการหนี้โดยเฉพาะมาช่วยแก้ไขปัญหาให้กับลูกหนี้ |
2. แนวทางการแก้ไขหนี้นอกระบบ รวม 3 มาตรการ ดังนี้
มาตรการ |
สาระสำคัญ |
|||||||||||||
(1) มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้นอกระบบฯ (เสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบและขอรับจัดสรรงบประมาณ) |
|
|||||||||||||
(2) มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้นอกระบบที่ดำเนินการโดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (เสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบ) |
ประกอบด้วย 4 โครงการ ดังนี้ (2.1) โครงการสินเชื่อธนาคารประชาชน โดยธนาคารออมสินสนับสนุนสินเชื่อเพื่อแก้ไขหนี้นอกระบบที่เกิดจากการประกอบอาชีพ โดยผู้มีสิทธิยื่นกู้ต้องเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพ มีรายได้ อายุ 20 ปีขึ้นไป และเมื่อรวมระยะเวลาชำระคืนเงินกู้แล้วไม่เกิน 65 ปี วงเงินสินเชื่อรายละไม่เกิน 50,000 บาท อัตราดอกเบี้ยคงที่ (Flat Fate) ร้อยละ 0.75 ต่อเตือน ระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ไม่เกิน 5 ปี หรือ 60 งวด พร้อมผ่อนปรนเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อ และสามารถใช้บุคคลหรือหลักทรัพย์เป็นหลักประกันได้ (2.2) สินเชื่อเพื่อชำระหนี้สินนอกระบบ โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือให้ลูกหนี้นอกระบบ วงเงินสินเชื่อรายละไม่เกิน 200,000 บาท กรณีสงวนรักษาที่ดินวงเงินสินเชื่อรายละไม่เกิน 500,000 บาท อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น [Minimum Retail Rate (MRR)] (ปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 6.975 ต่อปี) ระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ไม่เกิน 12 ปี (2.3) สินเชื่อกองทุนหมุนเวียนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อเพื่อสงวนรักษาที่ดินจากการจำนอง ขายฝาก หรือใช้ที่ดินเป็นประกัน โดยให้วงเงินสูงสุด 2.5 ล้านบาทต่อราย อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อปี หากชำระหนี้ดีอย่างต่อเนื่องในแต่ละปีอัตราดอกเบี้ยจะลดเหลือร้อยละ 4 ร้อยละ 3 และร้อยละ 2 ต่อปี ตามลำดับ ระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ไม่เกิน 20 ปี (2.4) บริษัท มีที่ มีเงิน จำกัด เกิดจากการร่วมทุนของธนาคารออมสิน เพื่อให้บริการขายฝากหรือให้สินเชื่อจดจำนองที่ดินอย่างเป็นธรรม โดยมีอัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นที่ร้อยละ 7.5 ต่อปี และปลอดชำระเงินต้น 12 เดือน |
|||||||||||||
(3) มาตรการสนับสนุนให้เจ้าหนี้นอกระบบขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ (สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์)4 (เสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบ) |
ผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าหนี้นอกระบบสามารถยื่นขอใบอนุญาตสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์กับ กค. เพื่อประกอบธุรกิจตามกฎหมาย โดยเงื่อนไขสำคัญเบื้องต้นสำหรับการประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ คือ มีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ล้านบาท สามารถปล่อยสินเชื่อให้ลูกหนี้รายละไม่เกิน 50,000 บาท และเรียกเก็บดอกเบี้ยแบบมีหลักประกันได้ไม่เกินร้อยละ 33 ต่อปี และแบบไม่มีหลักประกันได้ไม่เกินอัตราร้อยละ 36 ต่อปี แบบลดต้น ลดดอก และสำหรับการประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกพลัส คือ มีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท สามารถปล่อยสินเชื่อให้ลูกหนี้รายละไม่เกิน 100,000 บาท โดยสินเชื่อในส่วนที่เกิน 50,000 บาทขึ้นไป เก็บอัตราดอกเบี้ยสูงสุดได้ไม่เกินร้อยละ 28 ต่อปี แบบลดต้นลดดอก ทั้งนี้ ผู้ประกอบการสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ที่เปิดให้บริการในจังหวัดใดสามารถให้บริการปล่อยสินเชื่อได้ภายในจังหวัดที่ได้รับใบอนุญาตเท่านั้น |
3. การปรับโครงสร้างระบบการให้สินเชื่อและการค้ำประกันสินเชื่อ รวม 4 เรื่อง ดังนี้
มาตรการ |
สาระสำคัญ |
|
(1) การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) (เสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบ) |
ธปท. ร่วมกับ กค. อยู่ระหว่างออกหลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม เช่น กำหนดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อให้สอดคล้องกับความเสี่ยงของลูกค้าและลักษณะของสินเชื่อ (Risk-based pricing) ต้องไม่นำดอกเบี้ย ค่าบริการ เบี้ยปรับ และค่าใช้จ่ายมารวมกับจำนวนหนี้ที่ค้างชำระเพื่อคิดดอกเบี้ยและเบี้ยปรับอีก และพิจารณาเงินเหลือสุทธิของลูกค้าให้เพียงพอต่อการดำรงชีพภายหลังจากการหักภาระผ่อนชำระหนี้ทั้งหมดแล้ว และต้องปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้และภาระหนี้ทั้งหมดของลูกหนี้ รวมทั้งปรับลดอัตราดอกเบี้ยให้กับลูกหนี้เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี เป็นต้น |
