WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ขออนุมัติกรอบการหารือสำหรับการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ครั้งที่ 30 และการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง กับหุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 28

Gov 18

ขออนุมัติกรอบการหารือสำหรับการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ครั้งที่ 30 และการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง กับหุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 28

          คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบตามที่คณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย (คณะกรรมการฯ) [รองนายกรัฐมนตรี (นายสมศักดิ์ เทพสุหิน) เป็นประธานกรรมการ] เสนอ ดังนี้

          1. อนุมัติกรอบการหารือสำหรับการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (การประชุมคณะมนตรีฯ) ครั้งที่ 30 และการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง กับหุ้นส่วนการพัฒนา (การประชุมคณะมนตรีฯ กับหุ้นส่วนการพัฒนา) ครั้งที่ 28

          2. รับทราบองค์ประกอบคณะผู้แทนไทยในการประชุมคณะมนตรีฯ ครั้งที่ 30 และการประชุมคณะมนตรีฯ กับหุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 28

          3. เห็นชอบให้คณะผู้แทนไทยหารือกับประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงตามประเด็นในกรอบการหารือสำหรับการประชุมคณะมนตรีฯ ครั้งที่ 30 และการประชุมคณะมนตรีฯ กับหุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 28 เพื่อสนับสนุนให้การดำเนินงานและความร่วมมือเป็นไปตามพันธกรณีของความตกลงว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2538 (ความตกลงฯ)

          4. อนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ในฐานะสมาชิกคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง และหัวหน้าคณะผู้แทนไทย เป็นผู้ลงนามรับรองรายงานการประชุม โดยที่เอกสารดังกล่าวมิได้ใช้ถ้อยคำก่อให้เกิดพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เข้าข่ายหนังสือสัญญา

          สาระสำคัญของเรื่อง

          คณะกรรมการฯ รายงานว่า

          1. รัฐบาลไทยได้ลงนามความตกลงฯ ร่วมกับ กัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) และเวียดนาม เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2538 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินความร่วมมือในทุกด้านของการพัฒนาที่ยั่งยืน การใช้การบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำและทรัพยากรที่เกี่ยวข้องของลุ่มแม่น้ำโขงเป็นผลให้มีการก่อตั้งคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (คณะกรรมาธิการฯ) (Mekong River Commission: MRC) มีสถานะเป็นองค์กรระหว่างประเทศ ในการสนับสนุนการดำเนินงานและความร่วมมือให้เป็นไปตามพันธกรณีของความตกลงฯ โดยโครงสร้างการบริหารของคณะกรรมาธิการฯ แบ่งออกเป็นองค์กรบริหารถาวร 3 องค์กร คือ (1) คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วย ผู้แทนจากประเทศสมาชิกในระดับรัฐมนตรี ประเทศละ 1 คน [ในส่วนของไทย คือ รองนายกรัฐมนตรี (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน)] (2) คณะกรรมการร่วม (Joint Committee) ประกอบด้วย ผู้แทนจากประเทศสมาชิกในระดับอธิบดีขึ้นไป ประเทศละ 1 คน (ในส่วนของไทย คือ นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ) และ (3) สำนักงานเลขาธิการ (Secretariat)1 มีหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ซึ่งคณะมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งเพื่อทำหน้าที่บริหารงานและเป็นหน่วยงานปฏิบัติการของคณะกรรมาธิการฯ โดยที่ในแต่ละปีผู้แทนในคณะมนตรี จะหมุนเวียนทำหน้าที่ประธานคณะมนตรี ตามลำดับตัวอักษรของประเทศสมาชิก เพื่อสนับสนุนการกำหนดนโยบายและตัดสินใจการดำเนินงานตามความตกลงฯ ให้บรรลุผลสำเร็จ

          2. การประชุมคณะมนตรีฯ ครั้งที่ 30 และการประชุมคณะมนตรีฯ กับหุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 282 มีวัตถุประสงค์เพื่อหารือและกำหนดนโยบายความร่วมมือในการบริหารองค์กรของคณะกรรมาธิการฯ และกำหนดแนวทางความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจา รวมถึงหุ้นส่วนการพัฒนา3และองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง โดยมีรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องหรือผู้แทนจากประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย กัมพูชา สปป.ลาว เวียดนาม และประเทศไทย รวมทั้งประเทศคู่เจรจา (สาธารณรัฐประชาชนจีนและสหภาพเมียนมา)และหุ้นส่วนการพัฒนา เข้าร่วมการประชุม โดยมีระเบียบวาระเพื่อพิจารณาที่จำเป็นต้องมีการหารือในระดับนโยบายเพื่อกำหนดท่าทีของประเทศ จำนวน 1 เรื่อง คือ การสรรหาตำแหน่ง CEO ของสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการฯ (สำนักงานฯ) โดยมีกรอบการหารือสำหรับการประชุมคณะมนตรีฯ ครั้งที่ 30 ดังนี้ 1) การปรับปรุงร่างขอบเขตงาน (Term of Reference: TOR) ของ CEO4 2) กระบวนการคัดเลือก CEO ของสำนักงานฯ 

______________________________

1สำนักงานเลขาธิการ (Mekong River Commission Secretariat: MRCS) ตั้งอยู่ที่เวียงจันทน์ สปป.ลาว และกรุงพนมเปญ กัมพูชา

2เป็นการประชุมสมัยสามัญของคณะมนตรีที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี

3เช่น ออสเตรเลีย สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เป็นต้น โดยจะบริจาคเงินทุนเพื่อสนับสนุนการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ของคณะกรรมาธิการฯ

4เมื่อการดำรงตำแหน่ง CEO หมุนเวียนไปถึงประเทศใด ประเทศนั้นจะสามารถปรับปรุงร่างขอบเขตงานของ CEO ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของประเทศนั้นๆ ได้

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 21 พฤศจิกายน 2566

สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

11856

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

SME 720x100 66

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

 

 

 

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!