WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างปฏิญญาเนปยีดอของการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านข้าง ครั้งที่ 4

Gov 33

ร่างปฏิญญาเนปยีดอของการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านข้าง ครั้งที่ 4

          คณะรัฐมนตรีรับทราบการเปลี่ยนชื่อร่างแถลงข่าวร่วมของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้าง ครั้งที่ 8 (ร่างแถลงข่าวร่วมฯ) เป็นร่างปฏิญญาเนปยีดอของการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้าง ครั้งที่ 4 (ร่างปฏิญญาฯ) และการปรับเปลี่ยนผู้รับรองเอกสารฉบับดังกล่าวจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นนายกรัฐมนตรีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายในการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง ครั้งที่ 4 โดยไม่กระทบต่อสาระสำคัญของร่างเอกสารดังกล่าวที่คณะรัฐมนตรีได้เคยให้ความเห็นชอบไปแล้วตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ

          สาระสำคัญ

          1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (21 พฤศจิกายน 2566) เห็นชอบร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง ครั้งที่ 8 จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ (1) ร่างแถลงข่าวร่วมฯ (2) ร่างแผนดำเนินการ 5 ปี กรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง (ค.ศ. 2023 - 2027) และ (3) ร่างข้อริเริ่มร่วมเรื่องการพัฒนาระเบียงนวัตกรรมภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายรับรองร่างแถลงข่าวร่วมฯ ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง ครั้งที่ 8 ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566

          2. กต. แจ้งว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีน) ได้เลื่อนการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง ครั้งที่ 8 จากเดิมในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 เป็นวันที่ 7 ธันวาคม 2566 และในโอกาสเดียวกันได้เสนอจัดประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง ครั้งที่ 4 ในวันที่ 25 ธันวาคม 2566 หรือในโอกาสแรกผ่านระบบการประชุมทางไกล จีนและสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (เมียนมา) ในฐานะประธานร่วมจึงเสนอให้นำร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ ทั้ง 3 ฉบับ เสนอให้ที่ประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง ครั้งที่ 4 รับรองแทน และขอปรับเปลี่ยนชื่อร่างแถลงข่าวร่วมฯ เป็นร่างปฏิญญาฯ ซึ่งมีสาระสำคัญไม่ต่างจากร่างแถลงข่าว ร่วมฯ ที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 โดยได้มีการปรับถ้อยคำเพิ่มเติมเล็กน้อยเกี่ยวกับการส่งเสริมความร่วมมือในสาขาต่างๆ เช่น ความร่วมมือด้านความมั่นคงรูปแบบใหม่ การบินพลเรือน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ศาสนา เป็นต้น

          3. สาระสำคัญของร่างปฏิญญาฯ เป็นการแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองของประเทศสมาชิกในการผลักดันความร่วมมือต่างๆ เช่น การผลักดันระเบียงพัฒนาเศรษฐกิจและส่งเสริมความร่วมมือในทางปฏิบัติด้านการบังคับใช้กฎหมาย การเปิดเสรีและการลงทุนในภูมิภาค การแลกเปลี่ยนนโยบายพลังงานใหม่ โครงการความร่วมมือด้านศุลกากรระหว่างประเทศสมาชิก ความร่วมมือด้านการพัฒนาและใช้ทรัพยากรน้ำ การพัฒนาการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืน การส่งเสริมธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมและพัฒนาคาร์บอนต่ำในภูมิภาคความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวและการบินพลเรือน ซึ่งการรับรองปฏิญญาฯ จะแสดงถึงความมุ่งมั่นระดับผู้นำต่อความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมระหว่างอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงกับจีนได้อย่างรอบด้านและสอดคล้องกับผลประโยชน์ของไทยและตอบโจทย์การพัฒนาบริบทความท้าทายในปัจจุบันของอนุภูมิภาคในประเด็นที่เกี่ยวข้อง เช่น การฟื้นฟูเศรษฐกิจ ความท้าทายต่อภัยความมั่นคงรูปแบบใหม่ โดยมีสมาชิกร่วมรับรอง 5 ประเทศ ได้แก่ ราชอาณาจักรกัมพูชา จีน เมียนมา ราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ทั้งนี้ กต. แจ้งว่าร่างปฏิญญาฯ ไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศและไม่เป็นสนธิสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 19 ธันวาคม 2566

 

 

12587

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

SME 720x100 66

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

gen 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!