WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รายงานผลการจัดสถานะการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาไทยตามกฎหมายการค้าสหรัฐฯ มาตรา 301 พิเศษ ประจำปี พ.ศ. 2566

Gov 28

รายงานผลการจัดสถานะการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาไทยตามกฎหมายการค้าสหรัฐฯ มาตรา 301 พิเศษ ประจำปี พ.ศ. 2566

          คณะรัฐมนตรีรับทราบและมอบหมายตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอดังนี้ 

          1. รับทราบผลการจัดสถานะการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ตามกฎหมายการค้าของสหรัฐอเมริกา (สหรัฐฯ) ว่าด้วยเรื่องการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา (กฎหมายการค้าสหรัฐฯ) มาตรา 301 พิเศษ ประจำปี พ.ศ. 2566

          2. มอบหมายให้หน่วยงานต่างๆ ดำเนินการส่งเสริมการคุ้มครองและป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาให้มีประสิทธิภาพ ดังนี้

              2.1 หน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมาย ได้แก่ กระทรวงกลาโหม (กห.) (กองทัพบกและกองทัพเรือ) กระทรวงการคลัง (กค.) (กรมศุลกากร) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) (กรมสอบสวนคดีพิเศษ) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กวดขันปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาอย่างจริงจังและเต็มประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในท้องตลาดและช่องทางออนไลน์ และเร่งดำเนินคดีกับผู้ผลิตสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาต้นน้ำ การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในภาคเอกชน และการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์ผ่านอุปกรณ์

หรือแอปพลิเคชันสำหรับการสตรีมและดาวน์โหลด

              2.2 หน่วยงานภาครัฐปฏิบัติตาม “แนวทางการจัดซื้อจัดจ้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software : ซอฟต์แวร์) และการใช้งานชอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์สำหรับหน่วยงานภาครัฐ” อย่างเคร่งครัด ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2564

              2.3 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ร่วมกับกรมรัพย์สินทางปัญญาเร่งรัดการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เพื่อนำไปสู่การออกกฎหมายให้เท่าทันกับสถานการณ์ และรองรับการเข้าเป็นภาคีความตกลงกรุงเฮกว่าด้วยการจดทะเบียนการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระหว่างประเทศ (ความตกลงกรุงเฮกฯ)ต่อไป

              2.4 กรมทรัพย์สินทางปัญญาร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.) เร่งรัดการพิจารณากำหนดให้ตำแหน่งผู้ตรวจสอบสิทธิบัตรเป็นตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษให้ได้รับเงินเพิ่ม

              2.5 กรมทรัพย์สินทางปัญญาร่วมกับกรมบัญชีกลาง กค. พิจารณาแนวทางการขอหักเงินค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาที่ต้องส่งเข้าเงินคงคลังไว้เป็นค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการของผู้ตรวจสอบสิทธิบัตรเพื่อช่วยสะสางงานค้างสะสม

          สาระสำคัญของเรื่อง

          พณ. รายงานว่า

          1. ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) ได้จัดทำรายงานสถานะการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศคู่ค้าสำคัญภายใต้กฎหมายการค้าสหรัฐฯ มาตรา 301 พิเศษ (รายงานสถานะการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศคู่ค้าฯ) เป็นประจำทุกปีและประกาศผลในช่วงปลายเดือนเมษายน โดยแบ่งสถานะการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศคู่ค้า เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) ประเทศที่มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญามากที่สุด (Priority Foreign Country: PFC) (2) ประเทศที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ (Priority Watch List : PWL)และ (3) ประเทศที่ต้องจับตามอง (Watch List: WL) นอกจากนี้ USTR ได้ จัดทำรายงานรายชื่อตลาดที่มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาสูง (Notorious Markets for Counterfeiting and Piracy: Notorious Markets) ด้วย โดยที่ผ่านมาระหว่างปี 2550-2560 ไทยถูกจัดอยู่ในบัญชี PWL มาโดยตลอด จนเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2560 USTR ได้ปรับสถานะของไทยให้ดีขึ้นจากบัญชี PWL เป็นบัญชี WL (คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการปรับสถานะดังกล่าวแล้วเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2561)

          1. สถานะของไทยและประเทศคู่ค้าอื่นของสหรัฐฯ ประจำปี 2566

 

รายงาน/ประกาศ

 

รายละเอียด

การรายงาน Notorious Markets ประจำปี .. 2565 วันที่ 31 มกราคม 2566

 

USTR ได้เผยแพร่รายงานดังกล่าว โดยระบุให้ศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ (MBK Center) เป็นตลาดที่มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาสูงในไทยเพียงแห่งเดียว

การประกาศสถานะการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศคู่ค้าฯ ประจำปี .. 2566  วันที่ 26 เมษายน 2566

 

