WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รายงานการรับจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

Gov 14

รายงานการรับจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

          คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอรายงานการรับจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และให้เสนอต่อรัฐสภาต่อไป

          ทั้งนี้ กค. เสนอว่า โดยที่พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 มาตรา 74 บัญญัติให้ กค. จัดทำรายงานการรับจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณที่สิ้นสุด เสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอรายงานดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ (ภายในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566) และเสนอต่อรัฐสภาภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ (ภายในวันที่ 28 ธันวาคม 2566) ซึ่ง กค. ได้จัดทำรายงานการรับจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2565 – 30 กันยายน 2566 ตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว จึงได้เสนอรายงานฯ มาเพื่อดำเนินการ

          สาระสำคัญของรายงานฯ 

          1. รายงานการรับจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีรายละเอียดประกอบด้วย รายงานสรุปรายรับประเภทรายได้แผ่นดิน (รายได้จากภาษีอากร รายได้จากการขายสิ่งของและบริการ และรายได้จากรัฐพาณิชย์) รายงานสรุปรายรับประเภทเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ และรายงานสรุปรายจ่ายตามงบประมาณ จำแนกประเภทงบรายจ่าย (รายจ่ายกระทรวง รายจ่ายงบกลาง รายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ รายจ่ายบูรณาการ รายจ่ายงบบุคลากร รายจ่ายสำหรับทุนหมุนเวียน และรายจ่ายเพื่อการชำระหนี้ภาครัฐ) และรายงานการรับจ่ายเงินงบประมาณ (บทวิเคราะห์) เพื่อรายงานผลการรับจ่ายเงินงบประมาณประจำปีของรัฐบาล โดย กค. ได้ประมวลข้อมูลการรับจ่ายเงินจากรายงานในระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (MIS: Financial Analytics) ในระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ (New GFMIS Thai) และข้อมูลที่หน่วยงานของรัฐบันทึกเข้ามาในระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ (New GFMIS Thai) ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2566 

          2. สาระสำคัญของผลการดำเนินงานรับจ่ายเงินงบประมาณประจำปี สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2566 (ข้อมูล ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2566) สรุปได้ดังนี้ 

หน่วย : ล้านบาท

รายการ

งบประมาณ

(1)

รับจริง - จ่ายจริง

(2)

เงินกันไว้

เบิกเหลื่อมปี

(3)

รวมรับจริงจ่ายจริง และเงินกันฯ

(4) = (2) + (3)

สูง (ต่ำกว่า

งบประมาณ

(5) = (4) – (1)

1. รายรับ

1.1 รายได้แผ่นดิน

2,490,000.00

2,650,796.33

-

2,650,796.33

160,796.33

1.2 เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 695,000.00 632,612.39 - 632,612.39 (62,387.61)

รวม ()

3,185,000.00

3,283,408.72

-

3,283,408.72

98,408.72

2. รายจ่าย 

2.1 รายจ่ายตามงบประมาณ

 

3,115,369.63

 

2,943,878.89

 

160,130.75

 

3,104,009.64

 

(11,359.99)

2.2 รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ 69,630.37 69,630.37 - 69,630.37 -

รวม ()

3,185,000.00

3,013,509.26

160,130.75

3,173,640.01

(11,359.99)

3. รายจ่ายจากเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี (งบประมาณปี 65)

190,453.26

173,901.33

-

173,901.33

(16,551.93)

รวม ()

190,453.26

173,901.33

-

173,901.33

(16,551.93)

4. รายจ่ายตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง 

-

83,814.10

-

83,814.10

83,814.10

รวม () - 83,814.10 - 83,814.10 83,814.10

รวมรายจ่ายทั้งสิ้น 

() = [() + () + ()]

3,375,453.26

3,271,224.69

160,130.75

3,431,355.44

55,902.18

5. ดุลของงบประมาณประจำปี
5.1 รายได้แผ่นดินสูง (ต่ำ) กว่ารายจ่ายตามงบประมาณ [1.1 – ()]  (695,000.00) (362,712.93) (160,130.75) (522,843.68) 172,156.32

5.2 รายรับสูง (ต่ำ) กว่ารายจ่ายตามงบประมาณ [() – ()]

-

269,899.46

(160,130.75)

