WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลการประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Council: AEC Council) ครั้งที่ 22

GOV 1

ผลการประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Council: AEC Council) ครั้งที่ 22

          คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ผลการประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Council: AEC Council) ครั้งที่ 22 เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2566 ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยมีรองปลัดกระทรวงพาณิชย์ (นายเอกฉัตร ศีตวรรัตน์) เข้าร่วมการประชุมฯ (เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (2 พฤษภาคม 2566) เห็นชอบร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการพัฒนาระบบนิเวศสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าระดับภูมิภาคและร่างภาคผนวกประกอบแผนการดำเนินงานสำหรับการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนของติมอร์-เลสเต ในส่วนของเสาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีเคยได้เห็นชอบไว้ ให้สามารถดำเนินการได้โดยนำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

          1. การประชุม AEC Council) ครั้งที่ 22 สรุปได้ ดังนี้ 

 

หัวข้อ

 

ผลการประชุม

1) ภาพรวมเศรษฐกิจและการค้าในภูมิภาคอาเซียน

 

คาดการณ์ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของอาเซียน (.. 2565-2567) จะมีการขยายตัวในระดับปานกลาง ที่ร้อยละ 5.6 ในปี 2565 เป็นร้อยละ 4.7 ในปี 2566 และคาดว่าจะขยายตัวเป็นร้อยละ 5.0 ในปี 2567 เนื่องจากการบริโภคภายในประเทศ กิจกรรมทางการค้าที่ต่อเนื่องมาตรการทางการค้าที่ผ่อนคลายลง และการฟื้นตัวของภาคการบริการโดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว ขณะที่อัตราเงินเฟ้อลดลงจากร้อยละ 5.0 ในปี 2565 เป็นร้อยละ 4.4 ในปี 2566 และคาดว่าจะลดลงเหลือร้อยละ 3.3 ในปี 2567

(2) ประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจที่อินโดนีเซียในฐานะประธานอาเซียนผลักดันให้บรรลุผลสำเร็จในปี 2566 (Priority Economic

Deliverable: PEDs)

 

มี PEDs จำนวนทั้งสิ้น 16 ประเด็น โดยอยู่ในความรับผิดชอบของรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน จำนวน 7 ประเด็น เช่น การจัดทำกรอบการอำนวยความสะดวกด้านการบริการของอาเซียน การลงนามพิธีสาร ฉบับที่ 2 เพื่อปรับปรุงความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ การจัดตั้งหน่วยสนับสนุนความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) ในสำนักเลขาธิการอาเซียนและการจัดทำแถลงการณ์ผู้นำอาเซียนว่าด้วยการจัดทำกรอบความตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน

(3) วาระที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล

 

เน้นย้ำความสำคัญของวาระเศรษฐกิจดิจิทัลที่จะขับเคลื่อนอาเซียนไปสู่กลุ่มประเทศดิจิทัลชั้นนำ โดยขอให้เร่งศึกษาประโยชน์และผลกระทบของการจัดทำกรอบความตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในปีนี้ โดยตั้งเป้าการประกาศเริ่มเจรจาความตกลงดังกล่าวภายในการประชุม AEC Council ครั้งที่ 23 ในเดือนกันยายน 2566

(4) วาระที่เกี่ยวกับความยั่งยืนของอาเซียน

 

ติดตามความคืบหน้า เช่น 1) แผนปฏิบัติการตามกรอบเศรษฐกิจหมุนเวียนของอาเซียน ซึ่งจะใช้กับ 3 สาขา ได้แก่ ภาคเกษตร พลังงานและขนส่ง 2) การจัดตั้งหน่วยงานประสานงานหลักของประเทศสมาชิก เพื่อสนับสนุนการจัดทำยุทธศาสตร์อาเซียนเพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอน 3) ความคืบหน้าการจัดทำกรอบความร่วมมือด้านเศรษฐกิจภาคทะเลของอาเซียนซึ่งเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอาเซียนในอนาคต และ 4) ความคืบหน้าการสร้างกลไกด้านการเงินที่ยั่งยืน

(5) การจัดทำวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนภายหลังปี 2568 (วิสัยทัศน์ฯ)

 

มีการพิจารณาองค์ประกอบหลักของวิสัยทัศน์ฯ ในส่วนของเสาเศรษฐกิจ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การยกระดับเศรษฐกิจให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน 2) การส่งเสริมเศรษฐกิจให้มีความยั่งยืนและตอบสนองต่อสภาพภูมิอากาศ 3) การผลักดันให้อาเซียนเป็นประชาคมดิจิทัล ชั้นนำ 4) การมีบทบาทเชิงรุกในประชาคมโลกโดยมีอาเซียนเป็นแกนกลาง 5) การเตรียมความพร้อมในการตอบสนองต่อโอกาสและความท้าทายอย่างมีประสิทธิภาพ และ 6) การสร้างความครอบคลุมทุกภาคส่วนและลดช่องว่างการพัฒนา โดยจะเสนอให้ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 42 ให้ความเห็นชอบต่อไป

