WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2553

Gov ภูมิธรรม05

ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2553

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2553 ออกไป 1 ปี นับแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ

          ทั้งนี้ รง. เสนอว่า

          1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (19 มกราคม 2564) ให้หน่วยงานของรัฐตรวจสอบกฎหมายในความรับผิดชอบของตนว่า มีกรณีที่ต้องมีการออกกฎหรือกำหนดให้รัฐต้องดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อที่ประชาชนจะสามารถปฏิบัติตามกฎหมายหรือได้รับสิทธิประโยชน์จากกฎหมาย ตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 หรือไม่ โดยให้มีการเร่งออกกฎหรือดำเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่กฎหมายนั้นมีผลใช้บังคับสำหรับกฎหมายที่มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 เป็นต้นไป หรือภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 สำหรับกฎหมายที่มีผลใช้บังคับก่อนวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 ประกอบกับคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (28 กุมภาพันธ์ 2566) ให้หน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงานเร่งตรวจสอบกฎหมายในความรับผิดชอบของตนซึ่งมีผลใช้บังคับก่อนวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 ที่เข้าข่ายเป็นกรณีตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ และเร่งออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อที่ประชาชนจะสามารถปฏิบัติตามกฎหมายหรือได้รับสิทธิประโยชน์จากกฎหมายนั้นได้ ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 หากไม่อาจดำเนินการให้แล้วเสร็จครบถ้วนได้ทันภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ให้พิจารณาเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขอขยายระยะเวลาออกไปอีก 1 ปี โดยให้ระบุเหตุผลความจำเป็นของการขอขยายระยะเวลาดังกล่าวประกอบด้วย

          2. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2553 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2554 ซึ่งบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดให้ออกกฎหมายลำดับรอง จำนวน 19 ฉบับ สธ. ได้ยกร่างกฎหมายลำดับรองและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วจำนวน 18 ฉบับ ขณะนี้ยังมีกฎหมายลำดับรองที่อยู่ในขั้นตอนการจัดทำร่างกฎหมายอีก 1 ฉบับ แต่โดยที่พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานฯ ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ มีผลใช้บังคับ การออกกฎหมายลำดับรองจึงต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำ ร่างกฎหมายฯ ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรีในข้อ 1. รง. จึงมีความจำเป็นต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรอง จำนวน 1 ฉบับดังกล่าว พร้อมทั้งได้ระบุเหตุผลความจำเป็นของการขอขยายระยะเวลาประกอบการพิจารณาด้วยแล้ว ดังนี้

 

สาระสำคัญของร่างกฎหมาย

 

เหตุผลความจำเป็นในการขอขยายระยะเวลา

ร่างประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการเรียกหรือรับหลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายในการทำงานจากผู้รับงานไปทำที่บ้าน .. .... อาศัยอำนาจตามความใน . 14 แห่ง ... คุ้มครองผู้รับงานฯ มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขให้ผู้จ้างงานสามารถเรียกหรือรับหลักประกันการทำงาน หลักประกันความเสียหายในการทำงานจากผู้รับงานไปทำที่บ้าน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้จ้างงานและผู้รับงาน กรณีที่งานที่รับไปทำมีมูลค่าสูงหรือมีปริมาณมาก เพื่อคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้านมิให้ต้องเดือดร้อนในการหาหลักประกันเกินกว่าที่กำหนดและป้องกันมิให้ผู้จ้างงานแสวงหาผลประโยชน์จากหลักประกันโดยไม่สมควร

 

          เนื่องจากมีผลกระทบต่อผู้จ้างงานและผู้รับงานไปทำที่บ้านซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ทำให้ต้องมีการพิจารณาให้รอบคอบและเปิดโอกาสให้กลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องแสดงความคิดเห็นอย่างครอบคลุม

          ระหว่างปี 2555 จนถึงปี 2559 มีการประชุมเพื่อพิจารณายกร่างประกาศฯ แต่ปรากฏข้อมูลเพิ่มเติมว่า ไม่มีประเภทงานใดที่ผู้จ้างงานมีการเรียกหรือรับหลักประกันในงานที่รับไปทำที่บ้านจากผู้รับงาน

          จากการสำรวจพบว่า งานที่รับไปทำที่บ้านมี 2 ประเภท ดังนี้

          (1) การเจียระไนอัญมณี ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการออกประกาศดังกล่าวโดยผู้จ้างงานมีข้อกังวลว่า หากมีการเรียกรับหลักประกันฯ จะทำให้มีผู้รับงานน้อยลง เป็นการเพิ่มภาระแก่ผู้รับงานซึ่งมีรายได้น้อย กรณีผู้รับงานส่วนใหญ่เห็นว่า หากมีการเรียกรับหลักประกันฯ ในอนาคตอาจเปลี่ยนไปทำงานอย่างอื่น

          (2) ผลิตภัณฑ์เครื่องทองเหลือง เช่น พระพุทธรูป รูปปั้น ผู้จ้างงานทั้งหมดไม่เห็นด้วยกับการออกประกาศดังกล่าว เนื่องจากวัตถุดิบมีมูลค่าไม่สูงและผู้รับงานมีรายได้น้อย ถ้ามีการเรียกหลักประกันฯ อาจทำให้ขาดแคลนผู้รับงาน กรณีผู้รับงานส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยเพราะมีรายได้น้อย

          คณะกรรมการคุ้มครองการรับงานไปทำที่บ้านได้มีการประชุม ครั้งที่ 1/2559 เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2559 และมีมติชะลอการออกร่างประกาศฯ เนื่องจากสถานการณ์ในขณะนั้น ผู้จ้างงานและผู้รับงานไปทำที่บ้านทำงานร่วมกันในลักษณะพึ่งพาอาศัย หากไม่มีการเรียกหรือรับหลักประกันฯ จะเป็นประโยชน์กับผู้รับงานมากกว่า แต่หากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปหรือผู้จ้างงานมีความเห็นว่า จำเป็นจึงค่อยนำกลับมาพิจารณา

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายภูมิธรรม เวชยชัย (รองนายกรัฐมนตรี) 14 พฤศจิกายน 2566

สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

11600

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

SME 720x100 66

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

 

 

 

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!