WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายดำเนินโครงการเยียวยาแรงงานไทยจากสถานการณ์ความไม่สงบในประเทศอิสราเอล ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

Gov 14

ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายดำเนินโครงการเยียวยาแรงงานไทยจากสถานการณ์ความไม่สงบในประเทศอิสราเอล ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

           คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงแรงงานเสนอการขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น งบประมาณจำนวน 750,000,000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการเยียวยาแรงงานไทยจากสถานการณ์ความไม่สงบในประเทศอิสราเอล ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ต่อไป

           สาระสำคัญ

           กระทรวงแรงงานเสนอโครงการเยียวยาแรงงานไทยจากสถานการณ์ความไม่สงบในประเทศอิสราเอล ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

           1. ความเป็นมา : จากสถานการณ์ความไม่สงบในประเทศอิสราเอล ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2566 และยังคงมีแนวโน้มยืดเยื้อต่อไป ส่งผลให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งรวมถึงแรงงานไทยที่เดินทางไปทำงานในประเทศอิสราเอลได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทั้งได้รับบาดเจ็บ เสียชีวิต หรือถูกจับเป็นตัวประกัน ซึ่งจากสถานการณ์ในปัจจุบันได้มีการประเมินสถานการณ์สู้รบในประเทศอิสราเอลอาจขยายวงกว้าง รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มีความห่วงใยแรงงานไทยซึ่งอาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตของแรงงานไทยที่ทำงานอยู่ในประเทศอิสราเอล ทั้งนี้ ยังมีแรงงานบางส่วนที่ยังมีความกังวลถึงค่าจ้างที่ยังไม่ได้รับหรือกังวลว่าจะไม่สามารถเดินทางกลับไปทำงานได้ภายหลังจากสถานการณ์สงบลงดังนั้น กระทรวงแรงงานยืนยันและให้ความมั่นใจว่าแรงงานทุกคนจะได้รับค่าจ้างเต็มจำนวนและจะสามารถกลับไปทำงานภายหลังสถานการณ์สงบได้อย่างแน่นอน จึงขอให้แรงงานไทยเดินทางกลับประเทศโดยด่วนและเสนอมาตรการช่วยเหลือเยียวยาแรงงานไทยที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ จำนวน 50,000 บาท/คน โดยประมาณการแรงงานไทยจำนวน 15,000 คน

           2. วัตถุประสงค์ : เพื่อให้แรงงานไทยที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในประเทศอิสราเอลได้รับความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนจากการขาดรายได้ในเบื้องต้น รวมทั้งเพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แรงงานไทยที่เดินทางไปทำงานในประเทศอิสราเอลได้รับการดูแลจากภาครัฐอย่างจริงจัง และเพื่อให้แรงงานไทยมีความเชื่อมั่นในการเดินทางไปทำงานในประเทศอิสราเอล

           3. กลุ่มเป้าหมาย : ประมาณการจำนวนแรงงานไทยที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในประเทศอิสราเอล จำนวน 4 กลุ่ม ดังนี้

 

ที่

กลุ่มเป้าหมาย

งบประมาณ

จำนวน (คน)

อัตรา

ค่าใช้จ่าย/คน

รวม

1.

แรงงานไทยที่เดินทางไปทำงานในประเทศอิสราเอลและเดินทางกลับประเทศไทยหลังวันที่ 7 ตุลาคม 2566

9,475

50,000

473,750,000

2.

แรงงานไทยที่เสียชีวิตจากสถานการณ์ความไม่สงบในประเทศอิสราเอล

39

50,000

1,950,000

3.

แรงงานไทยที่เดินทางไปทำงานในประเทศอิสราเอลและเดินทางกลับประเทศไทย ก่อนวันที่ 7 ตุลาคม 2566 โดยใช้ Re-Entry Visa แต่ไม่สามารถเดินทางกลับไปทำงานที่ประเทศอิสราเอลได้เนื่องจากกรมการจัดหางานชะลอการเดินทางด้วยเหตุภัยสงครามในประเทศอิสราเอล

960

50,000

48,000,000

4.

