WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การรับรองร่างถ้อยแถลงฮาลองสำหรับรัฐมนตรีอาเซียนด้านการจัดการภัยพิบัติว่าด้วยการสร้างความเข้มแข็งของภูมิภาคอาเซียนโดยการขับเคลื่อนขั้นตอนปฏิบัติล่วงหน้าในการจัดการภัยพิบัติ (Ha Long Ministerial Statement on the Strengthening of ASEAN Anticipatory Actions i

Gov ภูมิธรรม03

การรับรองร่างถ้อยแถลงฮาลองสำหรับรัฐมนตรีอาเซียนด้านการจัดการภัยพิบัติว่าด้วยการสร้างความเข้มแข็งของภูมิภาคอาเซียนโดยการขับเคลื่อนขั้นตอนปฏิบัติล่วงหน้าในการจัดการภัยพิบัติ (Ha Long Ministerial Statement on the Strengthening of ASEAN Anticipatory Actions in Disaster Management)

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอดังนี้

          1. เห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงฮาลองสำหรับรัฐมนตรีอาเซียนด้านการจัดการภัยพิบัติว่าด้วยการสร้างความเข้มแข็งของภูมิภาคอาเซียนโดยการขับเคลื่อนขั้นตอนปฏิบัติล่วงหน้าในการจัดการภัยพิบัติ (Ha Long Ministerial Statement on the Strengthening of ASEAN Anticipatory Actions in Disaster Management) (ร่างถ้อยแถลงฯ) ทั้งนี้ หากมีการปรับเปลี่ยนถ้อยคำของร่างถ้อยแถลงฯ ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสาระสำคัญหรือที่ไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทยและอาเซียน ให้ มท. โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยสามารถดำเนินการต่อไปได้ โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก

          2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างถ้อยแถลงดังกล่าว

[จะมีการจะรับรองร่างถ้อยแถลงฯ ระหว่างการประชุมรัฐมนตรีอาเชียนด้านการจัดการภัยพิบัติ(ASEAN Ministerial Meeting on Disaster Management: AMMDM) ครั้งที่ 11 ในวันที่ 12 ตุลาคม 2566 ณ เมืองฮาลอง ประเทศเวียดนาม]

          ร่างถ้อยแถลงฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในการผลักดันให้ทุกประเทศดำเนินการตามแผนงานฯ ค.ศ. 2021 - 2025 ในด้านที่ 3 การเตรียมความพร้อมและตอบโต้ต่อภัยพิบัติ ซึ่งเกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติล่วงหน้า เพื่อลดความสูญเสียและความเสียหายจากภัยพิบัติ โดยร่างถ้อยแถลงฯ สนับสนุนให้มีการดำเนินการ 3 ด้าน ดังนี้

 

ด้าน

 

สาระสำคัญ

(1) การปรับปรุงระบบการพยากรณ์และการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้า

 

1) การดำเนินการในระดับภูมิภาค เช่น

       1.1) การสร้างความเข้มแข็งแก่สมาชิกอาเซียนและศูนย์ประสานงานอาเซียนในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม (ศูนย์ประสานงานฯ) เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลความเสี่ยงสาธารณภัย

       1.2) พัฒนาระบบการติดตามและตอบโต้ภัยพิบัติ รวมทั้งสร้างเครือข่ายข้อมูลด้านการจัดการภัยพิบัติของอาเซียน

       1.3) ให้คณะกรรมการอาเซียนด้านการจัดการภัยพิบัติ จัดทำขั้นตอนปฏิบัติล่วงหน้าเพื่อจัดการภัยพิบัติในระดับภูมิภาคควบคู่กับการประเมินความเสี่ยงของภัยพิบัติข้ามพรมแดน

2) การดำเนินการในระดับประเทศ เช่น การพัฒนาระบบการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าให้มีความครอบคลุม เป็นต้น (ปัจจุบันประเทศไทยกำลังพัฒนาแอพพลิเคชันเตือนภัยพิบัติ ชื่อว่า Thai Disaster Alert)

(2) การวางแผน การดำเนินงานและการส่งมอบขั้นตอนการปฏิบัติล่วงหน้าในการเตรียมความพร้อมและการตอบโต้สาธารณภัย

 

มีการดำเนินการในระดับภูมิภาค เช่น

1) ดำเนินการตามปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยความเป็นหนึ่งเดียวในภูมิภาคและนอกภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง (เช่น การนำประสบการณ์จากการตอบโต้ภัยพิบัติที่ผ่านมา มาใช้พัฒนาการรับมือภัยพิบัติของภูมิภาค การจัดทำบัญชีทรัพยากรสำหรับให้ความช่วยเหลือประเทศที่เกิดภัยพิบัติ เป็นต้น)

2) ส่งเสริมให้มีการร่วมมือในการวางแผนเตรียมความพร้อมระดับภูมิภาคและขับเคลื่อนให้ทุกประเทศมีส่วนร่วมในการจัดการภัยพิบัติล่วงหน้า

(3) การวางแผนจัดเตรียมงบประมาณในการจัดการภัยพิบัติ

 

1) การดำเนินการในระดับภูมิภาค เช่น

       1.1) ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างภูมิภาคเพื่อดำเนินโครงการใหม่ๆ เช่น โครงการบริหารความเสี่ยงและการประกันภัยเพื่อรองรับความเสี่ยงจากภัยพิบัติ (เป็นโครงการให้ความรู้ต่อประเทศสมาชิก โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเก็บข้อมูลความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นและพัฒนาเครื่องมือในการกำหนดค่าประกันภัยเพื่อเป็นเครื่องมือและแนวทางสำหรับดำเนินการภายในประเทศต่อไป) เป็นต้น

       1.2) สนับสนุนให้คณะกรรมการอาเซียนด้านการจัดการภัยพิบัติพิจารณาจัดสรรเงินสนับสนุนการขับเคลื่อนขั้นตอนปฏิบัติล่วงหน้าเพื่อจัดการกับภัยพิบัติตามความเหมาะสม (เช่น การสนับสนุนให้มีกองทุนการจัดการภัยพิบัติ เป็นต้น

2) การดำเนินการในระดับประเทศ เช่น สนับสนุนให้ประเทศสมาชิกสร้างระบบทางการเงินที่มีเสถียรภาพเพื่อให้มีงบประมาณรองรับการจัดการภัยพิบัติอย่างทันท่วงที [ปัจจุบันประเทศไทยดำเนินการผ่านกลไกทางกฎหมาย เช่น ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อข่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน .. 2562 เป็นต้น]

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี 10 ตุลาคม 2566

สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

A10334

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

iconmotor

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!