(6) เอกสารผลลัพธ์การประชุม

 

ที่ประชุมได้รับรองและให้ความเห็นชอบต่อเอกสารผลลัพธ์จำนวน 2 ฉบับ และจะเสนอให้ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 42 ระหว่างวันที่ 10-11 พฤษภาคม 2566* ให้การรับรองต่อไป ได้แก่

1) รับรองร่างภาคผนวกประกอบแผนการดำเนินงานสำหรับการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนของติมอร์-เลสเต ในส่วนของเสาเศรษฐกิจ

2) เห็นชอบร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการพัฒนาระบบนิเวศสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าระดับภูมิภาค ทั้งนี้ มีประเด็นที่มีการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมแต่ไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2566 และยังเป็นประโยชน์ต่อไทยเนื่องจากทำให้มีดุลยพินิจมากขึ้นในการกำหนดนโยบาย รวมถึงสารัตถะในเอกสารผลลัพธ์เป็นการส่งเสริมความร่วมมือเพื่อพัฒนาระบบนิเวศสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าในระดับภูมิภาค โดยไม่มีข้อบังคับหรือผลผูกพันต่อการปฏิบัติตามภายในประเทศเพื่อสนับสนุนการค้ากับความยั่งยืนในภูมิภาค เช่น

        2.1) เพิ่มเนื้อหาในเรื่องการขยายตัวภาคการขนส่งและยานยนต์โดยให้เพิ่มเติมเรื่องการบูรณาการยานยนต์ไฟฟ้ากับพลังงานชีวภาพสำหรับการขนส่งเพื่อช่วยเร่งการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานไปสู่การบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในประเทศสมาชิกอาเซียนและในภูมิภาค ตลอดจนบทบาทของแร่ธาตุในการผลิตเทคโนโลยีดังกล่าว

        2.2) เพิ่มเนื้อหาในเรื่องความตระหนักรู้เกี่ยวกับข้อริเริ่มต่างๆ ของอาเซียนโดยให้เพิ่มเติมแผนปฏิบัติการด้านแร่ธาตุอาเซียน (ฉบับที่ 3) ระยะที่ 2 .. 2021-2025

        2.3) เพิ่มเนื้อหาในประเด็นการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานโลกโดยให้เพิ่มเติมการส่งเสริมการลงทุนที่ยั่งยืนเพื่อสร้างระบบนิเวศและห่วงโซ่มูลค่าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า ตลอดจนความจำเป็นในการขยายนโยบายของประเทศสมาชิกอาเซียนในการใช้ประโยชน์จากความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของ แต่ละประเทศในขั้นตอนต่างๆ ของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า

        2.4) เพิ่มเนื้อหาในประเด็นที่มีการเห็นพ้องกันที่จะแสวงหาความร่วมมือและประสานงานในเรื่องการพัฒนาระบบนิเวศสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าโดยเพิ่มประเด็นด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการใช้วัสดุที่ยั่งยืนและทรัพยากรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้นของห่วงโชอุปทานยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาค การเพิ่มการมีส่วนร่วมของวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อมและรายย่อย การเลิกใช้ยานยนต์สันดาปภายในแบบดั้งเดิมอย่างค่อยเป็นค่อยไปไปสู่ยานยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์รวมถึงยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบนิเวศสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาค

 

          2. ความเห็นและข้อสังเกตของ พณ. อินโดนีเชียในฐานะประธานอาเซียน ปี 2566 ได้ผลักดันประเด็นความยั่งยืนอย่างแข็งขัน โดยเฉพาะเรื่องการพัฒนาระบบนิเวศสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีนโยบายสนับสนุนการใช้งานและการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าอย่างจริงจัง ได้แก่ ประเทศไทย สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดยไทยในฐานะที่เป็นผู้นำด้านการผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนในภูมิภาคในปัจจุบัน ได้ตั้งเป้าการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าร้อยละ 30 ของปริมาณการผลิต ภายใน ค.ศ. 2030 และเพื่อเป็นการเตรียมตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จะต้องให้ความสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ส่งเสริมนโยบายที่ช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ตลอดจนเสริมสร้างและยกระดับองค์ความรู้ด้านยานยนต์ไฟฟ้าของผู้ผลิตและแรงงานไทย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยและสามารถเข้าไปอยู่ในห่วงโซ่การผลิตในภูมิภาคอาเซียนได้

­­­­­­­­­________________________

*คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (8 สิงหาคม 2566) รับทราบผลการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 42 และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำผลการประชุมไปปฏิบัติและติดตามความคืบหน้าต่อไป

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 29 สิงหาคม 2566

สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

A8982

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

iconmotor

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!