USTR ได้ประกาศเรื่องดังกล่าว ดังนี้

ไทยยังคงสถานะคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศคู่ค้าฯ อยู่ในบัญชี WL ร่วมกับประเทศอื่น จำนวน 22 ประเทศ เช่น สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน

- ประเทศที่อยู่ในบัญชี PWL จำนวน 7 ประเทศ เช่น สาธารณรัฐอาร์เจนตินา สาธารณรัฐชิลี สาธารณรัฐประชาชนจีน

 

          3. พัฒนาการและความคืบหน้าการดำเนินการของไทย

 สหรัฐฯ แสดงความพอใจต่อนโยบายและผลการดำเนินการด้านทรัพย์สินทางปัญญาของไทยที่สำคัญ ดังนี้

              3.1 การแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยเจ้าของลิขสิทธิ์สามารถแจ้งไปยังผู้ให้บริการให้นำงานละเมิดลิขสิทธิ์ออกหรือระงับการเข้าถึงตามกระบวนการแจ้งเตือนและนำออกและการขยายอายุความคุ้มครองภาพถ่าย ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวนำไปสู่การเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาว่าด้วยลิขสิทธิ์ขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO Copyright Treaty: WCT) (สนธิสัญญา WCT) และเพิ่มประสิทธิภาพการคุ้มครองมาตรการทางเทคโนโลยี (Technological Protection Measures: TPM) เพื่อคุ้มครองลิขสิทธิ์ในยุคดิจิทัล

              3.2 การจัดทำระบบฐานข้อมูลเครื่องหมายการค้าและลิขสิทธิ์ของกรมศุลกากร (Thai Customs IPR Recordation System: TCIRs) เพื่อให้เจ้าของสิทธิสามารถยื่นคำขอแจ้งข้อมูลเครื่องหมายการค้าและลิขสิทธิ์ผ่านช่องทางออนไลน์และเจ้าหน้าที่ศุลกากรสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวในการยืนยันสินค้าละเมิดเครื่องหมายการค้าและลิขสิทธิ์

              3.3 การบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

ภายใต้กลไกการทำงานของคณะอนุกรรมการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาโดยมีรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นประธาน (ในขณะนั้น) มีการบูรณาการร่วมกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ

              3.4 การจัดทำบันทึกข้อตกลงเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการคุ้มครองและป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อระงับการจำหน่ายสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาบนอินเทอร์เน็ตและการร่วมมือกับสมาคมด้านการโฆษณาเพื่อไม่ให้การสนับสนุนเว็บไซต์ที่มีการจำหน่ายสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

          4. ข้อกังวล/ข้อเสนอแนะของสหรัฐฯ สรุปได้ ดังนี้

 

ประเด็น

 

ข้อกังวล/ข้อเสนอแนะ

(1) การแก้ไข/ดำเนินการตามกฎหมายต่างๆ และการเข้าเป็นภาคีความตกลงระหว่างประเทศ

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ .. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

 

- สนับสนุนให้ไทยเร่งแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติดังกล่าวเพื่อเตรียมการเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาว่าด้วยการแสดงและสิ่งบันทึกเสียงขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WPO Performances and Phonograms Treaty: WPPT)

- เน้นย้ำให้ไทยแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติดังกล่าวเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องต่างๆ เช่น ปัญหาและอุปสรรคในการจับกุมการลักลอบบันทึกภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์และการแอบอ้างสิทธิในการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์

พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

 

สหรัฐฯ ยังมีข้อกังวลในประเด็นการปรับปรุงขั้นตอนการจดทะเบียนและการจัดการปัญหางานจดทะเบียนสิทธิบัตรค้างสะสมโดยเฉพาะในสาขายาเพื่อเตรียมการเข้าเป็นภาคีความตกลงกรุงเฮกฯ ซึ่งไทยอยู่ระหว่างการเสนอแก้ไขพระราชบัญญัติดังกล่าว

พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ .. 2551

 

การเปิดช่องให้กำหนดสัดส่วนระหว่างภาพยนตร์ไทยกับภาพยนตร์ต่างประเทศที่จะนำออกฉายในโรงภาพยนตร์ภายใต้พระราขบัญญัติดังกล่าว

(2) ประเด็นอื่นๆ

เช่น การจำหน่ายสินค้าละเมิดเครื่องหมายการค้าและลิขสิทธิ์และการขึ้นทะเบียน

 

- ให้มีมาตรการป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาที่มีประสิทธิภาพและดำเนินคดีกับผู้ผลิตสินค้าละเมิด

- ให้มีระบบป้องกันข้อมูลสำหรับการขึ้นทะเบียนยาและเคมีภัณฑ์ทางการเกษตรที่มีประสิทธิภาพและเป็นความลับจากการนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์โดยไม่เป็นธรรม

 

          5. ข้อมูลเกี่ยวกับการกำหนดให้ตำแหน่งผู้ตรวจสอบสิทธิบัตรได้รับเงินเพิ่มและการขอหักเงินค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาที่ต้องส่งคลังมาใช้เป็นค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ สรุปว่า

