WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รายงานผลการดำเนินโครงการก่อสร้างโรงงานยาสูบแห่งใหม่

Gov 24

รายงานผลการดำเนินโครงการก่อสร้างโรงงานยาสูบแห่งใหม่

          คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินโครงการก่อสร้างโรงงานยาสูบแห่งใหม่ (โครงการฯ) ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ 

          สาระสำคัญ

          คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (25 ธันวาคม 2550) อนุมัติให้ กค. (โรงงานยาสูบ1) ดำเนินโครงการฯ2 ตามความเห็นของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒนาฯ) และให้โรงงานยาสูบนำเสนอแนวทางและรายงานผลการดำเนินงาน ตามความเห็นของสภาพัฒนาฯ ให้คณะรัฐมนตรีทราบ ในการนี้ การยาสูบแห่งประเทศไทย (ยสท.) จึงขอรายงานผลการดำเนินงาน ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ยสท. ในการประชุมครั้งที่ 6/2566 เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 แล้ว โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

          1. ผลการดำเนินการก่อสร้างโครงการฯ

              1.1 ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติดังกล่าว ยสท. ได้เริ่มดำเนินแผนงานโครงการฯ โดยประกอบด้วยแผนงานหลัก จำนวน 6 แผน ได้แก่ แผนงานจัดซื้อที่ดิน แผนงานก่อสร้างอาคารและระบบในอาคาร แผนงานจัดหา ติดตั้ง ทดสอบและเดินเครื่องจักรใหม่ แผนงานซ่อมแซม ปรับปรุงสมรรถนะ ขนย้าย ติดตั้ง ทดสอบและเดินเครื่องจักรเก่า แผนงานจัดจ้างจัดการซากเครื่องจักรและอุปกรณ์เก่าที่ไม่ใช้ประโยชน์และแผนงานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบ Logistic

              1.2 ยสท. ได้พิจารณานำแนวทางการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) 3 ตามโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ สำหรับหน่วยงานของรัฐที่ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างหรือการร่วมลงทุนภายใต้กฎหมายอื่นนอกเหนือจากพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 (ข้อตกลงคุณธรรมฯ) มาใช้ในโครงการจัดซื้อเครื่องจักรของโรงงานผลิตยาสูบแห่งใหม่ด้วยตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 เมยายน 2558 (เรื่อง การปรับแผนการดำเนินงานโครงการก่อสร้างโรงงานผลิตยาสูบแห่งใหม่ ของโรงงานยาสูบ กค.) โดยต่อมาเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2566 ยสท. ได้รายงานผลการดำเนินงานตามข้อตกลงคุณธรรมฯ ที่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จต่อคณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริตด้วยแล้ว

              1.3 ยสท. ได้ดำเนินการตามแผนงานโครงการฯ โดยแล้วเสร็จสมบูรณ์ โดยใช้แหล่งเงินลงทุนจากเงินรายได้ของ ยสท. ในการดำเนินโครงการฯ ภายใต้กรอบวงเงิน 15,952.96 ล้านบาท โดยมีวงเงินเบิกจ่ายจริงทั้งสิ้น 12,414.30 ล้านบาท (ต่ำกว่ากรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติไว้ 3,538.65 ล้านบาท) ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

หน่วย : ล้านบาท

รายการ

วงเงินที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ

วงเงินเบิกจ่ายจริง

(1) ค่าที่ดิน

536.97

536.97

(2) ค่างานอาคารและระบบสาธารณูปโภค

5,464.46

5,414.81

(3) ค่าขนย้ายเครื่องจักรเดิม

39.71

20.88

(4) ค่าปรับปรุงเครื่องจักรเดิม

1,214.00

760.71

(5) ค่าจัดซื้อเครื่องจักรใหม่

7,149.70

4,791.16

(6) ค่าที่ปรึกษา

756.00

796.54

(7) สำรองเผื่อเหลือเผื่อขาด

792.13

93.23

รวม

15,952.96

12,414.30

 

