WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Minister: AEM) ครั้งที่ 55 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง

Gov 04

ผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Minister: AEM) ครั้งที่ 55 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง

          คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน [ASEAN Economic Minister (AEM)] ครั้งที่ 55 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง1 ระหว่างวันที่ 19-22 สิงหาคม 2566 ณ เมืองเซอมารัง สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (อินโดนีเซีย) ตามที่กระทรวงพาณิชย์(พณ.) เสนอ 

          สาระสำคัญ

          1. อินโดนีเซียได้จัดการประชุม AEM ครั้งที่ 55 และการประชุมที่เกี่ยวข้องระหว่างวันที่ 19-22 สิงหาคม 2566 ณ เมืองเซอมารัง อินโดนีเซีย ซึ่งผลการประชุม AEM ครั้งที่ 55 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง เป็นผลลัพธ์สำคัญในการดำเนินงานของเสาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่เสนอต่อที่ประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) ครั้งที่ 23 และที่ประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 43 โดยมีสาระสำคัญ สรุปได้ ดังนี้ 

              1.1 ผลการประชุม AEM ครั้งที่ 55 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง

 

การประชุม/การหารือของ

รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน

 

รายละเอียด

1) AEM ครั้งที่ 55

 

- มีประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจที่อินโดนีเซียผลักดันให้บรรลุผลสำเร็จในปี 2566 แล้ว 5 ประเด็น เช่น การจัดทำกรอบอำนวยความสะดวกด้านการบริการของอาเซียน

- จัดทำความตกลงกรอบเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียนและเสนอต่อผู้นำอาเชียนใน ASEAN Summit โดยตั้งเป้าหมายการเจรจาให้แล้วเสร็จในปี 2568

- จัดทำยุทธศาสตร์อาเซียนเพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอน เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางคาร์บอนของภูมิภาคและการพัฒนาทักษะแรงงานใน 5 อุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น ภาคพลังงานและการขนส่ง ภาคการเกษตร และภาคการจัดการของเสีย

2) คณะมนตรีเขตการ ค้าเสรีอาเซียน ครั้งที่ 37

 

พิจารณาความคืบหน้าในการเจรจาเพื่อยกระดับความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน โดยรับทราบว่ามีปัญหาสำคัญบางประเด็นที่ต้องหารือในช่วงการประชุม AEM อย่างไม่เป็นทางการในเดือนมีนาคม ปี 2567

3) คณะมนตรีเขตการลงทุนอาเซียน ครั้งที่ 26

 

ยอมรับข้อสรุปในประเด็นสำคัญของร่างพิธีสารแก้ไขเพิ่มเติมความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน ฉบับที่ 5 โดยจะมีการลงนามในร่างพิธีสารดังกล่าวภายในปี 2567

4) ความตกลงหุ้นส่วน

เศรษฐกิจระดับภูมิภาค

(RCEP) ครั้งที่ 2

 

เห็นชอบเอกสารสำคัญ 2 ฉบับ ได้แก่ เอกสารขอบเขตของหน่วยงานสนับสนุน RCEP และเอกสารด้านงบประมาณที่จะสนับสนุนการดำเนินงานของ RCEP รวมทั้งเร่งรัดการปรับโอนพิกัดศุลกากรของตารางข้อผูกพันการลดภาษีให้เป็นระบบพิกัดศุลกากร 20222 ให้ครบทุกประเทศ

5) ประเทศนอกภูมิภาค

(12 ประเทศ)

 

- ความคืบหน้าการลงนามพิธีสารฉบับที่ 2 เพื่อปรับปรุงความตกลงการค้าเสรีอาเซียนออสเตรเลียนิวซีแลนด์

- สรุปแผนความร่วมมือด้านการค้า การลงทุนของอาเซียนกับคู่เจรา โดยเฉพาะความร่วมมือที่จะผลักดันประเด็นที่อาเซียนให้ความสำคัญ เช่น เศรษฐกิจดิจิทัล

6) สภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน

 

เน้นย้ำความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อผลักดันการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน การมุ่งสู่ยุคดิจิทัล การพัฒนาที่ยั่งยืน และการรับมือกับความท้าทายด้านสาธารณสุขและความมั่นคงทางอาหาร

7) ผู้อำนวยการใหญ่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก

 

สนับสนุน MSMEs และStart up ในการใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญาเชิงพาณิชย์และการเปิดตัวระบบสืบค้นข้อมูลเครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร และการออกแบบผลิตภัณฑ์ของประเทศอาเซียน

8) เรื่องอื่นๆ

 

การหารือทวิภาคีอย่างไม่เป็นทางการระหว่างประเทศไทยกับสหพันธรัฐรัสเซียเกี่ยวกับ

- แนวทางการผลักดันและอำนวยความสะดวกทางการค้าเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการค้า 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2566

- ความเป็นไปได้ในการจัดประชุมคณะอนุกรรมาธิการด้านการค้าและความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย - สหพันธรัฐรัสเซีย ครั้งที่ 5

 

              ทั้งนี้ พณ. ได้จัดทำตารางติดตามผลการประชุม AEM ครั้งที่ 55 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง โดยมีสาระสำคัญเป็นการสรุปประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับมติที่ประชุมในแต่ละเวทีเพื่อใช้ติดตามผลการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย

              1.2 เอกสารผลลัพธ์การประชุม โดยที่ประชุม AEM ครั้งที่ 55 ได้รับรองและเห็นชอบต่อเอกสารผลลัพธ์ด้านเศรษฐกิจ จำนวน 13 ฉบับ โดยมีการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมปฏิญญารัฐมนตรีว่าด้วยกรอบการดำเนินงานสำหรับโครงการพื้นฐานด้านอุตสาหกรรม3 จากที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2566 (ไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้) ดังนี้

                  1) ปรับเพิ่มเนื้อหาในส่วนของความปรารถนา โดยให้เพิ่มเติมประเด็นสนับสนุนการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจในภูมิภาค

                  2) ปรับเพิ่มเนื้อหาในส่วนของเป้าหมายเชิงกลยุทธ์โดยให้เพิ่มเติมถ้อยคำในการสร้างห่วงโซ่อุปทานที่มั่นคงและยืดหยุ่น การส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลและการพัฒนาที่ยั่งยืน และเสริมสร้างความเชื่อมโยงและความร่วมมือรายสาขาเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านเทคโนโลยีข้ามพรมแดนและการเสริมสร้างขีดความสามารถ

                  3) ปรับเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนของหลักการชี้นำเรื่องการส่งเสริมแนวคิดความร่วมมือที่ได้ประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก

                  4) ปรับแก้ไขในส่วนการมอบหมายสำหรับดำเนินการต่อไปโดยมอบหมายให้เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียนหารือรายละเอียดเพิ่มเติมกับองค์กรรายสาขาที่เกี่ยวข้อง

______________

1 คณะรัฐมนตรีมีมติ (15 สิงหาคม 2566) เห็นซอบเอกสารผลลัพธ์ด้านเศรษฐกิจของการประชุม AEM ครั้งที่ 55 จำนวน 13 ฉบับ

2 พิกัดศุลกากรเป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายทางการค้า จัดเก็บภาษีอากร และควบคุมสินค้าต้องห้าม ซึ่งประเทศไทยใช้พิกัดศุลกากร 2017 มาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 ตามองค์การศุลกากรโลก และองค์การศุลกากรโลกได้จัดทำพิกัดศุลกากรฉบับใหม่ (พิกัดศุลกากร 2022) โดยเริ่มใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2566

3เพื่อเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในการดำเนินการต่างๆ เช่น เสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาว และยกระดับการค้าและการลงทุนภายในอาเซียน

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 7 พฤศจิกายน 2566

สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

11299

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

kbank 720x100 66

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!