|
(2) การยกระดับการค้ำประกันสินเชื่อ (เสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบ) |
กค. ร่วมกับ ธปท. อยู่ระหว่างเสนอแนวทางการยกระดับการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้ง่ายขึ้น และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ รวมถึงสามารถส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายและผลักดันทิศทางเชิงกลยุทธ์ (Strategic Direction) ของประเทศได้ต่อไป |
|
(3) การขยายขอบเขตข้อมูลเครดิตบูโรฯ (เสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบ) |
คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิตอยู่ระหว่างพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ. 2545 โดยมีวัตถุประสงค์ขยายขอบเขตข้อมูลเครดิตบูโรฯ ที่สามารถจัดเก็บได้ เช่น ประวัติชำระค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำ - ค่าไฟ ข้อมูลรายได้ เป็นต้น เพื่อให้สะท้อนความตั้งใจที่จะชำระสินเชื่อ และความสามารถในการชำระสินเชื่อจริงของผู้ใช้ข้อมูลซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการปล่อยกู้ และประชาชนมีโอกาสเข้าถึงสินชื่อได้อย่างเป็นธรรมมากขึ้น |
|
(4) ข้อมูลเครดิตบูโรฯ และหลักการบุริมสิทธิ5 ของสหกรณ์ (เสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบ) |
เนื่องจากสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนประกอบธุรกิจหลักในการให้สินเชื่อเช่นเดียวกับสถาบันการเงิน แต่สภาพแวดล้อมในการประกอบธุรกิจของสหกรณ์มีความได้เปรียบกว่าสถาบันการเงิน เนื่องจากมาตรา 42/1 แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้สามารถหักเงินเดือนหรือค่าจ้างเพื่อชำระหนี้แก่สหกรณ์เป็นลำดับแรก อีกทั้งสหกรณ์บางแห่งให้สินเชื่อโดยไมได้พิจารณารายได้คงเหลือเพื่อดำรงชีพทำให้ลูกหนี้สหกรณ์ถูกหักเงินเดือนจนเหลือรายได้เพื่อดำรงชีพไม่เพียงพอและไม่สามารถชำระหนี้กับสถาบันการเงินได้ ประกอบกับปัจจุบันสหกรณ์ส่วนใหญ่ยังไม่มีการรายงานข้อมูลเครดิตบูโรฯ ทำให้สถาบันการเงินให้สินเชื่อโดยไม่ทราบภาระหนี้ที่แท้จริงของลูกหนี้ ซึ่งเป็นต้นเหตุให้ลูกหนี้มีภาระหนี้เกินความสามารถในการผ่อนชำระกลายเป็นปัญหาหนี้เรื้อรัง และสร้างความเสี่ยงต่อระบบการเงินและเป็นภาระทางเศรษฐกิจในที่สุด ดังนั้น สหกรณ์ที่ประกอบธุรกิจหลักในการให้สินเชื่อควรนำส่งข้อมูลเครดิตบูโรฯ ให้แก่บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ รวมทั้งควรมีการจัดการบุริมสิทธิในการตัดเงินเดือนหรือค่าจ้างเพื่อชำระหนี้ที่เป็นธรรมกับทุกฝ่ายและเหมาะสมกับต้นทุนทางการเงินของผู้ให้สินเชื่อแต่ละราย |
_______________________
1 มาตรการตามข้อ 1.1 และ 1.3 เป็นมาตรการที่คณะทำงานเพื่อกำหนดมาตรการในการพักหนี้เกษตรกรและผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 (คณะทำงานฯ) ในคราวการประชุมครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 และการประชุมครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2566 [รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์) เป็นประธาน] ได้มีมติเห็นชอบให้นำเสนอคณะรัฐมนตรี
2 ข้อมูล ณ วันที่ 8 ธันวาคม 2566 ภาระที่รัฐต้องรับชดเชยตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 มียอดคงค้าง จำนวน 1,014,173.95 ล้านบาท ดังนั้น หากมีการอนุมัติมาตรการในครั้งนี้จะส่งผลให้ยอดคงค้างเพิ่มขึ้นเป็น 1,019,073.95 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราร้อยละ 31.99 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน ซึ่งยังคงไม่เกินอัตราร้อยละ 32 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ เรื่อง กำหนดอัตราชดเชยค่าใช้จ่ายหรือการสูญเสียรายได้ของหน่วยงานของรัฐในการดำเนินกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 28
3 รัฐชดเชย NPLs ร้อยละ 100 ไม่เกินร้อยละ 50 ของวงเงินสินเชื่อทั้งหมด 40,000 ล้านบาท โดยลูกหนี้ขอสินเชื่อได้รายละไม่เกิน 10,000 บาท
4 สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ คือ ธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับของ กค. ที่เปิดให้ประชาชนสามารถดำเนินธุรกิจสินเชื่ออย่างถูกกฎหมายในพื้นที่ที่ผู้ให้กู้กับผู้กู้มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในจังหวัดเดียวกัน โดยบริษัทที่ผ่านการอนุญาตจาก กค. จะถือว่าเป็นสถาบันทางการเงินที่สามารถดำเนินธุรกิจสินเชื่อได้อย่างถูกกฎหมาย
5 บุริมสิทธิ คือ สิทธิของเจ้าหนี้ที่มีเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในการที่จะได้รับชำระหนี้อันค้างชำระแก่ตนจากทรัพย์สินนั้นก่อนเจ้าหนี้อื่นตามที่กฎหมายกำหนด
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 19 ธันวาคม 2566
12590