              1.4 ยสท. เริ่มผลิตบุหรี่ซิกาแรตอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2561 โดยปัจจุบันมีความสามารถผลิตบุหรี่ ดังนี้

 

กระบวนการ

กำลังการผลิต

(1) กระบวนการผลิตยาเส้น

12,000 กิโลกรัมต่อชั่วโมง

(2) กระบวนการผลิตยาเส้นพอง

2,280 กิโลกรัมต่อชั่วโมง

(3) กระบวนการมวนและบรรจุบุหรี่

30,000 ล้านมวนต่อปี

 

              1.5 ยสท. ได้พัฒนาพื้นที่ของ ยสท. เดิมในกรุงเทพมหานครให้เป็น สวนน้ำและส่วนป่า และสวนสาธารณะ “เบญจกิติ” โดยกรมธนารักษ์ กค. เป็นผู้รับผิดชอบโครงการก่อสร้าง และ ยสท. ได้สมทบเงินค่าก่อสร้างด้วย

          2. ผลการดำเนินงานตามความเห็นของสภาพัฒนาฯ

          ยสท. ได้จัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามความเห็นของสภาพัฒนาฯ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2550 สรุปได้ ดังนี้

 

ความเห็นสภาพัฒนาฯ

 

ผลการดำเนินการ

(1) เห็นควรให้ ยสท. นำปัจจัยด้านค่าใช้จ่ายดำเนินงานมาประกอบการพิจารณาคัดเลือกที่ดินเพื่อก่อสร้างโรงงานร่วมกับการพิจารณาด้านกายภาพด้วยเพื่อให้การคัดเลือกที่ดินโครงการมีความสมบูรณ์ ครบถ้วนในทุกมิติคุ้มค่า และประหยัดค่าใช้จ่ายขององค์กรในระยะยาว

 

ยสท. ได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดซื้อที่ดินและจ้างบริษัทผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการประเมินราคาที่ดินเพื่อพิจารณาวิเคราะห์ความเหมาะสมของที่ตั้งโรงงานและการใช้ประโยชน์พื้นที่ รวมถึงเพื่อให้การคัดเลือกที่ดิน โครงการฯ มีความสมบูรณ์ ครบถ้วนในทุกมิติ คุ้มค่าและประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว โดย ยสท. ได้ซื้อที่ดินสวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดอยุธยา จำนวน 2 แปลง เพื่อใช้สำหรับก่อสร้างอาคารโรงงานผลิตยาสูบ จำนวน 220 ไร่ และสำหรับก่อสร้างที่พักอาศัย จำนวน 22 ไร่

(2) ยสท. ควรให้ความสำคัญในการจัดทำมาตรการควบคุมมลภาวะทางอากาศของโรงงานยาสูบแห่งใหม่โดยพิจารณาเทคโนโลยีที่เหมาะสมและดำเนินมาตรการเพื่อลดภาระด้านกลิ่นและฝุ่นอย่างเคร่งครัดให้เกิดผลในการปฏิบัติ

 

ยสท. ได้นำเทคโนโลยีระบบกำจัดฝุ่นมาใช้ในการบำบัดมลภาวะทางอากาศ ก่อนปล่อยออกสู่บรรยากาศ และนำเทคโนโลยีระบบปรับอากาศ โดยวิธีการพ่นสเปรย์น้ำ (Air Washer) เพื่อช่วยในการปรับอากาศและกำจัดฝุ่นผงใบยาที่คงเหลือในอากาศ อีกทั้งยังมีการออกแบบภูมิทัศน์ให้ร่มรื่นและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยในการกรองกลิ่น ฝุ่น เสียง และดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ รวมถึงดูดซับสารพิษ

(3) ยสท. ควรพิจารณาความเหมาะสมการใช้แหล่งเงินทุนอื่น แทนเงินนำส่งรัฐที่จะขอกันเพิ่มติม จำนวน 9,350 ล้านบาท เนื่องจากเป็นโครงการที่มีความคุ้มค่าในเชิงพาณิชย์

 