ประมาณการแรงงานไทยที่คาดว่าจะประสงค์เดินทางกลับไทย/เดินทางกลับไทยเพิ่มเติม รวมถึงแรงงานไทยที่ยังคงถูกจับเป็นตัวประกัน

4,526

50,000

226,300,000

รวมทั้งสิ้น

15,000

50,000

750,000,000

ข้อมูล ณ วันที่ 6 ธันวาคม 2566

           หมายเหตุ

           1) Re-Entry Visa คือ แรงงานไทยจะได้รับอนุญาตให้เดินทางไปทำงานในประเทศอิสราเอลได้คนละ 1 ครั้ง ซึ่งมีระยะเวลา 5 ปี 3 เดือน ซึ่งระหว่างระยะเวลาดังกล่าว หากแรงงานมีความประสงค์จะขอกลับประเทศไทยเพื่อกลับมาเยี่ยมบ้านสามารถทำได้โดยการขอ Re-Entry Visa เพื่อเดินทางกลับประเทศไทยและต้องได้รับ Re-Entry Visa แล้วเท่านั้นจึงจะสามารถเดินทางกลับประเทศไทยได้ ทั้งนี้ ต้องเดินทางกลับไปทำงาน ณ ประเทศอิสราเอล ภายในระยะเวลา 90 วัน (วันที่ 9 กรกฎาคม - 6 ตุลาคม 2566) มิฉะนั้นจะไม่สามารถเดินทางกลับไปทำงานได้อีก ซึ่งแรงงานกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่เดินทางกลับประเทศไทยก่อนเกิดเหตุการณ์ไม่สงบในประเทศอิสราเอลโดยเป็นการเดินทางกลับประเทศไทยก่อนวันที่ 7 ตุลาคม 2566

           2) จำนวนกลุ่มเป้าหมายข้างต้นเป็นการประมาณการอาจมีปรับเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์

 

 

           4. วิธีดำเนินการ

               4.1 สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงานทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รับคำร้องขอรับเงินเยียวยาเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในประเทศอิสราเอล

               4.2 ตรวจสอบเอกสารข้อมูลตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงานกำหนด

               4.3 ดำเนินการเบิกจ่ายเงินเยียวยาให้กับแรงงานไทยที่มีคุณสมบัติครบถ้วนโดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของแรงงานไทย

               4.4 ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงาน โดยผู้บริหารกระทรวงแรงงานและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

           5. ระยะเวลาดำเนินการ : ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2566 - กันยายน 2567 หรือจนกว่าจะดำเนินการจ่ายเงินเยียวยาแล้วเสร็จ

           6. งบประมาณ : จำนวน 750,000,000 บาท 

           7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

               7.1 แรงงานไทยและครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในประเทศอิสราเอลได้รับความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนจากภาครัฐอย่างจริงจัง

               7.2 เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แรงงานไทยที่ได้รับการรับเยียวยาจากภาครัฐโดยได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้

               7.3 สร้างความเชื่อมั่นให้กับแรงงานไทยที่จะเดินทางไปทำงานในประเทศอิสราเอล

           8. การติดตามผล

               8.1 การรายงานผลการเบิกจ่ายเงินเยียวยาให้กับแรงงานไทยเป็นประจำทุกวัน

               8.2 การลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงาน โดยผู้บริหารกระทรวงแรงงานและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

           ประโยชน์และผลกระทบ

           1. การดำเนินโครงการฯ จะส่งผลทำให้แรงงานไทยกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 15,000 คนและครอบครัว ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในประเทศอิสราเอลได้รับความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนจากภาครัฐ รวมทั้งเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แรงงานไทยที่ได้รับการเยียวยาจากภาครัฐโดยได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้และสร้างความเชื่อมั่นให้กับแรงงานไทยที่จะเดินทางไปทำงานในประเทศอิสราเอล

           2. สถานการณ์แรงงานไทยในประเทศอิสราเอล (ณ วันที่ 6 ธันวาคม 2566) แรงงานไทยที่ไปทำงานในประเทศอิสราเอล จำนวน 29,900 คน แยกเป็น 1) เดินทางกลับถึงประเทศไทยแล้วจำนวน 9,475 คน (เดินทางกลับหลังวันที่ 7 ธันวาคม 2566) 2) เสียชีวิต จำนวน 39 ราย และยังคงอยู่ในอิสราเอล จำนวน 20,386 คน ผลกระทบต่อแรงงานไทย แรงงานที่เดินทางกลับมาก่อนวันที่ 7 ตุลาคม 2566 ด้วย inter visa และกำลังจะหมดอายุ รวมถึงไม่สามารถเลื่อนตั๋วเดินทางกลับอิสราเอลได้ ซึ่งแรงงานได้จ่ายค่าตั๋วไปเรียบร้อยแล้วทำให้ประสบความเดือดร้อนว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายดังกล่าว สำหรับในปี 2567 การจัดสรรโควตาแรงงานไทยภาคเกษตรอาจได้รับการจัดสรรน้อยลง เนื่องจากการชะลอการจัดส่งแรงงานไทยเดินทางไปทำงานในอิสราเอล โดยมีการนำเข้าแรงงานชาติอื่นแทน

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 12 ธันวาคม 2566

 

 

12331

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

SME 720x100 66

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

gen 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!