109,768.70

109,768.71

6. ดุลการรับจ่ายเงิน 

รายรับสูง (ต่ำ) กว่ารายจ่ายทั้งสิ้น () – ()

(190,453.26)

12,184.03

(160,130.75)

(147,946.73)

42,506.53

 

หมายเหตุ :  1) เรียกข้อมูล ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2566 

                  2) รายจ่ายตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง ได้แก่ งบกลาง จำนวน 57,425.71 ล้านบาท งบบุคลากร จำนวน 17,490.39 ล้านบาท และงบชำระหนี้ จำนวน 8,898.00 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นจำนวน 83,814.10 ล้านบาท

 

              2.1 รายงานการรับจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

                    (1) รายรับของรัฐบาลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ รายรับจากรายได้แผ่นดินและรายรับจากเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ โดยรัฐบาลได้ประมาณการรายรับรวมทั้งสิ้น จำนวน 3,185,000.00 ล้านบาท รายรับที่รัฐบาลได้รับรวมทั้งสิ้น จํานวน 3,283,408.72 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ จำนวน 98,408.72 ล้านบาท ประกอบด้วย

                          (1.1) รายได้แผ่นดิน มีการประมาณการรายได้ จำนวน 2,490,000.00 ล้านบาท และมีการรับรายได้แผ่นดินรวมทั้งสิ้น จำนวน 2,650,796.33 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ จำนวน 160,796.33 ล้านบาท

                          (1.2) เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ มีการประมาณการวงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จํานวน 695,000.00 ล้านบาท และมีการรับเงินกู้รวมทั้งสิ้น จำนวน 632,612.39 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ จํานวน 62,387.61 ล้านบาท

                    (2) รายจ่ายตามงบประมาณของรัฐบาล ประกอบด้วย รายจ่ายตามงบประมาณและรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ โดยรัฐบาลได้ประมาณการรายจ่ายตามงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 รวมทั้งสิ้น จำนวน 3,185,000.00 ล้านบาท รายจ่ายตามงบประมาณของรัฐบาลมีการใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น จำนวน 3,173,640.01 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ จำนวน 11,359.99 ล้านบาท ประกอบด้วย

                          (2.1) รายจ่ายตามงบประมาณ มีการประมาณการรายจ่ายตามงบประมาณ จำนวน 3,115,369.63 ล้านบาท และมีรายจ่ายจากเงินงบประมาณ จำนวน 2,943,878.89 ล้านบาท และเงินกันไว้เบิกเหลือมปี จำนวน 160,130.75 ล้านบาท รวมรายจ่ายตามเงินงบประมาณและเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี รวมทั้งสิ้น จำนวน 3,104,009.64 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ จำนวน 11,359.99 ล้านบาท

                          (2.2) รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ มีการประมาณการรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 69,630.37 ล้านบาท มีรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้เท่ากับประมาณการ จำนวน 69,630.37 ล้านบาท 

              2.2 รายจ่ายจากเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี (เงินงบประมาณปีก่อน) รัฐบาลมีเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รวมทั้งสิ้น จำนวน 190,453.26 ล้านบาท มีรายจ่ายจากเงินกับไว้เบิกเหลื่อมปี จำนวน 173,901.33 ล้านบาท ต่ำกว่าเงินที่กันไว้ จำนวน 16,551.93 ล้านบาท 

              2.3 รายจ่ายตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 83,814.10 ล้านบาท เป็นการจ่ายเงินคงคลังตามพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. 2491 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 7 (1) รายการจ่ายที่มีการอนุญาตให้จ่ายเงินได้แล้ว ตามกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ แต่เงินที่ตั้งไว้มีจำนวนไม่พอจ่าย และพฤติการณ์เกิดขึ้นให้มีความจำเป็นต้องจ่ายโดยเร็ว

              2.4 ดุลการรับ - จ่ายเงิน เมื่อเปรียบเทียบรายรับที่รัฐบาลได้รับ รวมทั้งสิ้น จำนวน 3,283,408.72 ล้านบาท กับรายจ่ายที่รัฐบาลมีการเบิกจ่ายรวมทั้งสิ้น จำนวน 3,271,224.69 ล้านบาท (ประกอบด้วย รายจ่ายตามงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2566 รายจ่ายจากเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี (เงินงบประมาณปีก่อน) และรายจ่ายตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง) จึงทำให้รายรับสูงกว่ารายจ่ายทั้งสิ้น จำนวน 12,184.03 ล้านบาท 

