WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การเสนองบประมาณและแผนการดำเนินงานประจำปี 2567 ขององค์กรร่วมไทย – มาเลเซีย

Gov ภูมิธรรม08

การเสนองบประมาณและแผนการดำเนินงานประจำปี 2567 ขององค์กรร่วมไทย – มาเลเซีย

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบงบประมาณ จำนวน 5,375,000 ดอลลาร์สหรัฐ และแผนการดำเนินงานประจำปี 2567 ขององค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย (องค์กรร่วมฯ) ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ และให้ พน. รับความเห็นกระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปดำเนินการอย่างเคร่งครัดต่อไปด้วย 

          สาระสำคัญของเรื่อง 

          พน. รายงานว่า

          1. กฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2536) ออกตามความในมาตรา 5 และมาตรา 18 วรรคหนึ่ง (8) และวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติองค์กรร่วมไทย – มาเลเซีย พ.ศ. 2533 ข้อ 3 กำหนดให้องค์กรร่วมฯ เสนองบประมาณประจำปีหลังจากได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการองค์กรร่วมฯ แล้ว โดยให้เสนอต่อรัฐบาลแต่ละฝ่ายเพื่อให้เป็นไปตามความตกลงว่าด้วยธรรมนูญการจัดตั้งองค์กรร่วมไทย - มาเลเซียฯ พ.ศ. 2533 ก่อนวันเริ่มต้นปีงบประมาณไม่น้อยกว่าห้าเดือน (ภายในวันที่ 31 กรกฎาคม ก่อนเริ่มปีงบประมาณนั้น) ทั้งนี้ ปีงบประมาณของ

          2. องค์กรร่วมฯ เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม และสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี องค์กร ร่วมฯ ได้เสนอของบประมาณและแผนการดำเนินงานประจำปี 2567 ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการองค์กรร่วมฯ แล้ว ในคราวประชุมครั้งที่ 142 เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2566 สรุปได้ ดังนี้

              2.1 งบประมาณปี 2567 รวมทั้งสิ้นจำนวน 5,375,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2566 จำนวน 375,000 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมีรายละเอียดเปรียบเทียบกับงบประมาณปี 2566 ดังนี้

หน่วย : ดอลลาร์สหรัฐ

รายการ

งบประมาณที่ได้รับอนุมัติ

 ปี 2566

งบประมาณที่เสนอขอ 

ปี 2567

งบประมาณ

เพิ่ม/(ลด)

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (Operating Expenditure)

(USD 1: RM 4.20)

4,836,100

(USD 1: RM 4.20)

4,250,900

414,800

ร้อยละ 8.6

ค่าใช้จ่ายที่เป็นทุน

(Capital Expenditure)

163,900

124,100

(39,800)

(ร้อยละ 24.3)

รวม

5,000,000

5,375,000

375,000

ร้อยละ 7.5

 

              ทั้งนี้ งบประมาณปี 2567 ที่เสนอขอในครั้งนี้สูงกว่างบประมาณปี 2566 ที่ได้รับอนุมัติร้อยละ 7.5 ซึ่งมีรายการค่าใช้จ่ายประจำปี 2567 ที่เพิ่มขึ้น/ลดลง/คงที่ สรุปได้ ดังนี้ 

 

หัวข้อ

รายการค่าใช้จ่าย

ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น

ค่าใช้จ่ายบุคลากร ประกอบด้วย เงินเดือนพนักงาน ค่าเบี้ยเลี้ยงและสวัสดิการ (อาทิ ค่าเช่าบ้าน ค่าปฏิบัติงานต่างประเทศ (Overseas allowance) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (EPF) กองทุนประกันสังคม (SOCSO) และระบบประกันการจ้างงาน (E/S)] รวมถึงค่าตอบแทนและค่าเบี้ยเลี้ยงคณะกรรมการองค์กรร่วมฯ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5)

ค่าใช้จ่ายในการเดินทางของคณะกรรมการองค์กรร่วมฯ และเจ้าหน้าที่ในการเข้าร่วมประชุมและค่าใช้จ่ายในการย้ายถิ่นฐานของเจ้าหน้าที่มาเลเซีย 1 คน และคนไทย 3 คน เปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายการย้ายถิ่นฐานของเจ้าหน้าที่คนไทย 6 คนในปี 2566 (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 23.2)

ค่าบำรุงรักษาและซ่อมแซม อาทิ ค่าบำรุงรักษาสำนักงาน ยานพาหนะ อุปกรณ์และ สิ่งอำนวยความสะดวกภายในสำนักงาน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.1)

ค่าบริการและค่าใช้จ่ายอื่นๆ เนื่องจากฝ่ายบริหารองค์กรร่วมฯ ไม่มีแผนที่จะว่าจ้างที่ปรึกษาปี 2567 ส่งผลให้ค่าบริการและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในภาพรวมลดลง (ลดลงร้อยละ 3.2)

