WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลการประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) ครั้งที่ 23

Gov 11

ผลการประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) ครั้งที่ 23

          คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Council : AEC Council) ครั้งที่ 23 ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ 

          สาระสำคัญ

          1. อินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม AEC Council ครั้งที่ 23 (การประชุม ฯ) เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2566 ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยในส่วนของไทยมีรองปลัดกระทรวงพาณิชย์ (นายเอกฉัตร ศีตวรรัตย์) เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งผลการประชุมฯ เป็นผลลัพธ์สำคัญในการดำเนินงานของเสาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่เสนอต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 43 มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

 

ประเด็น

 

สาระสำคัญ

การผลักดันประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจของอินโดนีเซียในฐานะประธานอาเซียนให้บรรลุผลในปี 2566

 

สามารถดำเนินการผลักดันเสร็จสมบูรณ์ จำนวน 11 ประเด็น เช่น (1) การจัดทำกรอบการดำเนินงานด้านการอำนวยความสะดวกด้านบริการอาเซียน (2) การส่งเสริมการฟื้นตัวและรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินและความยืดหยุ่น (3) การจัดตั้งหน่วยสนับสนุนความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ในสำนักเลขาธิการอาเซียน กรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย

การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลของอาเซียน

 

ให้ความสำคัญเรื่องเศรษฐกิจดิจิทัลในการขับเคลื่อนอาเซียนไปสู่กลุ่มประเทศดิจิทัลชั้นนำ โดยประกาศเริ่มต้นการเจรจาจัดทำความตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียน (ASEAN Digital Economy Framework Agreement: DEFA) และตั้งเป้าหมายการเจรจาให้แล้วเสร็จภายในปี 2568

การพัฒนาด้านความยั่งยืนของอาเซียน

 

รายงานความคืบหน้าการดำเนินการต่างๆ เช่น (1) แผนปฏิบัติการตามกรอบเศรษฐกิจหมุนเวียนของอาเซียนที่จะนำแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้กับ 3 สาขานำร่อง ได้แก่ ภาคเกษตร พลังงาน และขนส่ง (2) ยุทธศาสตร์อาเซียนเพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอนที่เน้นอุตสาหกรรมเป้าหมายการลดการปล่อยคาร์บอน 5 อุตสาหกรรม ได้แก่ ภาคพลังงาน (รวมภาคการขนส่ง) ภาคกระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ ภาคการเกษตร ภาคป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดินและภาคการจัดการของเสีย (3) แผนงานการลงทุนที่ยั่งยืนของอาเซียน (แผนงานฯ) ซึ่งจะเป็นแนวทางช่วยกำหนดยุทธศาสตร์ที่ส่งเสริมการลงทุนสีเขียว การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนในการใช้ประโยชน์จากการลงทุนที่ยั่งยืน โดยตั้งเป้าสรุปเอกสารแผนงานฯ ในปี 2567

การจัดทำวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนหลังปี .. 2025

 

รับทราบแผนการดำเนินการในระยะต่อไปก่อนจะเสนอวิสัยทัศน์ฯ ให้ผู้นำรับรองในปี 2568

 

          ทั้งนี้ พณ. ได้จัดทำตารางติดตามผลการประชุม AEC Council ครั้งที่ 23 โดยมีสาระสำคัญเป็นการสรุปประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับมติที่ประชุมในแต่ละเวทีเพื่อใช้ติดตามผลการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย

          2. ในการประชุมฯ ได้มีการพิจารณารับรองและเห็นชอบเอกสารจำนวน 8 ฉบับ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2566 [เรื่อง การร่วมรับรองและให้ความเห็นชอบเอกสารผลลัพธ์ด้านเศรษฐกิจสำหรับการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) การประชุม AEC Council การประชุม ASEAN Summit และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ของ พณ.] และวันที่ 23 สิงหาคม 2566 (เรื่อง การขอความเห็นซอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุม ASEAN Summit ครั้งที่ 43 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง ของกระทรวงการต่างประเทศ และเรื่อง ร่างเอกสารผลลัพธ์สำหรับการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 41 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ของกระทรวงพลังงาน) ได้แก่

              (1) ยุทธศาสตร์อาเซียนเพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอน (Development of ASEAN Strategy for Carbon Neutrality)

              (2) ปฏิญญารัฐมนตรีว่าด้วยกรอบการดำเนินงานสำหรับโครงการพื้นฐานด้านอุตสาหกรรม (Ministerial Declaration on the Framework for ASEAN Industrial Projects Based Initiative: AIPBI)

              (3) ปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการในการตอบสนองต่อภาวะวิกฤต (ASEAN Leaders' Declaration on Strengthening Food Security and Nutrition in Response to Crises)

              (4) กรอบความร่วมมือด้านเศรษฐกิจภาคทะเลของอาเซียน(ASEAN Blue Economy Framework)

              (5) แถลงการณ์ผู้นำว่าด้วยการจัดทำกรอบความตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน (Leaders’ Statement on the DEFA)

              (6) กรอบสำหรับการเจรจากรอบความตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน (Framework for Negotiating the ASEAN DEFA)

              (7) รายงานการศึกษากรอบความตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน (Study on the ASEAN DEFA)

              (8) ถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 41 ว่าด้วยความมั่นคงทางพลังงานที่ยั่งยืนผ่านการเชื่อมโยงระหว่างกัน (Joint Declaration of the 41st AMEM on Sustainable Energy Security through Interconnectivity)

          3. พณ. แจ้งว่า ปัจจุบันอาเซียนให้ความสำคัญกับประเด็นเศรษฐกิจดิจิทัล โดยได้เริ่มการเจรจาจัดทำความตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียน ซึ่งจะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมทางการค้าภายในอาเซียนให้เอื้อกับการค้ายุคใหม่ที่ปรับเปลี่ยนไปสู่รูปแบบดิจิทัลมากยิ่งขึ้น เช่น การอำนวยความสะดวกในการค้าข้ามพรมแดนทางดิจิทัล พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การชำระเงิน และความปลอดภัยทางไซเบอร์ เป็นต้น และสนับสนุนการค้าสินค้าภายในอาเซียนให้เติบโตและขยายตัวเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการดึงดูดการค้าและการลงทุนทั้งภายในและจากภายนอกภูมิภาค และนำไปสู่การเป็นตลาดเดียวอย่างไร้รอยต่อในอนาคตซึ่งภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจะต้องเตรียมพร้อมรองรับและปรับตัวในเชิงรุก ทั้งการปรับปรุงกฎระเบียบของภาครัฐ การเสริมสร้างทักษะ (upskill) และเปลี่ยนทักษะ (reskill) ที่เกี่ยวข้องกับดิจิทัลในภาคเอกชนและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน และเป็นการสร้างโอกาสในการเป็นห่วงโซ่อุปทานด้านดิจิทัลในอาเซียนต่อไป

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 7 พฤศจิกายน 2566

สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

11300

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

kbank 720x100 66

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!