WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างพระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 พ.ศ. ....

Gov 07

ร่างพระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 พ.ศ. ....

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ และให้ส่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไปได้

          ทั้งนี้ ยธ. เสนอว่าได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 พ.ศ. .... ที่ สคก. ตรวจพิจารณาแล้ว และยืนยันให้ดำเนินการต่อไป ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ทั้งฉบับ เพื่อยกเลิกบทบัญญัติที่กำหนดความผิดทางอาญาที่เกิดจากการใช้เช็ค ซึ่งสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และข้อ 11 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ทั้งนี้ ได้ดำเนินการตามแนวทางการจัดทำและการเสนอร่างกฎหมายตามบทบัญญัติมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว โดยมีการรับฟังความคิดเห็นก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี และในชั้นการตรวจพิจารณาของ สคก. ได้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติมทางเว็บไซต์ระบบกลางทางกฎหมาย (Iaw.go.th) ระหว่างวันที่ 2 - 16 สิงหาคม 2565 (รวม 15 วัน) และได้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายตามแนวทางมติคณะรัฐมนตรี (19 พฤศจิกายน 2562) เรื่อง การดำเนินการเพื่อรองรับและขับเคลื่อนการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 พร้อมทั้งได้เผยแพร่ผลการรับฟังความคิดเห็นพร้อมการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายผ่านทางเว็บไซต์เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบแล้ว

          สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ

          1. ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 

          2. กำหนดให้พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป 

          3. กำหนดมาตรการเพื่อรองรับกรณีที่เจ้าหนี้ได้ฟ้องลูกหนี้เป็นคดีอาญาแล้ว และในกระบวนพิจารณาของศาล เจ้าหนี้และลูกหนี้ได้ตกลงให้มีการผ่อนชำระเงินตามข้อตกลงที่ปรากฏในรายงานกระบวนพิจารณา โดยให้ถือว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามกฎหมายและหากต่อมาลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว เจ้าหนี้มีสิทธิยื่นคำขอต่อศาลให้ออกคำบังคับได้โดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีใหม่

          4. กำหนดศาลที่มีอำนาจในการพิจารณาและพิพากษาคดีในส่วนแพ่ง โดยในคดีที่โจทก์ได้รวมฟ้องคดีแพ่งเรียกเงินตามเช็คต่อศาลซึ่งมีอำนาจพิจารณาคดีอาญาตามความในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 กอนวันที่กฎหมายนี้ใช้บังคับและศาลยังมิได้มีคำพิพากษา ให้ศาลที่อยู่ระหว่างการพิจารณาคดีสั่งจำหน่ายคดีในส่วนที่เป็นคดีอาญา แต่ยังคงมีอำนาจพิจารณาและพิพากษาคดีในส่วนแพ่งนั้นต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งการกำหนดในลักษณะนี้จะรวมถึงอำนาจของศาลแขวงในการพิจารณาและพิพากษาคดีแพ่งเรียกเงินตามเช็คซึ่งมีมูลหนี้ หรือจำนวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน 300,000 บาท ตามความในมาตรา 25 แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

          5. กำหนดมาตรการเร่งรัดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปล่อยตัวผู้ต้องโทษจำคุกและผู้ที่อยู่ระหว่างการคุมประพฤติหรือการพักการลงโทษโดยเร็ว โดยแบ่งเป็น 2 กรณี คือ 

              5.1 ในกรณีของผู้ที่อยู่ระหว่างการต้องโทษจำคุก ให้กรมราชทัณฑ์ต้องปล่อยตัวทันทีภายในวันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับ โดยให้กรมราชทัณฑ์มีอำนาจปล่อยตัวผู้ต้องโทษทันทีโดยไม่ต้องขอศาลให้ออกหมายปล่อย

              5.2 ในกรณีของผู้ที่อยู่ระหว่างการคุมประพฤติหรือการพักการลงโทษ กำหนดเป็นบทเร่งรัดให้ผู้ออกคำสั่งการคุมประพฤติหรือคำสั่งการพักการลงโทษจะต้องเพิกถอนคำสั่งการคุมประพฤติหรือคำสั่งการพักการลงโทษโดยเร็ว

          6. กำหนดวิธีการคำนวณโทษจําคุกในกรณีที่ผู้ต้องโทษจําคุกได้รับโทษจำคุกสำหรับความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค และความผิดตามกฎหมายอื่นซึ่งเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน โดยให้ถือว่าโทษที่ผู้ต้องโทษได้รับไปแล้วเป็นโทษสำหรับการกระทำความผิดตามกฎหมายอื่น และถ้าโทษที่ได้รับไปแล้วเท่ากับหรือเกินโทษที่ได้รับสำหรับการกระทำความผิดตามกฎหมายอื่นนั้น ให้ปล่อยตัวผู้ต้องโทษโดยทันที แต่ทั้งนี้ การปล่อยตัวผู้ต้องโทษในกรณีนี้กรมราชทัณฑ์จะต้องขอศาลให้ออกหมายปล่อย เพื่อให้มีการตรวจสอบว่าระยะเวลาในการจำคุกสำหรับความผิดอื่นนั้นเป็นไปตามกฎหมาย

          7. กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อกำกับดูแลให้การดำเนินการต่างๆ เป็นไปโดยรวดเร็วตามความมุ่งหมายของพระราชบัญญัตินี้

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 21 พฤศจิกายน 2566

สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

11892

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

SME 720x100 66

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

 

 

 

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!