WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างกฎกระทรวงสถานที่เก็บรักษาน้ำมัน พ.ศ. ....

Gov 22

ร่างกฎกระทรวงสถานที่เก็บรักษาน้ำมัน พ.ศ. ....

          คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงสถานที่เก็บรักษาน้ำมัน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาต่อไป 

          สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง 

          เป็นการปรับปรุงกฎกระทรวงสถานที่เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยมีการแก้ไขในส่วนสำคัญ ดังนี้

          1. แก้ไขเฉพาะถ้อยคำให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น โดยยังคงสาระสำคัญตามกฎกระทรวงสถานที่เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เช่น แก้ไขคำว่า “น้ำมันเชื้อเพลิง” เป็น “น้ำมัน” เป็นต้น เพื่อให้สอดคล้องกับถ้อยคำตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้ง การอนุญาต และอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2556

          2. แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบกิจการสถานที่เก็บรักษาน้ำมัน สำหรับสถานที่เก็บรักษาน้ำมัน ลักษณะที่สาม (โรงงานหรือสถานประกอบกิจการขนาดใหญ่) ดังนี้

              (1) แก้ไขเพิ่มเติมลักษณะและระยะปลอดภัยภายนอกของสถานที่เก็บรักษาน้ำมัน เพื่อการจำหน่ายหรือเพื่อการใช้เอง ต้องอยู่ห่างจากเขตพระราชฐาน ไม่น้อยกว่า 1,000 เมตร หรือ 500 เมตร แล้วแต่กรณี โดยให้ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากสำนักพระราชวัง (เดิมไม่ได้กำหนดข้อยกเว้น) ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎกระทรวงสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ พ.ศ. 2564

              (2) เพิ่มเติมหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการจัดเก็บภาชนะบรรจุน้ำมันภายในอาคารเก็บภาชนะบรรจุน้ำมัน โดยปรับปรุงข้อห้ามในการจัดเก็บภาชนะบรรจุน้ำมันภายในอาคารเก็บภาชนะบรรจุน้ำมันให้มีความชัดเจนและเป็นไปตามข้อกำหนดตามมาตรฐาน NFPA 301 (Chapter 9) เช่น ห้ามตั้งขวดน้ำมัน กระป๋องน้ำมัน ถังน้ำมัน หรือถังเก็บน้ำมันขนาดเล็กที่บรรจุน้ำมันชนิดไวไฟมาก ยกเว้นถังเก็บน้ำมันขนาดใหญ่ที่ติดตั้งไว้ในอาคารติดตั้งถังเก็บน้ำมันโดยเฉพาะ เป็นต้น (เดิมกำหนดข้อห้ามการจัดเก็บภาชนะบรรจุน้ำมันชนิดไวไฟมาก) 

              (3) กำหนดเพิ่ม “อาคารติดตั้งถังเก็บน้ำมันโดยเฉพาะ” ที่เป็นรูปแบบใหม่ขึ้นอีกหนึ่งลักษณะ ให้สามารถติดตั้งถังเก็บน้ำมันภายในอาคาร โดยเป็นอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อคลุมพื้นที่ที่ติดตั้งถังเก็บน้ำมันไว้เป็นการเฉพาะ (จากเดิมมี 2 ลักษณะ คือ การติดตั้งถังเก็บน้ำมันเหนือพื้นดินและใต้พื้นดิน) เพื่อเป็นไปตามข้อกำหนดตามมาตรฐาน NFPA 30 (Chapter 24) รวมทั้งกำหนดเพิ่มเติมการควบคุมที่จำเป็นในการป้องกันและระงับอัคคีภัยเพื่อความปลอดภัยและป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น เช่น มีระบบตรวจจับและแจ้งเตือนน้ำมันรั่ว (leak detection and annunciation) ภายในสถานที่เก็บรักษาน้ำมันที่ติดตั้งถังเก็บน้ำมันขนาดใหญ่ ทั้งนี้ เพื่อรองรับการประกอบธุรกิจศูนย์ข้อมูล (Data Center) หรือธุรกิจที่มีความจำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าสำรองฉุกเฉินหรือธุรกิจอื่นในลักษณะเดียวกัน เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล โรงแรม และสนามบิน

          การปรับปรุงร่างกฎกระทรวงดังกล่าวเป็นการปรับปรุงกฎกระทรวงสถานที่เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดตามมาตรฐาน NFPA 30 กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้ง การอนุญาต และอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2556 และกฎกระทรวงสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ พ.ศ. 2564 โดยเป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2566 (เรื่อง การชี้แจงขั้นตอนและรายงานผลการดำเนินการฯ เสนอร่างกฎหมายเกี่ยวกับสถานที่เก็บรักษาน้ำมันภายใต้พระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542) อันจะทำให้การกำกับดูแลการประกอบกิจการสถานที่เก็บรักษาน้ำมันเป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานระดับสากล สามารถสร้างการแข่งขันอย่างเป็นธรรม และส่งเสริมให้เกิดความเชื่อมั่นในการลงทุนธุรกิจจากต่างประเทศ ตลอดจนเพื่อให้สอดคล้องกับแผนการดำเนินงานของผู้ประกอบธุรกิจศูนย์ข้อมูล (Data Center)2 ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ประกอบกับคณะกรรมการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง ในการประชุมครั้งที่ 4/2566 เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2566 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการของร่างกฎกระทรวงดังกล่าว และกระทรวงพลังงานได้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายเพื่อให้เป็นไปตามกฎกระทรวงกำหนดร่างกฎที่ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นและวิเคราะห์ผลกระทบ พ.ศ. 2565 ด้วยแล้ว 

_______________________ 

1 มาตรฐาน NFPA กำหนดโดยสมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติ (National Fire Protection Association: NFPA) ของสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2439 มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการป้องกันอัคคีภัยและลดความสูญเสียต่ออัคคีภัยให้มากที่สุด โดยมาตรฐาน NFPA 30 คือ การกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยของของเหลวไวไฟและติดไฟได้ (Flammable and Combustible Liquids Code) เพื่อลดอันตรายจากการจัดเก็บและการใช้งานของเหลวไวไฟหรือติดไฟได้

2 ธุรกิจศูนย์ข้อมูล (Data Center) เป็นธุรกิจที่ให้บริการสถานที่สำหรับจัดเก็บ ดำเนินการ และดูแลเครื่องมือในการให้บริการ Cloud ไม่ว่าจะเป็นเซิร์ฟเวอร์ ไดรฟ์พื้นที่เก็บข้อมูล และอุปกรณ์เครือข่ายต่างๆ ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกในการจัดเก็บและจัดการข้อมูลดิจิทัลของผู้ใช้บริการ Cloud ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชน ซึ่งมีข้อมูลที่มีความสำคัญและละเอียดอ่อน ดังนั้น Data Center จึงต้องมีความปลอดภัยสูง รวมถึงต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อดูแลอุปกรณ์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ระบบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ระบบสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับจ่ายน้ำมันให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ระบบทำความเย็น อาคาร และระบบปรับอากาศภายในห้องอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

 

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 4 ธันวาคม 2566

 

 

12232

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

SME 720x100 66

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

gen 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!