มาตรการอัตราค่าโดยสารสูงสุด 20 บาท ตลอดสาย ตามนโยบายรัฐบาล สำหรับรถไฟชานเมือง สายสีแดง สายนครวิถี (กรุงเทพอภิวัฒน์ - ตลิ่งชัน) และสายธานีรัถยา (กรุงเทพอภิวัฒน์ - รังสิต) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย และรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ของการรถไฟฟ้าขนส่
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Tuesday, 17 October 2023 00:11
- Hits: 2391
มาตรการอัตราค่าโดยสารสูงสุด 20 บาท ตลอดสาย ตามนโยบายรัฐบาล สำหรับรถไฟชานเมือง สายสีแดง สายนครวิถี (กรุงเทพอภิวัฒน์ - ตลิ่งชัน) และสายธานีรัถยา (กรุงเทพอภิวัฒน์ - รังสิต) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย และรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการในการดำเนินมาตรการอัตราค่าโดยสารสูงสุด 20 บาท ตลอดสาย ตามนโยบายรัฐบาล สำหรับรถไฟชานเมืองสายสีแดง สายนครวิถี (กรุงเทพอภิวัฒน์ - ตลิ่งชัน) และสายธานีรัถยา (กรุงอภิวัฒน์ - รังสิต) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย และรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ สำหรับการขอรับการชดเชยส่วนต่างรายได้ของการรถไฟแห่งประเทศไทยนั้น เมื่อสิ้นสุดมาตรการดังกล่าวแล้วให้การรถไฟแห่งประเทศไทยเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามส่วนต่างรายได้ที่เกิดขึ้นจริงต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
สาระสำคัญ
มาตรการอัตราค่าโดยสารสูงสุด 20 บาท ตลอดสาย ตามนโยบายรัฐบาล สำหรับรถไฟชานเมืองสายสีแดง สายนครวิถี (กรุงเทพอภิวัฒน์ - ตลิ่งชัน) และสายธานีรัถยา (กรุงอภิวัฒน์ - รังสิต) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย และรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัฐธรรม (สายสีม่วง) ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย โดยมีระยะเวลาดำเนินการประมาณ 1 ปี (เริ่มต้นเมื่อระบบมีความพร้อม1 จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567) ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอในครั้งนี้ ถือเป็นมาตรการที่จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้กับประชาชน สร้างแรงจูงใจให้ประชาชนหันมาใช้บริการสาธารณะและลดภาวะมลพิษในภาพรวม อย่างไรก็ตาม คค. ได้ประมาณการจำนวนผู้โดยสารและรายได้ของแต่ละเส้นทางภายใต้มาตรการดังกล่าวพบว่า มีแนวโน้มผู้ใช้บริการของแต่ละเส้นทางเพิ่มขึ้น แต่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะสูญเสียรายได้บางส่วนเมื่อเทียบกับผลการดำเนินงานในปัจจุบัน ซึ่ง รฟท. และ รฟม. ได้เสนอแนวทางการชดเชยรายได้ที่สูญเสียแล้ว สรุปได้ ดังนี้
เส้นทาง |
มาตรการอัตราค่าโดยสารสูงสุด 20 บาท ตลอดสาย |
ประมาณการ รายได้ที่สูญเสีย |
แนวทางการชดเชยรายได้ที่สูญเสีย |
|||
รถไฟชานเมือง สายสีแดง |
- ปรับลดอัตราค่าโดยสาร จาก 12 - 42 บาท (อัตราเฉลี่ย 30.01 บาท) เป็น 12 - 20 บาท - จำนวนผู้โดยสาร 7.7 ล้านคนต่อปี (กรณีฐาน) - ประมาณการรายได้ (กรณีฐาน) จาก 231 ล้านบาท/ปี เป็น 154 ล้านบาท/ปี (ลดร้อยละ 33) |
77 ล้านบาท/ปี |
- รฟท. ขอรับเงินชดเชยการขาดรายได้ส่วนต่างค่าโดยสารเต็มจำนวนที่ลดให้แก่ประชาชนตามนโยบายภาครัฐ เพื่อมิให้เกิดปัญหาการขาดสภาพคล่องของ รฟท. |
|||
รถไฟฟ้า สายสีม่วง |
- ปรับลดอัตราค่าโดยสาร จาก 14 - 42 บาท (อัตราเฉลี่ย 23 บาท) เป็น 14 - 20 บาท - จำนวนผู้โดยสาร จาก 20.3 ล้านคนต่อปี เป็น 23.9 ล้านคน/ปี (เพิ่มขึ้นร้อยละ 18) - ประมาณการรายได้ จาก 412 ล้านบาทต่อปี เป็น 222 ล้านบาท/ปี (ลดลงร้อยละ 46) |
190 ล้านบาท/ปี |
- รฟม. ขอนำเงินส่วนแบ่งรายได้ของโครงการรถไฟสายสีน้ำเงินที่แต่ละปีเคยนำส่งให้กระทรวงการคลังมาชดเชยกับรายได้ที่หายไปจากการปรับลดค่าโดยสาร |
|||
รวม |
|
267 ล้านบาท/ปี |
|
__________________
1 เริ่มดำเนินการหลังจากการพัฒนาเชื่อมต่อระบบ Europay Mastercard and Visa (EMV) แล้วเสร็จ
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 16 ตุลาคม 2566
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A10534