ค่าใช้จ่ายที่ลดลง

ค่าใช้จ่ายที่เป็นทุน เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงและอัพเกรดโครงสร้างพื้นฐาน ด้านไอที และระบบเครือข่ายสำนักงานที่ลดลง และมีรายการเปลี่ยนรถยนต์ จำนวน 1 คัน1 เฉพาะของรองหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร (Deputy Chief Executive officer : DCEO) ซึ่งใช้งานมากกว่า 8 ปี2 (ลดลงร้อยละ 24.3)

ค่าใช้จ่ายที่คงที่

ค่าเช่า อาทิ พื้นที่สำนักงาน อุปกรณ์สำนักงาน อินเทอร์เน็ต คลังจัดเก็บเอกสาร

ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ซึ่งรวมถึงการฝึกสมรรถนะทางกาย (Physical training) ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่เกี่ยวข้อง และโปรแกรมฝึกงานของนักศึกษา

 

             2.2 ที่มาของงบประมาณประจำปี 2567 จำนวน 5,375,000 ดอลลาร์สหรัฐ องค์กรร่วมฯ ได้เสนอขอใช้เงินที่ได้รับจากการขายปิโตรเลียม ส่วนที่เป็นกำไรในไตรมาสสุดท้ายของปี 2566 จำนวน 5,361,902 ดอลลาร์สหรัฐ และงบประมาณเหลือจ่ายของปี 2565 จำนวน 13,098 ดอลลาร์สหรัฐ

             2.3 ประมาณการรายได้รวมขององค์กรร่วมฯ ในปีงบประมาณ 2567 จำนวน 612,900,000 ดอลลาร์สหรัฐ ประกอบด้วย ค่าภาคหลวง จำนวน 202,800,000 ดอลลาร์สหรัฐ และปิโตรเลียมส่วนที่เป็นกำไร จำนวน 410,100,000 ดอลลาร์สหรัฐ

             2.4 แผนการดำเนินงานในปี 2567 ประกอบด้วย ด้านการสำรวจและการประเมินผล ด้านการพัฒนาปิโตรเลียม และด้านการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย - มาเลเซีย สรุปได้ ดังนี้

 

แปลง

ผู้ดำเนินงาน

ตัวอย่างกิจกรรมสำคัญ

A-18

Carigali

Hess

Operating

Company

Sdn. Bhd.

เจาะหลุมพัฒนา จำนวน 8 หลุม ประกอบด้วย การเจาะที่ (1) แท่น Bulan-B (BLB) จำนวน 1 หลุม (2) แท่นผลิต Bumi-B (BMB) จำนวน 3 หลุม และ (3) แท่นผลิต Bulan-D (BLD) จำนวน 4 หลุม

รักษาระดับการผลิตก๊าชธรรมชาติที่เรียกรับสูงสุดในอัตรา 869 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน

ประสานงานกับบริษัท ทรานส์ไทย - มาเลเซีย (TTM) เพื่อให้การผลิตก๊าซเป็นไปตามสัญญาการซื้อขายก๊าซธรรมชาติ

B-17-01

Carigali -

PTTEPI

Operating

Company

Sdn.Bhd

ดำเนินการเจาะหลุมพัฒนาตามแผนพัฒนาแหล่งในระยะที่ 6 จำนวน 17 หลุม ประกอบด้วย การเจาะที่ (1) แท่นผลิต Andalas-C (ADC) จำนวน 7 หลุม และ (2) แท่นผลิต Jengka-D (JKD) จำนวน 10 หลุม

รักษาระดับอัตราการผลิตก๊าซธรรมชาติที่เรียกรับสูงสุดในอัตรา 308 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน

ประสานงานกับบริษัท ทรานส์ไทย - มาเลเซีย (TTM) เพื่อให้การผลิตก๊าซเป็นไปตามสัญญาการซื้อชายก๊าซธรรมชาติ

ซ่อมแซมหลุมผลิตเดิมและเจาะผนังหลุมเพิ่ม เพื่อรักษาอัตราการผลิตของหลุม

 

___________

1ในปี 2566 มีรายการเปลี่ยนรถยนต์ของตำแหน่งผู้จัดการ จำนวน 3 คัน

2ตามนโยบายขององค์กรร่วมฯ ยานพาหนะที่ใช้งานมากกว่า 5 ปี จะมีการทดแทน ยกเว้นรถยนต์ของหัวหน้าเจ้าหน้าที่ ฝ่ายบริหาร (Chief Executive officer : CEO และ DCEO ที่อายุการใช้งานมากกว่า 7 ปี 

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายภูมิธรรม เวชยชัย (รองนายกรัฐมนตรี) 14 พฤศจิกายน 2566

สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

11593

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

kbank 720x100 66

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!