WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ขอความเห็นชอบการร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยการเกษตรกรรมยั่งยืน ระบบอาหารที่ยืดหยุ่น และการรับมือกับการเปลี่ยนปลงสภาพภูมิอากาศ (Declaration on Sustainable Agriculture, Resilient Food Systems, and Climate Action) ในการประชุม COP28 UNFCCC สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

Gov 11

ขอความเห็นชอบการร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยการเกษตรกรรมยั่งยืน ระบบอาหารที่ยืดหยุ่น และการรับมือกับการเปลี่ยนปลงสภาพภูมิอากาศ (Declaration on Sustainable Agriculture, Resilient Food Systems, and Climate Action) ในการประชุม COP28 UNFCCC สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ ดังนี้

          1. เห็นชอบต่อร่างปฏิญญาว่าด้วยการเกษตรกรรมยั่งยืน ระบบอาหารที่ยืดหยุ่น และการรับมือกับการเปลี่ยนปลงสภาพภูมิอากาศ (Declaration on Sustainable Agriculture, Resilient Food Systems, and Climate Action) (ร่างปฏิญญาว่าด้วยการเกษตรกรรมยั่งยืนฯ)

          2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงนามในร่างปฏิญญาว่าด้วยการเกษตรกรรมยั่งยืนฯ [จะมีการให้ความเห็นชอบและร่วมรับรองร่างปฏิญญาว่าด้วยการเกษตรกรรมยั่งยืนฯ ในการประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 28 (COP28 UNFCCC) (การประชุม COP28) ในวันที่ 1 ธันวาคม 2566 ณ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์]

          ทั้งนี้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ในฐานะประเทศเจ้าภาพจัดการประชุม COP28 ซึ่งจะขึ้นในระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน - 12 ธันวาคม 2566 ได้มีหนังสือถึงประเทศสมาชิกขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ [Food and Agriculture Organization of the United Nations (FAO)] เพื่อขอความเห็นชอบจากประเทศสมาชิกให้ร่วมลงนามรับรองในร่างปฏิญญาว่าด้วยการเกษตรกรรมยั่งยืนฯ ทั้งนี้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ขอให้ประเทศสมาชิกที่เห็นชอบจัดทำหนังสือกลาง (Note Verbale) แจ้งผลการพิจารณาการร่วมลงนามภายในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 ด้วย

          ร่างปฏิญญาว่าด้วยการเกษตรกรรมยั่งยืนฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

 

หัวข้อ

 

รายละเอียด เช่น

1. ประเด็นที่ควรตระหนักถึง

 

(1) สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงส่งผลต่อความสามารถในการฟื้นตัวด้านการเกษตรและระบบอาหารเพิ่มมากขึ้น รวมถึงส่งผลต่อกลุ่มเปราะบางในการเข้าถึงอาหาร เมื่อต้องเผชิญกับความหิวโหย ภาวะทุพโภชนาการ และความตึงเครียดทางเศรษฐกิจที่เพิ่มสูงขึ้น

(2) ประชาชนทุกคนมีสิทธิได้รับอาหารที่ปลอดภัย เพียงพอ ราคาไม่แพงและมีคุณค่าทางโภชนาตามบริบทของความมั่นคงทางอาหารของประเทศ

(3) ระบบเกษตรและอาหารเป็นพื้นฐานสำคัญในการดำรงชีวิตของประชาชนทุกคน เช่น เกษตรกรรายย่อย เกษตรกรแบบครอบครัว ชาวประมง ผู้ประกอบการด้านอาหาร ดังนั้น ความร่วมมือของทุกฝ่ายจึงมีบทบาทสำคัญต่อการตอบสนองการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความมั่นคงทางอาหาร โดยเฉพาะความร่วมมือของสถาบันการเงินในการให้เงินทุนสนับสนุน

2. แนวทางการทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการ

 

(1) เพิ่มกิจกรรมเกี่ยวกับการปรับตัวและการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อลดความเปราะบางของเกษตรกร ชาวประมง และผู้ผลิตอาหาร รวมถึงเพิ่มการสนับสนุนทางการเงินและทางเทคนิคสำหรับแก้ไขปัญหา เช่น การสร้างระบบเตือนภัยล่วงหน้าที่เกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหาร การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและนวัตกรรม การเสริมสร้างและการจัดการน้ำแบบบูรณาการในระบบเกษตรและอาหารทุกระดับเพื่อให้เกิดความยั่งยืน

(2) สนับสนุนผู้ด้อยโอกาสผ่านแนวทางต่างๆ เช่น การมีระบบการคุ้มครองทางสังคมและเครือข่ายความปลอดภัย การวิจัยและนวัตกรรมที่ตรงเป้าหมายและความต้องการเฉพาะของกลุ่มต่างๆ โครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน

(3) สนับสนุนคนงานในภาคการเกษตรและระบบอาหาร รวมถึงบทบาทของสตรีและเยาวชนให้สามารถปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้ยังสามารถประกอบอาชีพได้ตามแนวทางที่เหมาะสม

(4) ลดผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการ เช่น เสริมสร้างสุขภาพของดิน สร้างความหลากหลายทางชีวภาพ และลดการสูญเสียขยะทางอาหารจากการผลิตและการบริโภค เสริมสร้างการจัดการน้ำแบบบูรณาการ

3. การดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายภายในปี 2568

 

(1) เพิ่มการมีส่วนร่วมตามความเหมาะสมภายในบริบทของประเทศ โดยบูรณาการระบบเกษตรและอาหารเข้ากับแผนของชาติ เช่น ยุทธศาสตร์ระยะยาว และยุทธศาสตร์ความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ ก่อนที่จะมีการประชุม COP30 (ปี 2568)

(2) ทบทวนหรือปรับทิศทางนโยบายที่เกี่ยวข้องกับระบบเกษตรและอาหาร เช่น ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สนับสนุนความสามารถในการปรับตัวและการดำรงชีวิตและส่งเสริมให้เกิดการลดการสูญเสียอาหาร ของเสีย และความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศ รวมทั้งส่งเสริมการเข้าถึงการเงินทุกรูปแบบจากภาครัฐ องค์กรการกุศลและภาคเอกชน สำหรับการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงด้านเกษตรและอาหาร เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศและความมั่นคงทางอาหาร

(3) ส่งเสริมด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม รวมถึงความรู้ในท้องถิ่นและชนพื้นเมือง เพื่อเพิ่มผลผลิตและการผลิตที่ยั่งยืนของเกษตรกร รวมทั้งส่งเสริมความยืดหยุ่นของระบบนิเวศและปรับปรุงความเป็นอยู่ของชุมชนในชนบท เกษตรกรรายย่อย ครอบครัวเกษตรกรและผู้ผลิตรายอื่น

(4) เสริมสร้างระบบการค้าพหุภาคีที่ไม่เลือกปฏิบัติ เปิดกว้าง ยุติธรรม เสมอภาคและโปร่งใส โดยมีองค์การการค้าโลกเป็นแกนหลัก

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 28 พฤศจิกายน 2566

สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

111159

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

SME 720x100 66

kbank 720x100 66

TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

QIC 720x100

gen 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!