WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ

Gov 11

การกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ

          คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (ฉบับที่ 13) ลงวันที่ 29 กันยายน 2566 เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลใช้บังคับต่อไป

          สาระสำคัญ

          รง. รายงานว่า

          1. คณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 21 ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการทบทวนอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ เพื่อพิจารณาทบทวนอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ จำนวน 54 สาขาอาชีพ โดยพิจารณาทบทวนอัตราค่าจ้างจากลักษณะการทำงาน การจ่ายค่าจ้างจริงในตลาดแรงงานความสามารถในการจ่ายของนายจ้าง รวมทั้งสถานการณ์และสภาพข้อเท็จจริงในแต่ละสาขาอาชีพและจัดทำร่างอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือเสนอคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 21 แล้ว ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22* (ปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธาน) ครั้งที่ 6/2566 เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566 ได้มีมติกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ สรุปได้ ดังนี้

              1.1 เห็นชอบให้กำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ 6 สาขาอาชีพ 54 สาขา ดังนี้

หน่วย : บาทต่อวัน

ลำดับ

สาขาอาชีพ/สาขา

ระดับ 1

ระดับ 2

ระดับ 3

สาขาอาชีพช่างอุตสาหกรรมศิลป์

1

ช่างเย็บ

370

460

575

2

ช่างเครื่องประดับ (ประดับอัญมณี)

470

645

825

3

ช่างเครื่องเรือนไม้

395

745

560

4

ช่างบุครุภัณฑ์

380

460

560

5

ช่างสีเครื่องเรือน

415

510

-

6

ช่างเครื่องประดับ (รูปพรรณ)

485

575

665

7

ช่างประกอบติดตั้งเฟอร์นิเจอร์

460

570

-

8

ช่างฝีมือเครื่องประดับแนวอนุรักษ์ (เทคนิคโบราณ)

565

-

-

9

ช่างเครื่องถม

670

-

-

10

พนักงานเตรียมวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้จริง

375

430

-

11

พนักงานผลิตชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ไม้จริงด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ

425

505

-

12

พนักงานประกอบเฟอร์นิเจอร์ไม้จริง

390

460

-

13

ช่างทำสีเฟอร์นิเจอร์ไม้จริง

400

455

-

14

พนักงานตัดวาดรองเท้า

425

470

-

15

พนักงานอัดพื้นรองเท้า

435

475

-

16

ช่างเย็บรองเท้า

435

480

-

17

พนักงานประกอบรองเท้า (เย็น)

415

460

-

สาขาอาชีพช่างเครื่องกล

18

ช่างสีรถยนต์

470

545

630

19

ช่างเคาะตัวถังรถยนต์

500

585

680

20

ช่างซ่อมรถยนต์

430

545

640

21

ช่างบำรุงรักษารถยนต์

400

480

-

22

ช่างซ่อมเครื่องยนต์ดีเซล

430

535

625

23

ช่างเครื่องปรับอากาศรถยนต์ขนาดเล็ก

430

530

625

24

พนักงานควบคุมเครื่องจักรรถยกไฟฟ้า

460

-

-

25

พนักงานควบคุมเครื่องจักรรถยกใช้เครื่องยนต์

460

-

-

26

ช่างตั้งศูนย์และถ่วงล้อรถยนต์

445

-

-

27

ช่างซ่อมรถจักรยานยนต์

445

-

-

สาขาอาชีพช่างก่อสร้าง

28

ช่างไม้ก่อสร้าง

445

595

685

29

ช่างก่ออิฐ

410

530

645

30

ช่างฉาบปูน

455

565

675

31

ช่างอะลูมิเนียมก่อสร้าง

435

545

650

32

ช่างหินขัด

470

-

-

33

ช่างฉาบยิปซัม

470

-

-

34

ช่างมุงหลังคากระเบื้องคอนกรีต

470

590

685

35

ช่างติดตั้งยิปซัม

485

595

-

36

ช่างเขียนแบบก่อสร้างด้วยคอมพิวเตอร์

690

-

-

37

ช่างปูกระเบื้องผนังและพื้น

485

580

685

38

ช่างสีอาคาร

500

640

-

39

ช่างก่อและติดตั้งคอนกรีตมวลเบา

510

625

-

สาขาอาชีพภาคบริการ

40

นักบริหารการขนส่งสินค้าทางถนน

495

620

-

41

ผู้ควบคุมรถยกสินค้าขนาดไม่เกิน 10 ตัน

430

540

-

42

ผู้ควบคุมสินค้าคงคลัง

415

535

-

43

ผู้ปฏิบัติการคลังสินค้า

400

505

-

44

ผู้ประกอบอาหารไทย

470

605

-

45

การดูแลผู้สูงอายุ

535

-

-

สาขาอาชีพช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์

46

ช่างไฟฟ้าภายในอาคาร

470

595

695

47

ช่างเครื่องปรับอากาศในบ้านและการพาณิชย์ขนาดเล็ก

470

570

675

48

ช่างติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์

485

-

-

สาขาอาชีพช่างอุตสาหการ

49

ช่างเชื่อมแม็ก

470

575

675

50

ช่างเชื่อมทิก

540

685

855

51

ช่างเชื่อมอาร์กโลหะด้วยมือ

500

610

685

52

ผู้ควบคุมระบบงานเชื่อมมิก-แม็กด้วยหุ่นยนต์

560

-

-

53

ช่างเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์อุตสาหกรรม

585

660

755

54

ช่างเชื่อมมิก-แม็กสำหรับอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์

470

565

-

 

หมายเหตุ : มาตรฐานฝีมือแรงงาน คือ ข้อกำหนดทางวิชาการที่ใช้เป็นเกณฑ์วัดระดับฝีมือ ความรู้ ความสามารถ และทัศนคติในการทำงานของผู้ประกอบอาชีพสาขาต่างๆ ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยแบ่งเกณฑ์วัดระดับฝีมือแรงงานเป็น 3 ระดับ และจะมีรายละเอียดของเกณฑ์มาตรฐานฝีมือแรงงานที่แตกต่างกันในแต่ละสาขา ซึ่งผู้ที่ผ่านการทดสอบจะได้รับใบรับรองผ่านการทดสอบของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

 

              1.2 เห็นชอบวันที่ประกาศอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือมีผลใช้บังคับคือ เก้าสิบวันหลังจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

              1.3 เห็นชอบให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (ฉบับที่ 9-12) โดยให้รวบรวมอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือดังกล่าวไว้ในประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (ฉบับที่ 13) เพียงฉบับเดียว (รวม 129 สาขา) เพื่อให้มีความเหมาะสมและสะดวกต่อการถือปฏิบัติต่อไป

___________________

* คณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 คือ คณะกรรมการชุดปัจจุบัน โดยคณะกรรมการค่าจ้างแต่ละชุดจะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งวาระละ 2 ปี 

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 21 พฤศจิกายน 2566

สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

11864

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

SME 720x100 66

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

 

 

 

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!