ยสท. ได้พิจารณาแนวทางการใช้แหล่งเงินทุนอื่นนอกเหนือจากการนำเงินส่งรัฐแล้วพบว่ามีข้อจำกัดหลายประการ ทำให้ไม่สามารถจัดหาแหล่งเงินทุนอื่นเพื่อใช้ในการดำเนินโครงการฯ ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (14 ธันวาคม 2553) อนุมัติให้ ยสท. ใช้แหล่งเงินลงทุนจากเงินรายได้ของ ยสท. ในการดำเนินการโครงการฯ โดยให้ กค. เป็นผู้พิจารณาความเหมาะสมของการลดอัตราการนำส่งรายได้แผ่นดินของ ยสท.

(4) เนื่องจากกิจการยาสูบส่งผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน ยสท. ต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมให้มากขึ้น โดยสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคมในด้านต่างๆ เช่น การศึกษา การวิจัยพัฒนา และการดูแลรักษาสภาพแวดล้อม นอกจากนี้ ให้จัดสรรงบประมาณเพื่อการประชาสัมพันธ์และการรณรงค์เพื่องดการสูบบุหรี่

 

ยสท. ได้ออกแบบกระบวนการผลิตบุหรี่ที่ส่งเสริมการเป็นโรงงานเชิงนิเวศน์ (Eco - factor) มีการช่วยเหลือและดูแลเกษตรกรผู้เพาะปลูกใบยา เช่น ให้ความรู้เกี่ยวกับการเพาะปลูกใบยา และรับประกันราคาซื้อใบยาจากเกษตรกร เป็นต้น รวมทั้งพัฒนาคุณภาพของยาสูบไทยแต่ละตราโดยคำนึงถึงสุขภาพของผู้บริโภค เช่น ควบคุมนิโคตินในใบยาสูบ ควบคุมปริมาณสารตกค้างและทาร์ที่มีอยู่ในบุหรี่ เป็นต้น

(5) ยสท. ควรพิจารณาแนวทางการปรับองค์กรให้สามารถดำเนินกิจการในเชิงธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพความคล่องตัวในการดำเนินงาน และการระดมทุน โดยเร่งแปลงสภาพเป็นนิติบุคคลให้แล้วเสร็จโดยเร็ว รวมทั้ง พิจารณาแนวทางการลดบทบาทภาครัฐในกิจการยาสูบในระยะต่อไป

 

เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2561 ยสท. ได้ยกฐานะเป็นองค์กรนิติบุคคลภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลังตามพระราชบัญญัติการยาสูบแห่งประเทศไทย .. 2561 มีวัตถุประสงค์ในการผลิตบุหรี่ ซิกาแรต ซึ่งเป็นกิจการผูกขาดของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต และการกระทำกิจการอื่น

__________________

1 ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น การยาสูบแห่งประเทศไทย (ตามพระราชบัญญัติการยาสูบแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2561)

2 โครงการฯ ก่อสร้างขึ้นที่สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 2 แปลง เพื่อใช้สำหรับก่อสร้างอาคารโรงานผลิตยาสูบจำนวน 220 ไร่ และสำหรับก่อสร้างที่พักอาศัยจำนวน 22 ไร่ ภายในกรอบวงเงิน 16,200 ล้านบาท ซึ่งต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 7 เมษายน 58 ปรับลดกรอบวงเงินตามแผนงานใหม่ เหลือ 15,592.96 ล้านบาท

3เป็นข้อตกลงที่เป็นลายลักษณ์อักษร กำหนดให้มีการลงนามร่วมกัน 3 ฝ่าย ระหว่างหน่วยงานภาครัฐเจ้าของโครงการจัดซื้อจัดจ้าง ผู้ประกอบการซึ่งเป็นผู้เข้าร่วมการเสนอราคา และผู้สังเกตการณ์ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในโครงการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐ

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 12 ธันวาคม 2566

 

 

12332

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kbank 720x100 66

SME 720x100 66QIC 720x100

วิริยะ 720x100AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

iconmotor

gen 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!