WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

สรุปผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 17 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง

Gov 09

สรุปผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 17 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง

          คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดลอม ครั้งที่ 17 (17th ASEAN Ministerial Meeting on the Environment: 17 th AMME) และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ 

          สาระสำคัญของเรื่อง 

          ทส. รายงานว่า การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 17 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 23-24 สิงหาคม 2566 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สปป. ลาว ทำหน้าที่ประธานการประชุม) โดยมีปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมฯ (นายกรัฐมนตรีอนุมัติเปลี่ยนแปลงหัวหน้าคณะผู้แทนไทย เนื่องจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมติดภารกิจในช่วงการประชุมดังกล่าว) มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

          1. การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 17 เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2566

               1.1 ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้กล่าวถ้อยแถลงถึงความเปราะบางของภูมิภาคอาเซียนต่อปัญหาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และมลพิษ โดยประเทศไทยจะร่วมต่อสู้กับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีการดำเนินงาน เช่น ปรับยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศไทย (Thailand's Long-Term Low Greenhouse Gas Emission Development Strategy: LT-LEDS)3 และเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ฉบับปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของประเทศ ซึ่งได้จัดส่งให้กับสำนักเลขาธิการอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยแล้ว รวมถึงการดำเนินงานต่างๆ เพื่อบรรลุเจตนารมณ์ความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2065 นอกจากนี้ ประเทศไทยมีการบริหารจัดการการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้สอดคล้องกับกรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลกและเน้นถึงการจัดการปัญหามลพิษ โดยเฉพาะมลพิษจากพลาสติก

               1.2 ที่ประชุมรับรองประเด็นต่างๆ ที่สำคัญ ดังนี้

                     (1) การขึ้นทะเบียนอุทยานมรดกอาเซียนของประเทศไทยจำนวน 2 แห่ง4 ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว (จังหวัดเพชรบูรณ์) เป็นอุทยานมรดกอาเซียนแห่งที่ 56 และอุทยานแห่งชาติภูกระดึง (จังหวัดเลย) เป็นอุทยานมรดกอาเซียนแห่งที่ 57

                     (2) ร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศฯ (UNFCCC COP 28) เพื่อเสนอผู้นำอาเซียนให้การรับรองในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 43 ซึ่งจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 4-7 กันยายน 2566 ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (อินโดนีเซีย)

                     (3) การมอบรางวัล ASEAN Eco-Schools และรางวัล ASEAN Youth Eco-Champions Award5 ของประเทศสมาชิกอาเซียน โดยประเทศไทยมีโรงเรียนสาธิตเทศบาลบ้านหัวหินเข้ารับรางวัล ASEAN Eco-Schools Award ระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา และนายมนตรี เจือไทสง อาจารย์โรงเรียนสาธิตเทศบาลบ้านหัวหินเข้ารับรางวัล ASEAN Youth Eco-Champions Award

                     (4) แผนปฏิบัติการอาเซียนเพื่อการจัดการชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน ซึ่งริเริ่มโดยอินโดนีเซียเพื่อแก้ไขปัญหาการคุกคามต่อการสูญเสียทางธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญของภูมิภาค

               1.3 ที่ประชุมรับทราบประเด็นต่างๆ ที่สำคัญ เช่น

                     (1) ผลสรุปความสำเร็จความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์อาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ณ เนการาบรูไนดารุสซาลาม (บรูไน) เพื่อสนับสนุนความร่วมมือและประสานการดำเนินงานข้อริเริ่มด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศสมาชิกอาเซียนกับรัฐบาลของประเทศต่างๆ และองค์กรระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศรวมถึงให้ข้อแนะนำด้านนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของอาเซียน

                     (2) การดำเนินโครงการ Horizontal Learning for ASEAN Sustainable Cities ณ อินโดนีเซีย เพื่อเป็นเวทีให้ประเทศสมาชิกอาเซียนได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และบทเรียนร่วมกันในเรื่องการพัฒนาเมืองยั่งยืน โดยเฉพาะการจัดการขยะและการพัฒนาเมือง การสร้างเครือข่ายและความร่วมมือที่มีศักยภาพระหว่างผู้ออกนโยบายภาคเอกชนและภาคประชาสังคมในการริเริ่มเมืองยั่งยืนของอาเซียน

                     (3) การดำเนินการตามแผนปฏิบัติการอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านขยะทะเลของประเทศสมาชิกและความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการและข้อริเริ่มที่เกี่ยวข้องกับขยะพลาสติก เช่น ความสำเร็จของการจัดประชุมปฏิบัติการ ASEAN-Indo Pacific Workshop on Marine Plastic Debris และการประชุม ASEAN Conference on Combating Plastic Pollution ที่อินโดนีเซียกำลังจะจัดขึ้น6

          2. การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมกับคู่เจรจา ในวันที่ 24 สิงหาคม 2566

 

การประชุม

 

รายละเอียด

การประชุมรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อม

อาเซียนบวกสาม (ASEAN Plus Three Environment Minister Meeting)

 

ที่ประชุมรับทราบความก้าวหน้าในการดำเนินความร่วมมือด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของอาเซียนร่วมกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลีโดยเฉพาะประเด็นปัญหาขยะพลาสติกในทะเล

การประชุมรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อม

อาเซียน-ญี่ปุ่น (ASEAN-Japan

Ministerial Dialogue on Environment and Climate Change)

 

ที่ประชุมร่วมกันรับรองเอกสารข้อริเริ่มฉบับใหม่ “Strategic Program for ASEAN Climate and Environment SPACE” และประเทศญี่ปุ่นเปิดตัว “SPACE” เพื่อสนับสนุนประเทศสมาชิกอาเซียนในการดำเนินงานเพื่อบริหารจัดการวิกฤตสิ่งแวดล้อมโลกที่มีความเชื่อมโยงกัน เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสูญสียความหลากหลายทางชีวภาพ และการแก้ไขปัญหามลพิษ

การประชุมระดับรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อม

อาเซียน-สหรัฐอเมริกา (ASEAN-U.S:

Ministerial Dialogue on

Environment and Climate Change

 

ที่ประชุมร่วมกันรับรองเอกสาร ASEAN-US. Environment and Climate Work Plan เพื่อสนับสนุนอาเซียนในการดำเนินงานการมีส่วนร่วมตามที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contributions : NDCs)7 การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ และการเงินเพื่อสภาพภูมิอากาศ

 

          3. เรื่องอื่นๆ ในที่ประชุม

               3.1 บรูไนได้ส่งมอบการลงนามเอกสารการจัดตั้งศูนย์อาเซียนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้กับรองเลขาธิการอาเซียนสำหรับประชาคมสังคมและวัฒนธรรมเพื่อดำเนินการต่อไป

               3.2 ประเทศไทยได้หารือร่วมกับ สปป. ลาว และคณะทำงานวิชาการโรงเรียนมัธยมสมบูนนาซอน เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินการก่อสร้างสวนรุกขชาติไทย-ลาว ที่สร้างขึ้น ณ โรงเรียนมัธยมสมบูนนาซอน โดยเสนอแนะให้มีการพัฒนาสวนรุกขชาติเป็นศูนย์การเรียนรู้ (Learning Centre) ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพร้อมสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรของ สปป.ลาว ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการอนุรักษ์พื้นที่อุทยานแห่งชาติ เพื่อการดูแลรักษาสวนรุกขชาติไทย - ลาว อย่างยั่งยืนต่อไป 

_____________

1 ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน คือ ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่เข้ามาแล้วสามารถตั้งถิ่นฐานและแพร่กระจายได้ในธรรมชาติ เป็นชนิดพันธุ์เด่นในสิ่งแวดล้อมที่อาจทำให้ชนิดพันธุ์พื้นเมืองสูญพันธุ์ รวมถึงคุกคามต่อความหลากหลายทางชีวภาพและก่อให้เถิดความสูญเสียทางสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสุขอนามัย [ประเทศไทยมีพืชต่างถิ่น เช่น วงศ์พืช (เช่น วงศ์ถั่ว วงศ์ดาวเรือง และวงศ์บานไม่รู้โรย) ที่มีถิ่นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกา และวงศ์หญ้าที่เป็นวัชพืช (เช่น หญ้าคา)] ซึ่งมีพฤติกรรมรุกรานและเจริญเติบโตรวดเร็ว

2 กรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลกมีจุดมุ่งหมายเพื่อพลิกฟื้นการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและทำให้โลกเข้าสู่เส้นทางการฟื้นฟู ประกอบด้วย 4 เป้าประสงค์ คือ (1) เพิ่มพูนความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ทุกระบบนิเวศ (2) ดำรงรักษาหรือเพิ่มพูนประโยชน์ที่ได้รับจากธรรมชาติ (3) แบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรม (สารที่สกัดได้จากทรัพยากรชีวภาพซึ่งสามารถนำไปพัฒนาต่อยอด เช่น ผลิตยารักษาโรค เครื่องสำอาง และอาหารเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ) อย่างยุติธรรมและเท่าเทียม และ (4) แก้ปัญหาช่องว่างทางการเงินและแนวทางการดำเนินงานอื่นๆ

3 คณะรัฐมนตรีมีมติ (19 ตุลาคม 2564) เห็นชอบ (ร่าง) ยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าชเรือนกระจกต่ำของประเทศไทย ตามที่ ทส. เสนอ

4 คณะรัฐมนตรีมีมติ (29 มีนาคม 2565) เห็นชอบการนำเสนออุทยานแห่งชาติภูกระดึงและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-อุทยานแห่งชาติน้ำหนาวให้เป็นมรดกแห่งอาเซียน ตามที่ ทส. เสนอ 

5 เป็นรางวัลโรงเรียนที่มีกระบวนการจัดการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมดีเด่นและครูผู้สอนสิ่งแวดล้อมศึกษาดีเด่น

6 ทส. แจ้งว่า การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นในวันที่ 17 ตุลาคม 2566 ณ กรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย

7 การมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด NDCs เป็นกลไกสำคัญเพื่อบรรลุความตกลงปารีสในความพยายามกำจัดปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมของมนุษย์ โดยให้ประเทศภาคีรายงานการมีส่วนร่วมระดับชาติในการกำหนดเป้าหมายและความก้าวหน้าของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวต่อผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 24 ตุลาคม 2566

สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

A10771

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

iconmotor

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!