WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รายงานการเตรียมความพร้อมการดำเนินการช่วยเหลือแรงงานไทยที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในรัฐอิสราเอล

Gov 14

รายงานการเตรียมความพร้อมการดำเนินการช่วยเหลือแรงงานไทยที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในรัฐอิสราเอล

          คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานการเตรียมความพร้อมการดำเนินการช่วยเหลือแรงงานไทยที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในรัฐอิสราเอล ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ 

          ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอว่า เนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในรัฐอิสราเอลที่ทวีความรุนแรงขึ้น ส่งผลกระทบต่อแรงงานไทยที่อาศัยอยู่ ณ รัฐอิสราเอล เพื่อเป็นการช่วยเหลือแรงงานไทยที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ในรัฐอิสราเอลที่กลับมาให้มีความพร้อมเข้าสู่การจ้างงานและ/หรือเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร ยกระดับภาคการเกษตรของประเทศไทยด้วยความรู้ ประสบการณ์ และความชำนาญของแรงงานที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่จากรัฐอิสราเอล และเพื่อสร้างอาชีพที่มั่นคงกว่าการเป็นแรงงานรับจ้างทั่วไป ซึ่งการทำการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูงล้ำหน้าทันสมัย และพัฒนาให้เป็นฟาร์มต้นแบบเกษตรสมัยใหม่ และแม่นยำสูง จะนำไปสู่การผลิตสินค้าเกษตรมูลค่าสูง ต่อยอดเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรได้ ทั้งนี้ การช่วยเหลือและสร้างความมั่นคงในอาชีพให้แก่แรงงานเหล่านี้ถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งและจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน 

          สาระสำคัญ

          กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดทำโครงการส่งเสริมความรู้ด้านเทคโนโลยีเกษตรจากแรงงานอิสราเอลสู่การพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่ มีสาระสำคัญ ดังนี้

          1. จากสถานการณ์เหตุการณ์ความไม่สงบในรัฐอิสราเอลที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลกระทบต่อแรงงานไทย ที่อยู่ ณ รัฐอิสราเอล ซึ่งจากข้อมูลของกระทรวงแรงงาน (2566) ที่ระบุว่ามีแรงงานไทยในรัฐอิสราเอล จำนวนมากถึง 25,887 คน (ข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม 2566) โดยส่วนใหญ่เดินทางไปเป็นแรงงานภาคการเกษตรมากถึงร้อยละ 90 ของแรงงานไทยในรัฐอิสราเอล หรือประมาณ 24,000 คน ซึ่งหลังจากที่เกิดเหตุความไม่สงบดังกล่าว มีแรงงานไทยที่ต้องการกลับประเทศไทยเป็นจำนวน 8,345 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 20 ตุลาคม 2566) ซึ่งแรงงานกลุ่มนี้ เป็นแรงงานที่ได้รับการพัฒนาและมีทักษะในด้านการเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมที่ทันสมัย เนื่องจากรัฐอิสราเอลเป็นประเทศที่มีระบบด้านการเกษตร มีความทันสมัย ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีการปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย การปลูกพืชในโรงเรือน หรือเทคโนโลยีการให้น้ำหยดแบบอัจฉริยะ ผลผลิตที่สำคัญ คือ พืชผัก ทั้งผักเมืองร้อน และผักเมืองหนาวหรือจะเป็นพืชสวน เช่น ส้ม มะม่วง อะโวคาโด อินทผลัม ทับทิม รวมถึงฟาร์มปศุสัตว์ ดังนั้น แรงงานไทย จำนวน 8,345 คน ที่จะเดินทางกลับจากรัฐอิสราเอลเป็นแรงงานที่มีองค์ความรู้ มีประสบการณ์ด้านการเกษตรสมัยใหม่ มีศักยภาพด้านการเกษตรที่จะเป็นส่วนสำคัญในการช่วยพัฒนาระบบการเกษตรของประเทศไทย สามารถนำมาปรับใช้กับการพัฒนาภาคการเกษตรไทยให้มีความทันสมัยและแม่นยำสูง 

          2. วัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือแรงงานไทยที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ในรัฐอิสราเอล พัฒนาแรงงานที่กลับมาให้มีความพร้อมเข้าสู่การจ้างงานและ/หรือเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรในประเทศไทย และเพื่อยกระดับภาคการเกษตรของประเทศไทยด้วยความรู้ประสบการณ์ และความชำนาญของแรงงานที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่จากรัฐอิสราเอล 

          3. การดำเนินการ 

               3.1 การจัดทำข้อตกลงความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมความรู้ด้านเทคโนโลยีเกษตรจากแรงงานไทยที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ในรัฐอิสราเอลสู่การพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่ ระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงแรงงาน กระทรวงการคลัง สถาบันการเงิน เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และหน่วยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 

               3.2 จัดทำเอกสารหนังสือชี้ชวนเข้าร่วมโครงการ และการสื่อสารประชาสัมพันธ์คุณสมบัติและความเชี่ยวชาญของแรงงาน เพื่อเป็นทางเลือกอาชีพของแรงงานไทยที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ในรัฐอิสราเอล 

               3.3 สำรวจและคัดกรองแรงงานไทยที่กลับจากรัฐอิสราเอลที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเกษตร

               3.4 การประมวลถอดองค์ความรู้ และพัฒนาทักษะครูพี่เลี้ยงเพื่อเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ความเชี่ยวชาญเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่สู่การปรับใช้อย่างเหมาะสม ให้คำปรึกษาและสร้างความเชื่อมั่นการทำเกษตรสมัยใหม่

               3.5 การพัฒนาเตรียมทักษะรองรับการจ้างงานตามความต้องการของนายจ้าง 

               3.6 สนับสนุนการเข้าถึงแหล่งลงทุนในการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรรักบ้านเกิด เช่น การเขียนแผนธุรกิจเกษตร แนวทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และการสนับสนุนปัจจัยการผลิต 

               3.7 การสื่อสารความรู้ความเข้าใจ ถึงความก้าวหน้า ผลผลิต ผลสัมฤทธิ์ ประโยชน์ต่อสาธารณะ และความสำเร็จตามลำดับชั้นของโครงการ

               3.8 การจัดการข้อมูลเพื่อติดตาม ประเมินผล สอบทานประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและการรายงาน เพื่อจัดทำรายงานการดำเนินงาน

          4. ระยะเวลาดำเนินการ เดือนพฤศจิกายน 2566 - กันยายน 2567 

          ประโยชน์และลดผลกระทบ 

          1. แรงงานไทยที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์รัฐอิสราเอลเกิดรายได้จากการถอดองค์ความรู้ การถ่ายทอดความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ 

          2. แรงงานไทยที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์รัฐอิสราเอลมีโอกาสในการประกอบอาชีพทางการเกษตร

          3. ผลิตภาพการผลิตภาคเกษตรปรับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะหน่วยผลิตที่มีความเชื่อมโยงกับโครงการส่งเสริมความรู้ด้านเทคโนโลยีเกษตรจากแรงงานอิสราเอลสู่การพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่ในระยะต่อไป

          ค่าใช้จ่ายและแหล่งที่มา 

          เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีของกรมส่งเสริมการเกษตรและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งนี้ หากงบประมาณไม่เพียงพอ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะเสนอขอใช้จ่ายจากจบประมาณรายจ่ายประจำปี งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นต่อไป

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 24 ตุลาคม 2566

สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

A10772

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

iconmotor

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!