              2.5 ผลการวิเคราะห์และข้อสังเกต

                    (1) ผลการวิเคราะห์

                          (1.1) ด้านรายรับ ประเภทรายได้แผ่นดินประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีการจัดเก็บและนำส่งได้สูงกว่าประมาณการ จำนวน 160,796.33 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.46 เนื่องจากรัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ให้เพิ่มสูงขึ้น เพื่อให้มีรายได้ที่สามารถตอบสนองความต้องการใช้จ่ายตามยุทธศาสตร์ของประเทศ โดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและการบริหารงานยุคใหม่มาประยุกต์ใช้ในการจัดเก็บภาษี ซึ่งจะช่วยสร้างเสถียรภาพการคลังของไทยให้ยั่งยืน โดย กค. ได้วางแผนการบริหารจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล เพื่อให้การจัดเก็บรายได้เป็นไปตามที่ประมาณการไว้ โดยให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้เป็นหลัก ซึ่งที่ผ่านมาหน่วยงานจัดเก็บรายได้ในสังกัด กค. ได้มีการพัฒนาระบบต่างๆ ขึ้นมาเพื่อเพิ่มศักยภาพการจัดเก็บรายได้อย่างต่อเนื่อง มีการใช้เทคโนโลยีในการติดตามและตรวจสอบการจัดเก็บภาษี ช่วยในการขยายฐานภาษี 

                          (1.2) ด้านรายจ่าย งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีการใช้จ่ายงบประมาณรวมทั้งสิ้น จำนวน 3,173,640.01 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 99.64 ของวงเงินงบประมาณ เนื่องจากมีการติดตามเร่งรัดการใช้จ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยกรมบัญชีกลางและสำนักงานคลังจังหวัดทั้ง 76 จังหวัด เร่งรัดและสนับสนุนการดำเนินงาน พร้อมทั้งให้คำแนะนำหน่วยรับงบประมาณทุกแห่ง ให้สามารถดำเนินการเบิกจ่ายได้ตามแผนการใช้จ่ายเงิน เพื่อให้เม็ดเงินงบประมาณมีส่วนในการผลักดันการกระตุ้นเศรษฐกิจ

                    (2) ข้อสังเกต

                          (2.1) ด้านรายรับ ประเภทรายได้แผ่นดิน นอกเหนือจากการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ภาครัฐ รัฐบาลควรให้ความสำคัญในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ภาคการผลิต ภาคการเกษตร ภาคการท่องเที่ยว ภาคการแพทย์ และภาคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเปลี่ยนผ่านสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยนำนวัตกรรมและมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่เน้นการสร้างคุณค่าให้แก่สินค้าและบริการเชิงคุณภาพ การปรับเปลี่ยนภาคการท่องเที่ยวให้เน้นคุณภาพและความยั่งยืน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับบริการที่สอดรับกับทิศทางและแนวโน้มของตลาดยุคใหม่ และผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง เพื่อการยกระดับสู่การให้บริการบนฐานนวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูง จะส่งผลให้รัฐบาลมีรายได้ที่สามารถตอบสนองความต้องการใช้จ่ายตามยุทธศาสตร์ของประเทศและมีการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและมีความยั่งยืน

                          (2.2) ด้านรายจ่าย นอกเหนือจากการกำหนดมาตรการการคลังด้านการใช้จ่ายภาครัฐในการติดตามเร่งรัดเบิกจ่ายเงินงบประมาณและเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี เพื่อให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด รัฐบาลควรยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพการบริหารจัดการภาครัฐโดยนำระบบดิจิทัลและเทคโนโลยีมาใช้ในการให้บริการสาธารณะให้มีความสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้อย่างเป็นรูปธรรมและทันต่อสถานการณ์ รวมถึงการพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบให้เอื้อต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต เพื่อให้ประเทศไทยมีภาครัฐที่มีสมรรถนะ ทันสมัย คล่องตัว และเป็นปัจจัยผลักดันการขับเคลื่อนในภาคธุรกิจ

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 21 พฤศจิกายน 2566

สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

11862

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

SME 720x100 66

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

 

 

 

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!