              5.1 กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้พัฒนาระบบและนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบสิทธิบัตรอย่างต่อเนื่องแต่เนื่องด้วยจำนวนคำขอรับสิทธิบัตรมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปีและประสบปัญหาการขาดแคลนและสูญเสียข้าราชการในตำแหน่งนักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตรโดยเฉพาะในกลุ่มเภสัชภัณฑ์และกลุ่มไฟฟ้าและดิจิทัล ซึ่งแม้กรมทรัพย์สินทางปัญญาจะได้รับอัตรากำลังสำหรับตำแหน่งนักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตรระหว่างปีงบประมาณพ.ศ. 2559-2561 จำนวน 88 ตำแหน่งแล้ว แต่ไม่สามารถรักษาบุคลากรดังกล่าวไว้ได้เนื่องจากความยุ่งยากของงานและความแตกต่างระหว่างค่าตอบแทนในภาคเอกชนกับหน่วยงานราชการและระหว่างหน่วยงานราชการด้วยกันเอง โดยเฉพาะตำแหน่งวิศวกรหรือเภสัชกรในหน่วยงานราชการอื่นจะได้รับเงินประจำตำแหน่งเป็นรายเดือนเพิ่มเติม อีกทั้งมีความล่าช้าในการสรรหาผู้ปฏิบัติงานทดแทน เนื่องจากวุฒิการศึกษาของผู้ตรวจสอบสิทธิบัตรเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน จึงมีผู้สมัครน้อยและเมื่อบรรจุแล้วจำเป็นต้องใช้เวลาสั่งสมประสบการณ์ 2-4 ปี จึงจะสามารถปฏิบัติงานทดแทนผู้ปฏิบัติงานเดิมได้ประกอบกับการตรวจสอบคำขอรับสิทธิษัตรมีความละเอียดซับซ้อนและไม่สามารถดำเนินการให้เสร็จสิ้นกระบวนการได้ในเวลาราชการปกติ ดังนั้น นักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตรจำเป็นต้องปฏิบัติงานนอกเวลาราชการเพื่อเร่งรัดสะสางงานค้างสะสม

              5.2 การกำหนดให้ตำแหน่งผู้ตรวจสอบสิทธิบัตรเป็นตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษให้ได้รับเงินเพิ่มและการขอหักเงินที่ต้องส่งเข้าเงินคงคลังไว้เป็นค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการของผู้ตรวจสอบสิทธิบัตร สรุปได้ ดังนี้ 

 

ข้อเสนอ

 

รายละเอียดการดำเนินการ/ความคืบหน้า

การกำหนดให้ตำแหน่งผู้ตรวจสอบสิทธิบัตรเป็นตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษให้ได้รับเงินเพิ่ม 

(ตามข้อเสนอ 1.2.4)

 

กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ขอความอนุเคราะห์สำนักงาน .. ให้พิจารณาตำแหน่งนักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตรเป็นตำแหน่งที่ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษตามระเบียบ .. ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน .. 2552 ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการประชุมหารือร่วมกันและได้จัดทำข้อมูลประกอบการพิจารณาส่งให้สำนักงาน .. อย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันสำนักงาน .. อยู่ระหว่างพิจารณาปรับปรุงระเบียบดังกล่าว ซึ่งหากดำเนินการแล้วเสร็จสำนักงาน กพ. จะพิจารณาและประกาศให้ตำแหน่งนักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตรเป็นตำแหน่งที่ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษต่อไป

การขอหักเงินค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาที่ต้องส่งเข้าเงินคงคลังไว้เป็นค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการของผู้ตรวจสอบสิทธิบัตร (ตามข้อเสนอ 1.2.5)

 

กรมทรัพย์สินทางปัญญาอยู่ระหว่างประสานกรมบัญชีกลาง กค. เพื่อขอหักเงินค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาที่ต้องส่งเข้าบัญชีเงินคงคลังในปีงบประมาณ .. 2567 เพื่อนำมาสนับสนุนค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการและเร่งรัดการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติเงินคงคลัง .. 2491 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 4 วรรคสอง (2) ที่บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอำนาจกำหนดข้อบังคับอนุญาตให้หัวหน้าส่วนราชการใดๆ หักรายจ่ายจากเงินที่จะต้องส่งเข้าบัญชีเงินคงคลังได้ในกรณีที่จำเป็นต้องจ่ายตามระเบียบที่ได้รับความตกลงจาก กค. และระเบียบ กค. ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อเสริมเงินงบประมาณ .. 2549 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

ข้อ 5 ที่กำหนดให้เงินค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาให้นำไปจ่ายเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการส่งเสริมและคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาได้

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 7 พฤศจิกายน 2566

สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

11307

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

kbank 720x100 66

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!