WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รายงานการประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียน ครั้งที่ 16 การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสสารนิเทศอาเซียน ครั้งที่ 20 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง

Gov 12

รายงานการประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียน ครั้งที่ 16 การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสสารนิเทศอาเซียน ครั้งที่ 20 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง

          คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานการประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียน ครั้งที่ 16 การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสสารนิเทศอาเซียน ครั้งที่ 20 และการประชุมที่เกี่ยวข้องตามที่สำนักนายกรัฐมนตรี (นร.) โดยกรมประชาสัมพันธ์ (กปส.) เสนอ

          สาระสำคัญ

          กปส. รายงานว่า นายกรัฐมนตรีได้แต่งตั้งองค์ประกอบคณะผู้แทนไทยในการประชุมระดับรัฐมนตรีและระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย และรองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ (นางสุดฤทัย เลิศเกษม) เป็นหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่อาวุโสสารนิเทศอาเซียน เพื่อเข้าร่วมการประชุมสารนิเทศอาเซียน (ASEAN Ministers Responsible for Information: AMRI) ครั้งที่ 16 การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสสารนิเทศอาเซียน (ASEAN Senior Officials Responsible for Information: SOMRI) ครั้งที่ 20 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-23 กันยายน 2566 ณ นครดานัง สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดยมีผลการประชุม สรุปได้ ดังนี้

          1. การประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียน ครั้งที่ 16 ประกอบด้วย การประชุมย่อย จำนวน 5 การประชุม ได้แก่ (1) การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสสารนิเทศอาเซียน (2) การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสสารนิเทศอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา+3 (3) การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสสารนิเทศอาเซียน - ญี่ปุ่น (4) การประชุมรับมนตรีสารนิเทศอาเซียน และ (5) การประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา+3 สรุปได้ ดังนี้

              1.1 ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับหัวข้อ “สื่อ: จากข้อมูลสู่ความรู้เพื่ออาเซียนที่ยืดหยุ่นและพร้อมตอบสนอง” โดยได้เน้นย้ำการยกระดับการดำเนินงานของสื่อในการปรับตัวใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างสังคมแห่งความรู้ ซึ่งประเทศไทยได้เสนอแนวคิด 3I (สามไอ) เพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาประชาคมอาเซียน ได้แก่ (1) Informative การให้ข้อมูลความรู้ที่เป็นประโยชน์ (2) Intelligent การพัฒนาคนให้มีความฉลาดเท่าทันในการใช้สื่อ และ (3) Inclusive การส่งเสริมให้ข้อมูลข่าวสารเข้าถึงในทุกกลุ่ม เพื่อให้ประชาชนรู้เท่าทันสื่อให้มากยิ่งขึ้น

              1.2 ที่ประชุมให้การรับรองเอกสารผลลัพธ์อย่างเป็นทางการจำนวน 5 ฉบับ* ดังนี้

                    (1) แถลงการณ์วิสัยทัศน์ของรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียนอาเซียน 2578: มุ่งสู่สารนิเทศอาเซียนที่พร้อมเปลี่ยนแปลง พร้อมตอบสนอง และยืดหยุ่น (Vision Statement by AMR-ASEAN 2035: Toward a Transformative, Responsive and Resilient Information and Media Sector) โดยเน้นย้ำบทบาทของสื่อจากการทำงานเชิงรับเป็นเชิงรุกไม่ใช่แค่ให้ข้อมูลข่าวสารแต่ให้ความรู้ ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้เท่าทันสื่อ มีความสามารถแสวงหาความรู้ และปลูกฝังค่านิยมในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

                    (2) ปฏิญญาดานังว่าด้วย “สื่อ: จากข้อมูลสู่ความรู้เพื่ออาเซียนที่ยืดหยุ่นและพร้อมตอบสนอง” (Danang Declaration on “Media: From Information to Knowledge for a Resilient and Responsive ASEAN”) โดยแสดงจุดยืนและความมุ่งมั่นของรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียนในการสร้างสภาพแวดล้อมสำหรับสื่อในยุคดิจิทัล ผ่านการส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อให้มีทักษะการคิดวิเคราะห์แยกแยะข้อมูลข่าวสารในยุคดิจิทัลได้

                    (3) แนวทางการจัดการข้อมูลภาครัฐเพื่อต่อต้านข่าวปลอมและข้อมูลบิดเบือนในสื่อ(Guideline on Management of Government Information in Combating Fake News and Disinformation in the Media) โดยมีคู่มือแนวทางในการรับมือข่าวลวงซึ่งมีตัวอย่างการจัดการและต่อต้านข่าวลวงของรัฐบาลแต่ละประเทศ และนำเสนอแนวทางการพัฒนาความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

                    (4) แผนปฏิบัติการคณะทำงานเฉพาะกิจอาเซียนด้านการรับมือข่าวลวง (Plan of Action of ASEAN Task Force on Fake News) โดยมีแผนงานโครงการและกิจกรรมเพื่อการรับมือข่าวลวง จัดทำขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ นโยบายและแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ รวมถึงแนวทางแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน

                    (5) แถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียนครั้งที่ 16 และการประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา+3 ครั้งที่ 7 (Joint Media Statement: 16th Conference of the ASEAN Ministers Responsible for Information & 7th Conference of the ASEAN Plus Three Ministers Responsible for Information) โดยได้เน้นย้ำถึงการใช้สื่อและสารนิเทศ ในการสนับสนุนประชาคมอาเซียนให้เป็นสังคมที่พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง ตอบสนอง และยืดหยุ่นโดยสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้องไปยังประชาชน ตลอดจนการส่งเสริมความรู้สึกเป็นพลเมืองอาเซียน

              1.2 การประชุมทวิภาคีระหว่างไทย-สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด) ได้ร่วมหารือกับนายเหวียน แม็ง ห่ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสารสนเทศ และการสื่อสารเวียดนาม ในประเด็นความร่วมมือด้านการต่อต้านข่าวปลอม และชื่นชมเวียดนามที่ริเริ่มจัดตั้งคณะทำงานรับมือกับข่าวลวงซึ่งเป็นโมเดลทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องในภูมิภาค โดยเสนอให้แลกเปลี่ยนการข่าวอาเซียนให้มากยิ่งขึ้นเพื่อให้ได้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือทั้งในห้วงปกติและภาวะวิกฤต

              1.3 การประชุมทวิภาคีระหว่างไทย-ราชอาณาจักรกัมพูชา รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด) ได้ร่วมหารือกับนายเนตร พักตรา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสื่อสารกัมพูชา ในประเด็นความร่วมมือในการแก้ปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่ประชาชนตกเป็นเหยื่อถูกหลอกลวง ทั้งนี้ ประเทศไทยได้เสนอให้ใช้กลไกความร่วมมือด้านสื่อที่ประเทศไทยกับราชอาณาจักรกัมพูชาได้มีความร่วมมือกันผ่านรายการวิทยุระหว่างสองประเทศ (Twin Radio) เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนทั้งสองประเทศมีความรู้เท่าทันสื่อและมีแนวทางในการรับมือจากภัยการหลอกลวงทางออนไลน์

_______________________

* คณะรัฐมนตรีมีมติ (18 กันยายน 2566) เห็นชอบร่างเอกสารผลลัพธ์เพื่อรับรองในที่ประชุรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียน ครั้งที่ 16 จำนวน 5 ฉบับ และให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด) รับรองเอกสารผลลัพธ์ทั้ง 5 ฉบับ

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 7 พฤศจิกายน 2566

สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

11305

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

kbank 720x100 66

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!